Warning: Cannot modify header information - headers already sent by (output started at /var/www/marshomme.com/wp-content/plugins/wp_mgr_id/wp_mgr_id.php:1) in /var/www/marshomme.com/wp-includes/feed-rss2.php on line 8
#MarsHomme – Marshomme https://marshomme.com Tue, 16 Jun 2020 12:08:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.2.20 https://marshomme.com/wp-content/uploads/2019/10/logo2_icon-90x90.png #MarsHomme – Marshomme https://marshomme.com 32 32 The Mechanics ‘หยิ่น-อานันท์ หว่อง’ ดาวรุ่งจากซีรีส์วาย En Of Love https://marshomme.com/aboy/529891/ Tue, 16 Jun 2020 12:08:00 +0000

ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ถือว่าเป็นนาทีทองของซีรีส์วายในประเทศไทย เพราะจากช่วงเวลาปกติที่สาววายก็นิยมดูจำนวนมากอยู่แล้ว พอเกิดวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้ ‘บีบ’ ให้คนต้องจำใจอยู่กับบ้านด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ฐานผู้ชมกว้างขึ้นไปอีก แต่นั่นก็ไม่ได้เกิดกับซีรีส์วายทุกเรื่อง เพราะอย่างน้อยถ้าพื้นฐานเดิมของเรื่องราวมีบางอย่างที่ดึงดูดผู้คนมากพอหรือฉีกแนวออกไป ก็จะทำให้ปังง่ายขึ้น

หนึ่งในซีรีส์ที่ถือว่าเซอร์ไพรส์มาก คงต้องยกนิ้วให้ ‘En of Love รักวุ่นๆ ของหนุ่มวิศวะ’ ที่ประกอบด้วยมินิซีรีส์ 3 เรื่อง ได้แก่ วิศวะมีเกียร์น่ะเมียหมอ, กลรักรุ่นพี่ และเหนือพระราม สองเรื่องแรกออนไลน์ไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนเหนือพระราม ตอนสาม จะออนแอร์เดือนมิถุนายนนี้

En of Love มียอดแฮชแทกขึ้นติดท็อปไฟว์ในทวิตเตอร์ตั้งแต่เรื่องแรกที่ออน แต่เรื่องที่สอง ‘กลรักรุ่นพี่’ ดูจะสร้างคู่จิ้นคู่ใหม่ประดับวงการได้อย่างภาคภูมิ ด้วยเนื้อเรื่องที่ดราม่าจัดๆ ฉีกแนวซีรีส์วายเรื่องอื่นๆ ไปอย่างสิ้นเชิง มาทำความรู้จักกับ ‘หยิ่น-อานันท์ หว่อง’ รับบทเป็นพี่วี จากซีรีส์ En Of Love ตอนกลรักรุ่นพี่กันสักหน่อย ทำไมหนุ่มตี๋ ลูกครึ่งฮ่องกงคนนี้จึงได้รับการตอบรับจากแฟนคลับอย่าล้นหลาม


เล่าให้ฟังหน่อยมาร่วมงานกับซีรีส์เรื่องนี้ได้อย่างไร

โดนทาบทามมาครับผม พอดีว่าทางผู้จัดเขาส่ง character ของผมไปให้นักเขียนดูครับ และนักเขียนจะเลือกว่าใครเหมาะกับบทไหน ซึ่งผมตรงกับบทพี่วีพอดี เขาเลยติดต่อมาว่าน้องสนใจแสดงซีรีส์เรื่องนี้มั้ย ผมคิดว่ามันท้าทายดี และถ้าจะได้ทำเป็นงานแรกด้านการแสดงของเราก็ควรต้องลองอะไรใหม่ ๆ บ้างครับ

ที่บอกว่าส่งคาแร็กเตอร์ให้นักเขียนดูนี่คือส่งเฉพาะรูปใช่มั้ย

ส่งเฉพาะรูปครับผม แต่ว่าน่าจะมีตัวเลือกสัก 4-5 คน ไปให้นักเขียนดู

คาแร็กเตอร์ของพี่วีเป็นอย่างไร

พี่วีที่ผมรู้จักและแสดงเป็นเขา ถ้าเป็นมุมกับเพื่อนนะครับ ผมมองว่าเขาเป็นคนที่รักเพื่อน รักทุกๆ คนเลย และให้ความสนใจกับเพื่อนมาก และเป็นคนที่เชื่อมั่นในความรักพอสมควรครับ แต่ถ้ามองในมุมเรื่องความรักด้วยพอเพื่อนมีมือที่สามพยายามเข้ามาแทรกกลาง พี่วีก็คือคนที่เข้าไปกันมือที่สามให้เพื่อน ส่วนตัวเอง แม้แฟนจะนอกใจ แต่เขาก็ให้โอกาสแฟน ทั้งๆ ที่ตัวพี่วีเองกำลังนอกใจอยู่เหมือนกัน จนเกิดความสับสน และเขาเป็นคนที่เวลาเจออะไรมาจะไม่ลงกับใคร แต่จะลงกับคู่ที่เขาเล่นด้วยเท่านั้น เป็นคนขี้โมโห เอาตัวเองเข้าไปแทรกกับเหตุการณ์ที่ไม่ควรเกี่ยวข้องด้วยตลอด


ใกล้เคียงกับตัวจริงของเราแค่ไหน

ถามว่าใกล้ไหม มันมีทั้งจุดเหมือนและจุดต่างครับผม จุดที่เหมือนผมมองว่าเป็นคนที่ขี้เห็นใจ ชอบเทกแคร์คนอื่นเหมือนกัน แต่ถ้าต่างกันก็จะต่างกันตรงที่ผมจะเทกแคร์แบบมีระยะห่าง ไม่จำเป็นต้องไปแทรกในทุกเหตุการณ์ แต่คืออย่างพี่วี เขาจะเทกแคร์เพื่อนแบบว่าพยายามจะตัดมือที่สามออกไป ทั้งๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเขาเลยด้วยซ้ำ ถ้าเป็นผมอาจจะไปเตือนแล้วก็จบ แต่พี่วีไม่จบ ประมาณนี้ครับ

ในชีวิตจริงเคยเจอเรื่องวุ่นวายแบบนี้ไหม ประเภทเพื่อนมีมือที่สามเข้ามา แล้วเราต้องเข้าไปอีรุงตุงนังด้วย

ไม่เคยนะครับ เพราะผมไม่เคยเอาตัวเองไปยุ่งกับความสัมพันธ์ของใครสักคนหนึ่ง ประมาณว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพวกเขาเอง ดังนั้นถ้าเราจะช่วยก็แค่ให้เวลาในยามที่เขาอยากได้คำปรึกษาจากเรา ผมจะคุยกับเขา ในความคิดของผม ไม่เคยที่จะไปทำแบบในซีรีส์ครับ

ตอนที่โดนทาบทาม เรารู้ใช่ไหมว่าเป็นซีรีส์วายที่ต้องเล่นชายกับชายรู้สึกอย่างไร

ใช่ครับ แวบแรกผมคิดไว้หลายๆ มุมครับ ผมมองว่าถ้าเราไปแสดงแล้ว น่าจะได้พบความแปลกใหม่ด้วย ก็ถามตัวเองว่าเราจะกล้าพอหรือเปล่ามันท้าทายเราด้วย ถ้าเราเล่นไม่ดีจะโดนด่าหรือเปล่า เราควรรับดีไหมนะ แต่สุดท้ายผมคิดว่าถ้าเราเต็มที่กับทุกอย่างแล้ว ถ้ามันจะออกมาดีหรือไม่ดีอย่างไร อย่างน้อยก็ไม่เสียใจที่เราได้ทำเต็มที่แล้ว


แต่ฟีดแบ็กที่ได้จากการแสดง 4 ตอน สั้นๆ ถือว่าค่อนข้างดีทีเดียว

ใช่ครับ ต้องบอกว่ามันยิ่งกว่าเกินคาดมากๆ ทุกคนส่วนมากที่ติดตามเราตั้งแต่แรก เขารู้อยู่แล้วว่ามันเป็นเพียงแค่ซีรีส์สั้นเท่านั้น การที่เราจะเล่นซีรีส์สั้นแล้วจะทำให้ทุกคนรู้จักเรา ผมไม่คิดเลยนะว่าเขาจะต้องรู้จักเรา คิดแค่ว่าโอเค อย่างน้อยเป็นผลงานชิ้นแรก อาจจะไปเตะตาใครในอนาคตก็หวังไว้อย่างนั้นครับ แต่มันกลับกัน ตรงที่คู่ผมที่เล่นด้วย พี่วอร์ ผมมองว่าเขาเป็นคนที่แสดงค่อนข้างที่จะเก่งมากๆ ทำให้ผมรับรู้เลยว่าผมควรจะต่ออารมณ์กับเขากลับไปอย่างไร ทำให้ผลงานการแสดงมันออกมาเกินคาด แล้วก็เลยเป็นที่จับตามอง

จากวันที่โดนทาบทามให้มาแสดงจนถึงวันเปิดกล้องใช้เวลาเตรียมตัว เรียนการแสดงนานแค่ไหน

นานมากเลยครับ ถ้าผมจำไม่ผิดนะ ช่วงที่ทาบทามมามันก็ประมาณหนึ่งปี และซีรีส์เราโดนเลื่อนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ถ่าย มันเกือบปีที่จะได้ถ่าย แล้วช่วงเวลา workshop ผมจำได้ว่าเรา workshop ประมาณ 10 ชั่วโมงก็จริง แต่ว่าเหมือนถ้าผมจำไม่ผิด คิวถ่ายตอนแรกคือเดือน 8 แต่เรา workshop เสร็จประมาณเดือน 6 แล้วไปถ่ายเลย พอถึงเวลาจริงๆ แล้วมันโดนเลื่อนไปอีก ทำให้พอจะลืมๆ ไปบ้าง แต่มีทำการบ้านกับทางพี่วอร์ คุยกับพี่เขา ปรึกษากัน มันเลยออกมาได้ดี

ใช้เวลาในการปรับตัวกับคู่ที่เราต้องเล่นด้วยนานไหมให้เคมีมันตรงกัน

นานนะครับจริงๆ ตัวผมกับตัวพี่เขา ถ้านับนิสัยส่วนตัวทั้งคู่เลยนะ ผมจะเป็นคนนิ่ง พี่เขาก็นิ่ง ทำให้ครั้งแรกที่เราเจอกันไม่คุยกันสักคำเลย ถึงจะรู้มาก่อนว่าเราต้องเล่นคู่กัน ไม่คุยกันสักคำเลย แล้วผมก็รู้ประวัติว่าพี่เขาเคยเล่นซีรีส์อะไรมาบ้าง เคยผ่านงานอะไรมาบ้าง พอเรามาเจอเขาครั้งแรก เขาก็ดูโหดดี จะไปกันรอดไหม แต่ถึงเวลาที่เราต้องทำงานกันจริงๆ นี่พอละลายพฤติกรรมกันไปแล้ว เราคุยกัน เลยมองว่าความสนิทมันมากขึ้นโดยที่เราไม่ต้องพยายามเข้าหากัน ตอนแรกมันดีแล้ว ถ้าเกิดสมมุติว่ามันเปลี่ยนเป็นว่าผมพยายามไปหาเขาตั้งแต่แรก มันจะเป็นการฝืนความสัมพันธ์ และถ้าเขาไม่รับ มันจะเหมือนมีอะไรมากั้นเราตั้งแต่ตอนแรก สู้เราเป็นธรรมชาติของเรา ถ้าสนิทกันก็สนิทกันแบบพี่น้องกันจริงๆ ทุกอย่างมันจะออกมาเป๊ะแบบที่ทุกคนเห็นอยู่ตอนนี้


หลังจากที่ซีรีส์ออนไป 4 ตอน ชีวิตเปลี่ยนไปเยอะไหม

เปลี่ยนครับ ด้วยความที่มันเกินคาด ทำให้มีงานเข้ามาเรื่อยๆ ได้รับงานมากขึ้นครับผม แต่ถ้าถามว่าเปลี่ยนมากไหมตอนนี้ ยังไม่มากครับ เพราะเรายังไม่ได้ไปเดินสายไปเจอใคร ซีรีส์เองก็ยังไม่จบครบทุกตอนด้วย มันเลยไม่ได้เปลี่ยนมากเท่าไร แต่เปลี่ยนไหมก็มีการคุยกันครับว่า ให้เราระวังตัวมากขึ้นในโซเชียล อย่าเล่นอะไรก็ตามที่ทำให้เราถูกโจมตี ต้องเซฟตัวเองและเซฟคู่ของเราด้วยครับ

กลรักรุ่นพี่ ถือว่าเป็นผลงานเรื่องแรกของหยิ่น ก่อนหน้านี้เคยทำอะไรมาก่อน

เรื่องแรกเลยครับ ก่อนหน้านี้ไม่ได้ทำอะไร แค่รีวิวและบางทีรับถ่ายแบบไปเรื่อยๆ ครับ ไม่มีผลงานด้านการแสดงเลย พูดก็ไม่เก่งครับ พูดไม่ได้เลย เป็นคนที่ขี้อาย ไม่กล้าพูดไม่กล้าแสดงออก แต่พอมีไลฟ์มาบ้าง และซีรีส์ออนก็ทำให้เราคิดว่าตัวเองทำได้ กล้าขึ้นในระดับหนึ่งครับ

ตอนนี้เรียนอะไรอยู่

เรียนวิศวะที่ มศว ครับผม สาขาคอมพิวเตอร์ กำลังจะจบปี 3 ครับผม เดี๋ยวรอส่งโปรเจ็กต์ก็จะจบปี 3 ครับ


ทำไมถึงเลือกเรียนวิศวะ

ต้องบอกก่อนว่ามันเป็นความคิดของคนทั่วไปที่เรียนวิทย์-คณิตมา ซึ่งยังไม่สามารถลบล้างบรรทัดฐานที่ว่าต้องเป็นหมอ เป็นวิศวะ เพราะเราจะมีพาวเวอร์ในการเลี้ยงดูครอบครัวได้ ซึ่งผมจะมองว่าในอนาคตผมต้องเลี้ยงครอบครัวอยู่แล้วตั้งเป้าหมายแรกไว้ว่าผมอยากเป็นหมอ แต่พอไปสอบอะไรต่างๆ เราเริ่มรู้ตัวเองแล้วว่าเราทำไม่ได้ ทั้งๆ เรื่องความตั้งใจ เราตั้งใจไม่พอผมเป็นคนกลัวเลือด ผมเลยควรตัดทางนี้ทิ้ง แล้วรองลงมาก็เป็นวิศวะ เพราะวิศวะเรามองว่าโอเค โลกเรามันพัฒนาไปค่อนข้างเร็วแล้ว ถ้าผมไปเรียนโยธา มันจะมีคนที่เขาพอที่จะสร้างอะไรพวกนี้ได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเราไปทางคอมพิวเตอร์ โลกสมัยใหม่มันต้องใช้เทคโนโลยีค่อนข้างมาก เราก็เลยมาเจาะทางนี้ดีกว่า

3 ปีที่ผ่านมาในรั้วมหาวิทยาลัยทำกิจกรรมอะไรบ้าง

ถ้าพูดถึงกิจกรรมมหาวิทยาลัย ผมเริ่มแรกไปคัดดาวเดือนครับ คือพอน้องๆ ทุกคนเข้ามา คณะของเราจะเปิดเทอมก่อนชาวบ้านเขา 1 อาทิตย์ ไม่ใช่เรียนนะ หมายถึงว่าเรามาให้รุ่นพี่จัดการเรา ละลายพฤติกรรม เล่นอะไรกันอาทิตย์หนึ่ง แล้วพอผ่านไปอาทิตย์หนึ่งเราก็เปิดเทอมเลย ช่วงอาทิตย์แรกเราจะเฟ้นหาดาวเดือน จะแตกต่างกับคณะอื่นที่ว่าเขาหากันตั้งแต่ปิดเทอมแล้ว แต่อันนี้เขามาหา 1 อาทิตย์ก่อนที่จะไปแข่งกับทางมหาวิทยาลัย ซึ่งผมก็เป็นแค่ 1 ใน 5 คือคณะวิศวะนี่เขาคัดแค่ 5 คนครับ เพื่อเอาตัวแทน 1 คน ผมก็เป็นแค่แคนดิเดต 1 ใน 5 แต่ไม่ได้ติดเป็นเดือนคณะครับ

ทำกิจกรรมอื่นบ้างไหม

ก็มีครับ พอจบดาวเดือนเสร็จปุ๊บ มันจะเป็นกิจกรรมกลางปี 1 รอรับกิจกรรมกับเขาครับ มีทั้งเข้าระเบียบ เล่นกีฬามหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ถ้าทำเพื่อน้องๆ ตอนปีโตๆ ก็เป็นช่วง Open House ครับ จะพูดอย่างไรดีล่ะ งานวิศวะมันเยอะพออยู่แล้วที่เราเรียนกัน ดังนั้น พอเราต้องแบ่งตัวเองไปทำตรงโน้นมันก็เหนื่อยเรา สู้เราทำอะไรก็ได้ที่มันมีประโยชน์ทีเดียวดีกว่าไหม คือ Open House ไปแนะนำน้องอย่างเดียวพอ


ทำไมตอนนั้นถึงเลือก มศว ไม่เข้าจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ หรือว่าลาดกระบัง

ต้องบอกก่อนว่าตอนผมเรียน ผมเพิ่งมาตั้งใจเรียนจริงๆ ตอน ม.5 แต่การเข้ามหาวิทยาลัยเกรดสะสมของเราตั้งแต่ ม.4-ม.6 ต้องดี ที่นี้เกรด ม.4 ผมพังไปหมดไงครับ ตอนนั้นผมเรียนที่สารสาสน์ครับ แม้แต่คิดเลข แค่หารเลขยังยากเลย สุดท้ายเราก็คิดว่าเออ มันต้องจริงจังกับอนาคตแล้ว เราตั้งใจเรียน แต่พอเกรดเราพังไปแล้ว เรามาตั้งใจ 2 ปีที่เหลือ มันแทนปีแรกไม่ได้ มันอาจจะสูงได้แค่ในระดับหนึ่งเท่านั้น เลยทำให้มันทรงๆ ตัว แล้วเราไปยื่นมหาวิทยาลัยที่คิดว่ามันมีสิทธิ์ดีกว่า แต่ส่วนตัวผมมองว่าทุกมหาวิทยาลัยเขาได้รับการรับรองหลักสูตรที่ได้มาตรฐานจากรัฐบาลมาหมดแล้ว ถึงจะเปิดได้ ดังนั้นเรียนที่ไหนก็ยากเหมือนกันหมด อย่าเอาชื่อมหาวิทยาลัยมาตัดสินว่าโอเคที่นี่เก่งกว่า มันอยู่ที่ตัวเราครับ

ที่เลือกเรียน มศว นี่ไม่ใช่เพราะว่า มศว มีดาราเรียนเยอะใช่ไหม

นี่ผมไม่รู้เลยนะว่าที่ไหนมีดาราเรียนเยอะบ้าง ผมไม่รู้เรื่องทั่วไป แม้กระทั่งดาราคนนี้ชื่ออะไร เพราะผมไม่ค่อยสนใจด้านนี้เลย ไม่ใช่เป็นการดูหมิ่นดูแคลนใครนะ แต่ว่าผมไม่มีความรู้ด้านนี้จริงๆ ดังนั้น มันไม่เกี่ยวเลยครับ แต่ถ้ามองที่ระบบแอดมิสชั่น อย่างที่บอกครับ ถามว่าเลือก มศว ไหม ผมก็ไม่ได้เลือกอันดับหนึ่งครับ บ้านผมอยู่ในโซนบางมด ผมอยากเลือกเรียนมหาวิทยาลัยใกล้บ้านครับ เพราะช่วงนั้นมีปัญหาหลายๆ อย่าง ยายต้องอยู่บ้านคนเดียวด้วย ถ้าเราไปเรียนไกลปุ๊บ แล้วยายจะอยู่กับใคร เลยเลือกพระจอมเกล้าธนบุรีไปครับ เป็นสาขาอินเตอร์ ทำให้โอกาสเราติดง่ายขึ้น แต่พอถึงเวลาจริงๆ ผมมาติดที่นี่ ตอนแรกก็เซ็งนะที่เราต้องไปเรียนไกลๆ แล้วจะดูแลยายอย่างไร แต่พอถึงเวลาที่ทุกคนปรับตัวได้ ก็รู้สึกดีนะที่ว่าเราได้เข้ามาเรียนที่นี่ ถ้าผมติดที่พระจอมเกล้าธนบุรีอาจจะไม่มีวันนี้ก็ได้ครับ


ที่บอกว่าตอน ม.4 ค่อนข้างเกเรก็เลยเกรดไม่ดี แล้ว ม.5 ดึงกลับขึ้นมาได้ ตอนนั้นฟิตอย่างไรถึงดึงตัวเองกลับขึ้นมาได้ มีคำแนะนำอะไรสำหรับน้องๆ ที่ยังเรียนในระดับนี้อยู่

สำหรับน้องๆ ทั้งหลายนะครับ อยากเตือนครับ สิ่งที่สำคัญที่สุดกับชีวิต ไม่ใช่เพื่อนนะครับ แต่คือตัวเราเองที่จะเติบโตไปอย่างไรในอนาคต ถามว่าผมเกเรไหม ผมไม่นับว่าผมเกเรขนาดไปตีรันฟันแทงอะไรขนาดนั้น แต่ไม่ใช่เด็กที่อยู่ในกรอบเลย มีโดดเรียนบ้าง ฉะนั้นเรื่องอะไรพวกนี้ ทำได้นะครับ เราไม่ต้องเดินตรงเส้นตลอด แต่เราต้องรู้ว่าทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเราเองไม่เดือดร้อน อันนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดครับผม เราต้องรู้จุดยืนของตัวเองด้วย บางคนเกเรแล้วที่บ้านเกิดกำลังมีปัญหาขึ้น ผมว่าอันนี้เป็นคนที่ไม่รู้ตัวเองครับ ส่วนตัวผมมองว่าช่วงนั้นบ้านเราเริ่มมีปัญหาแล้ว เด็กทุกคนต้องรับรู้แล้วว่าชีวิตของเราเองเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าโอเค เพื่อนคนนี้มีเงิน คนนู้นรวยปุ๊บ เราต้องใช้ชีวิตแบบเพื่อน อย่าเอาค่านิยมแบบนี้มาใส่ตัว ไม่ว่าจะอย่างไรเราต้องยืนด้วยตัวเองให้ได้ครับ ถ้าเขาเป็นเพื่อนแท้ เขาจะรักเราอยู่วันยันค่ำ ไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไรเขาก็จะรักเรา แต่สิ่งแรกคุณต้องรักตัวเองก่อน และมีสติประคองว่าชีวิตเราต้องเดินอย่างไร

ชอบเล่นกีฬาไหม

เล่นครับผม แต่ไม่ได้เป็นนักกีฬานะ ผมไม่เป็นเลย ไม่สามารถที่จะไปฝึกตัวเองให้ได้อย่างนั้นตลอด แต่ถามว่าตัวเองเล่นได้ไหม มีเซนส์ทางกีฬาไหม ผมมองว่าตัวเองมีครับ ทางกายภาพตัวผมเองก็ไม่ได้แย่ครับ เป็นคนวิ่งเร็วและสูงอยู่ในระดับหนึ่ง ทั้งเล่นบาส เล่นบอลได้ครับ


ได้ข่าวว่าเป็นลูกครึ่งไทย-ฮ่องกงชื่อ ‘หยิ่น’ แปลว่าอะไร

ใช่ครับ เป็นลูกครึ่งไทย-ฮ่องกงชื่อ ‘หยิ่น’ แปลว่าอะไรหรือครับ ผมเคยถามพ่อตอนเด็กๆ ว่ามันแปลว่าอะไร ทำไมต้องตั้งแบบนี้ให้ ผมสงสัยว่าคำว่าหยิ่นคำเดียวมันมีความหมายอะไรได้บ้าง พ่อบอกว่ามันคือความมั่นคง ความกว้างใหญ่ ความอ่อนโยน คำเดียวสั้นๆ มันได้ขนาดนี้เลยหรือ จากนั้นผมก็ลืมช่วงนั้นไปแล้ว จนไม่นานมานี้เราต้องไปเจอสังคมใหม่ๆ ทั้งเพื่อนที่มหาวิทยาลัย ทั้งครู ทุกคนถามอีกว่าแปลว่าอะไร ผมก็เลยโอเค ตัดสินใจถามพ่ออีกรอบหนึ่งแล้วเมมไว้ในโทรศัพท์ จะได้จำได้ แล้วผมสามารถจำได้แล้ว

พูดกวางตุ้งได้ไหม คุณพ่อสอนหรือเปล่า

พ่อไม่สอนเลยครับ หมายถึงป๊าไม่สอนเลย แล้วช่วงแรกๆ สมัยเด็กๆไม่ค่อยได้ไปฮ่องกงเพราะว่าพ่อผมย้ายถิ่นฐานมาตั้งบริษัทที่ไทยนี่ครับ เป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง ตั้งแต่ช่วงต้มยำกุ้ง ก็เลยมีปัญหาทำให้เราดิ้นรนในประเทศไทยกันอยู่สักพักหนึ่ง แต่พ่อก็ไม่ได้กลับไปครับ ช่วงหลังๆ เป็นเพราะว่าอาม่าอายุมากขึ้น คนจีนเขาจะให้ความสำคัญกับครอบครัวมากเป็นพิเศษ เลยมีบินกลับไปฉลองวันเกิดบ้าง ญาติๆ ก็จะเป็นคนจีนหมดเลย แล้วเขาพูดกวางตุ้งกัน แต่ข้อดีคือคนฮ่องกงเขาพูดภาษาอังกฤษเก่งนะ แล้วส่วนตัวผม ตั้งแต่เรียน ม.ปลาย ที่โรงเรียนผมเป็นโรงเรียนเอกชน ดังนั้นภาษาอังกฤษเขาก็สอนมาดีในระดับหนึ่ง ทำให้เราฟังเขาออก ก็พอสื่อสารกันได้ครับ

ถ้าไม่มีเรียน ไม่ได้ทำงาน วันๆ หนึ่งทำอะไรบ้าง

ตัวผมเป็นคนชอบเล่นเกมกับออกกำลังกายครับ ถ้าไม่เล่นเกม ถ้าไม่เรียนกับทำงาน ถ้าเป็นช่วงสมัยเด็กๆ ติดเกมมาก แต่ก็ดึงตัวเองออกจากเกมมาได้ เลยกลายเป็นว่าเราชอบที่จะดูแลตัวเอง และถ้าว่างๆ จะดูเสื้อผ้าที่มันแมตช์กับเรา และออกกำลังกายครับ อยากมีรูปร่าง performance ที่ดี


ไม่น่าล่ะในซีนในซีรีส์เห็นมีฉากถอดเสื้อหลายช็อต

มีครับ เราเริ่มถ่ายกันตอนเดือน 8 แต่ก่อนหน้านั้นเดือน 6 -7 เกือบ 2 เดือนเต็มๆ ผมออกกำลังกายทั้งเดือนเลย หุ่นฟิตมากกว่าในซีรีส์นะครับ แต่พอถึงเวลาถ่ายซีรีส์จริงๆ มันเป็นช่วงเปิดเทอมไปแล้ว ด้วยความที่ผมไปเรียนองครักษ์ นครนายก ไม่มียิมครับ แล้วเรียนหนักอีก เวลาออกกำลังกายก็ลดลง สภาพหุ่นที่เราเคยปั้นไว้เล่นๆ มันจะดร็อปไปเรื่อยๆ ดร็อปๆๆ จนได้เท่าที่เห็นในซีนน่ะครับ

ถ้าวันนี้ไม่ได้เล่นกลรักรุ่นพี่

ไม่น่าจะทำอะไรอย่างอื่นๆ นะครับ น่าจะตั้งใจเรียนทางคอมพิวเตอร์ของเรา และก็หาอะไรสักอย่างที่มันมั่นคงกับชีวิตครับ คงจะฝึกการเขียนโปรแกรม หาความรู้ใหม่ๆ ด้านคอมพิวเตอร์ให้เราทันกับคนอื่นเขา จะได้มีสกิลในการทำงานได้ดีในอนาคต

ตอนนี้มองตัวเองในวงการไว้อย่างไรบ้างไหมว่าหลังจากนี้เราอยากจะทำอะไรต่อ หรือว่าเรียนจบแล้วจะเบนไปสายวิศวะตามที่เรียนมา

ถ้านับจากตอนนี้ที่ซีรีส์ออนแอร์ไปแล้ว หลังจากนี้ถ้าให้เลือกระหว่างวิศวะกับวงการ ผมเลือกวงการมากกว่า อยากเรียนรู้ด้านนี้ อยากเติบโตไปด้านนี้ให้มากกว่านี้ ผมมองว่าถ้าให้เลือกรักอะไร ผมรักวงการมากกว่า ดังนั้นการทำงานตอนนี้ก็จะสนุกกว่าครับ ถ้าเราสนุกกับงานที่เราทำ เรื่องเงินมันไม่สำคัญเลยครับ พอเราสนุกปุ๊บ เราก็อยากทำงาน ชีวิตจะบวกขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ทางวิศวะ ถ้าบอกตรงๆ ผมไม่ค่อยชอบเท่าไร ด้วยความที่มันยากมากๆ แล้วเราต้องไปเจอกับคนเก่ง ดูจากรุ่นพี่ที่ทำงาน เข้างาน 8 โมง เลิก 4 ทุ่ม มันไม่ไหวครับ

อยากให้ฝากผลงานซีรีส์ที่ยังเหลือ #เหนือพระรามอีกตอนหนึ่งกับแฟนๆ

สำหรับแฟนๆ นะครับผม ขอขอบคุณอีกครั้งนะครับที่ทำให้มีถึงทุกวันนี้ แต่ก็ใจเย็นๆ นะครับ ซีรีส์พวกเรายังไม่จบนะครับ ยังมีตอนเหนือพระรามอยู่นะครับ เป็นผลงานเรื่องแรกของพร้อม ราชภัทร วรสาร ก็ฝากติดตามผลงานของน้องผมด้วยนะครับ และผมอาจจะไปจอยในนั้นนิดหน่อยนะครับ ติดตามกันไปนะครับ


Text by Takeshi West

]]>
เส้นทางสายดนตรี และเมโลดี้ชีวิตของ ‘ภูมิ วิภูริศ’ https://marshomme.com/interview/994/ Mon, 22 Apr 2019 17:35:00 +0000

เสียงทุ้มที่ขับร้องเพลงภาษาอังกฤษรื่นหู ทำให้เราสะดุดกับวิดีโอที่แรนดอมขึ้นมาในยูทูบทันที ขณะกำลังคิดว่า เป็นผลงานของนักร้องฝั่งอังกฤษหรืออเมริกากันแน่ แต่แล้วชื่อที่ปรากฏขึ้นมาก็ทำให้เราประหลาดใจ
‘PhumViphurit’ หนุ่มชื่อไทยกับรอยยิ้มสดใสทำให้เราอดไม่ได้ต้องค้นหาประวัติของเขาในกูเกิล แล้วเราก็ได้แปลกใจรอบที่สอง เมื่อพบว่านักน้องหนุ่มคนนี้กำลังมีทัวร์คอนเสิร์ตทั้งเอเชียและยุโรป ยิ่งได้เห็นความสามารถทางดนตรีของเขา ก็ยิ่งทำให้เราอยากรู้จักหนุ่มคนนี้มากขึ้น และเมื่อโอกาสของการได้นั่งคุยกับเขามาถึง เราก็พบว่า ไม่ใช่แค่บทเพลงไพเราะ แต่เมโลดี้ชีวิตของ ‘ภูมิ-วิภูริศศิริทิพย์’ ก็น่าฟังไม่แพ้กัน

“การเป็นศิลปินในยุคโซเชียลมีเดียเป็นอะไรที่ยากมาก อาจจะมีหนึ่งพันคอมเมนต์ที่ชอบเรา แต่คุณอาจจะเลื่อนไปเจอหนึ่งคอมเมนต์ที่บอกเราว่า ‘Oh, you are shit!’ เราก็จะแบบ ‘โว้ววว!’ มันเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”

จุดเริ่มต้นในเส้นทางสายดนตรี
ภูมิโตมากับดนตรีครับ ไม่ได้โตมากับการเล่นดนตรีอะไรขนาดนั้น แต่เป็นคนที่ฟังเพลงมาตั้งแต่เด็ก น่าจะเป็นช่วงม.ต้นที่อยากลองเล่นกีตาร์ ลองเล่นดนตรี ลองตีกลอง โชคดีที่ในโรงเรียนมีมิวสิกคลาส เลยลองไปร่วมกิจกรรมของคลาสดู จากนั้นก็เล่นมาเรื่อยๆ มีการเล่นคัฟเวอร์ลงยูทูบ จนได้มาเป็นภูมิทุกวันนี้ครับผม

เคยคิดว่าตัวเองจะได้เป็นศิลปินอย่างทุกวันนี้ไหม
ไม่เลยครับ ทุกวันนี้ยังงงอยู่เหมือนกันว่า ทั้งหมดนี้มันเกิดขึ้นได้ยังไง เราแค่ชอบเล่นดนตรี ชอบฟังดนตรี เพราะมันรู้สึกได้ปลดปล่อย และรู้สึกโชคดีมากที่มีวันนี้ตอนที่คัฟเวอร์ลงยูทูบ เราแค่อินกับดนตรีอัลเทอร์เนทีฟในตอนนั้น แค่อยากลองเอามาทำเพราะเราชอบ ภูมิไม่ได้เป็นคนกล้าแสดงออกขนาดนั้น ภูมิเป็นคนขี้อายแค่รู้สึกว่า ยูทูบมันเป็นอะไรที่เราสามารถทำในห้องนอนเราได้ เราจะถ่ายกี่เทคก็ได้ ถ่ายทั้งคืนก็ได้จนกว่าเราจะพอใจกับมัน แล้วเรายังสามารถกลับไปฟังก่อนแล้วค่อยปล่อยออกไปได้มันรู้สึกได้ระบายดี

ทำไมต้องเป็นแนว‘นีโอโซล’ กับ ‘อินดี้ โฟล์ก’
ตอนที่ทำอัลบั้มชุดแรกมันเป็นแนวอินดี้ โฟล์กเพราะตอนนั้นภูมิอินกับกีตาร์โปร่งมาก จริงๆ อิทธิพลของภูมิมันไม่ได้มาทางอินดี้ โฟล์กขนาดนั้น อาจจะเป็นแค่ทางคอร์ดที่เราเลือกเล่นมันดูเป็นอินดี้ โฟล์กก็เลยออกมาแบบนั้น ส่วนนีโอ โซลจะอยู่ในอัลบั้มชุดนี้ ที่กำลังทำคอนเซ็ปต์อยู่ อาจจะออกมาทางนั้นเพราะเราเลือกเล่นกีตาร์ไฟฟ้า และทางคอร์ดเราอาจจะหวานขึ้นมานิดหนึ่ง คนเลยตีความว่าเรามาทางนีโอ โซล แต่ตัวภูมิเอง ถามว่าภูมิฟังนีโอโซลมั้ย ไม่ใช่ เรียกได้ว่าแต่ละวันภูมิฟังหลายๆ แนวมาก

ถ้างั้นมีใครที่ภูมิคิดว่าได้รับอิทธิพลทางดนตรีมาจากเขามากที่สุด
อันนี้ภูมิก็จะพูดทุกครั้งนะครับว่าภูมิไม่ได้มีซาวด์ดนตรีที่ได้รับมาจากใครชัดเจน ไม่ได้มีอิทธิพลทางดนตรีขนาดนั้น แต่คนภูมิชอบที่สุดก็ คือ Mac Demarco ศิลปินแคนาดา ชอบมุมมองเวลาเขาแต่งเพลงชอบในไลฟ์สไตล์ที่เขามี ชอบในทัศนคติเขา ถือว่าเป็นแฟนเพลงมาแต่ไหนแต่ไร เขาเป็นคนที่สามารถแต่งเพลงในสตูดิโอใหญ่ๆ ได้ แต่เขาเลือกที่จะทำเองในบ้านเล็กๆ ซึ่งคุณภาพอาจจะไม่ได้สูงมากแต่มันได้ความจริงใจอะไรบางอย่าง เพราะว่าในโลกตอนนี้มันมีดนตรีที่สามารถโปรดิวซ์ออกมาได้เยอะๆ แต่เขาเลือกที่จะทำเหมือนงานโฮมเมด งานคราฟต์ที่มีลายเซ็นชัดๆ มันน่าสนใจมากๆ

ภูมิว่ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้หรอก ที่หากคุณมีกลุ่มคนฟัง มีคนฟอลโลว์เยอะๆ มีชื่อเสียงเยอะๆ แล้วดนตรีจะถูกดึงไปทางด้านธุรกิจ คนที่หาจุดกลางได้ว่า เราเป็นแบบนี้นะและยอมจะทำแบบนี้เพื่ออยู่รอดกับโลกดนตรี ภูมิเลยชอบ Mac Demarcoที่เขาหาจุดตรงกลางตรงนั้นได้ เขาประสบความสำเร็จสูง แต่ยังคงมีความเป็นตัวเองสูงมากๆ ไม่สูญเสียตรงนั้นไป เป็นแรงบันดาลใจสำหรับภูมิมากๆ ที่จะทำงานออกมาแบบนี้ ไม่ว่าดนตรีเราจะมีคนฟังมากขึ้นกว่านี้ไหม หรือน้อยลง ทำให้เราใส่ใจมันจริงๆ ไม่ใช่รีบทำเพื่อเอาไปรีบขายช่วงคริสต์มาสอะไรแบบนั้น


“ภูมิแค่แต่งเพลงที่ภูมิชอบในตอนนั้น แล้วคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เราอยากสื่อสารในช่วงนั้น แค่นั้นเอง”

อะไรทำให้เราได้รับการตอบรับจากต่างประเทศก่อนประเทศไทย
อันนี้เป็นอะไรที่ภูมิตอบไม่ได้จริงๆ เพราะในมุมมองของภูมิ ภูมิแค่แต่งเพลงที่ภูมิชอบในตอนนั้น แล้วคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เราอยากสื่อสารในช่วงนั้น แค่นั้นเอง ตอนที่ภูมิปล่อยออกไป ภูมิไม่ได้มีกลยุทธ์ว่า โอเค มันต้องไปถึงกลุ่มผู้ฟังเมืองนอกนะ ตอนนั้นแค่ภูมิชอบ แล้วมันไปของมันเอง เพลงแรกที่มันเกิดขึ้นก็คือ ‘Long Gone’จำได้ว่าภูมิส่งไปเกือบทุกชาร์ตในประเทศไทย แต่มันไม่ติดที่ไหนเลย แล้วอยู่ๆ มันก็ไปโผล่ในต่างประเทศ ติดเพลย์ลิสต์ในยูทูบ แล้วก็ไหลไปเรื่อยๆจากนั้นกลุ่มผู้ฟังต่างประเทศก็เข้ามาเรื่อยๆ ยอดติดตามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ภูมิไม่ได้ออกสื่อโปรโมตอะไรเลย

โชว์แรกที่ได้ขึ้นในฐานะ ‘ภูมิ วิภูริศ’ คือที่ไหน
โชว์แรกในนามภูมิ จริงๆ น่าจะเป็น 2015 ไม่ก็ 2014 ตอนนั้นภูมิออกไปเพลงหนึ่ง แล้วมีโอกาสไปเล่นแถวเอกมัย ทองหล่อ จำได้เลยว่ามีคนมาดูประมาณ 6 คน เป็นประสบการณ์ที่ดีมาก ดีใจมาก ถึงคนจะมาดูไม่เยอะแต่เราได้ขึ้นเวทีในนามศิลปินครั้งแรก ทั้งๆ ที่เพลงครึ่งหนึ่งเป็นเพลงคัฟเวอร์ แต่ก็ยังดีใจที่ได้โอกาสนั้น ส่วนคอนเสิร์ตต่างประเทศครั้งแรก ภูมิเคยไปเล่นที่ Show Case ไต้หวัน อันนั้นเป็นโชว์เดี่ยว แต่Full Show จะเป็นที่โตเกียว ชิบุยา ดีใจมากเพราะเราไม่เคยได้สัมผัสแฟนเพลงต่างประเทศมาก่อน ถึงเพลงเราจะไม่ได้เป็นที่นิยมขนาดนั้น แต่มันได้คนละอารมณ์มากๆ

ไปแสดงมาแล้วหลายประเทศ มีประเทศไหนที่ประทับใจบ้าง
จริงๆ ประทับใจหลายประเทศมากๆ ถ้าในเอเชีย ภูมิประทับใจเกาหลีและญี่ปุ่นมากๆ เป็นประเทศที่รู้สึกว่า ผู้ฟังที่นั่นเขารู้สึกซาบซึ้งไปกับศิลปะและดนตรีสูง พวกเขามีพลังบางอย่างที่เรารู้สึกได้เวลาเราไปแสดง ฝั่งยุโรปชอบเบอร์ลินมากๆ ลอนดอนก็สนุกมาก อัมสเตอร์ดัม ก็สนุกมาก อเมริกานี่ชอบทั้งประเทศที่ไปโชว์เลย เพราะวัฒนธรรมการฟังดนตรีของเขาน่าจะตรงกับรสนิยมของเราที่สุด ก็เลยสนุกมากจริงๆ

มีค่ายเพลงต่างประเทศติดต่อมาให้ไปร่วมงานด้วยบ้างไหม
มีครับมี เคยมีร่วมงานอยู่บ้างกับศิลปินต่างประเทศ ส่วนจะไปทำงานจริงจังกับต่างประเทศไหม ยังไม่ได้วางแผนขนาดนั้น โลกของดนตรีปัจจุบันมันกำหนดไม่ได้ขนาดนั้นไว้ดูโอกาสที่เข้ามา แล้วอะไรที่เราคิดว่าเหมาะกับเราค่อยทำ

การได้ไปโตเมืองนอก ส่งผลต่อภูมิยังไงบ้าง
รู้สึกว่า ภูมิจะได้อิทธิพล มุมมอง ความคิด ไลฟ์สไตล์ มาจากนิวซีแลนด์มากกว่า ภูมิรู้สึกว่าไลฟ์สไตล์มีความเป็นชาวนิวซีแลนด์สูงมาก เพราะตอนที่กลับไทยมา ภูมิยังมีคัลเจอร์ช็อกกับไทยไปเหมือนกัน ตอนนี้ถ้ากลับไปนิวซีแลนด์ ก็อาจจะมีคัลเจอร์ช็อกเหมือนกัน ภูมิว่ามันแค่ทำให้เราเห็นโลกจากหลายๆ มุม ทำให้เราไม่ซีเรียสกับอะไรมาก เพราะเรารู้ว่า มันมีหลายมุมมองในทุกๆ อย่าง เช่นทัศนคติการทำงาน เราไม่เชื่อว่าเราต้องเป็นแบบใดแบบหนึ่ง คนถึงจะยอมรับเรา อันนี้คิดว่าได้มาจากนิวซีแลนด์มากๆ

“ภูมิไม่รู้สึกว่าเราต้องรีบทำงานเพื่อจะเค้นมันออกมาเป็นชิ้นเป็นอันต้องรู้สึกว่าจะถ่ายทอดจริงๆ ให้มันเป็นภูมิเท่าที่จะเป็นได้”

อัลบั้มแรกมีการทำงานอย่างไร

ภูมิเป็นคนเริ่มแต่งเพลงเองทั้งหมดเลยครับ ช่วงแรกภูมิอาจจะทำงานไม่ครบทุกขั้นตอน อาจจะแต่งแค่เนื้อร้องและกีตาร์โปร่ง พอเข้าใจการโปรดิวซ์มากขึ้น ก็เริ่มเข้าไปมีส่วนในขั้นตอนอื่นๆ มากขึ้น ภูมิว่าตัวตนของภูมิเข้าไปอยู่ในผลงานเยอะมาก ถ้าสังเกตจะเห็นว่า หลังจากปล่อยเพลงแรก กว่าจะออกอัลบั้มภูมิใช้เวลา 4 ปีในการทำ 9 เพลง ภูมิไม่รู้สึกว่าเราต้องรีบทำงานเพื่อจะเค้นมันออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน ต้องรู้สึกว่าจะถ่ายทอดจริงๆ ให้มันเป็นภูมิเท่าที่จะเป็นได้

แรงบันดาลใจในการแต่งเพลงมาจากไหน
มักจะเป็นสิ่งที่ภูมิรู้สึกในตอนนั้นๆ อย่างเพลงล่าสุดที่แต่งอยู่ ไม่ได้พูดถึงความวิตกกังวล แต่เป็นความรู้สึกที่ว่าเรากลัวว่าเราวิตกกังวลหรือเปล่า อย่างเรานอนไม่ค่อยหลับ คิดถึงแต่เรื่องซ้ำๆ เดิมๆ วนไปวนมา พอภูมิกลับมาคิดแล้ว ภูมิเอาเรื่องความเครียด ความเศร้า มาแต่งเป็นเพลงเสียมากกว่า ซึ่งเป็นมุมมองที่เราเพิ่งตระหนักว่า เราเอาเรื่องแบบนั้นมาแต่งเยอะเลย

มองวงการเพลงไทยตอนนี้ยังไงบ้าง
วงการเพลงไทยตอนนี้ภูมิมองว่าเป็นช่วงที่รุ่งเรืองมากๆ เพราะว่าตอนนี้ เหมือนกับมีวงใหม่ๆ ออกมามาก ภูมิเองยังตามฟังไม่ทันเลย ถือว่าเป็นช่วงที่รุ่งเรืองมาก วงเมืองนอกทั้งวงใหญ่ๆ และวงอินดี้เล็กๆ เข้ามาแสดงในไทยมากขึ้นด้วย มันเป็นสัญญาณบางอย่างที่ทำให้เรารู้ว่า การฟังดนตรีหรือการเป็นนักดนตรีในไทย มันเปิดกว้างมากขึ้น ซึ่งการเป็นคนทำงานสายครีเอทีฟด้านดนตรี การทำงานช่วงนี้จะสนุกมากๆ

ความรักมีผลต่อเพลงของภูมิมากไหม
บางครั้งภูมิพยายามจะแต่งเพลงที่ไม่เกี่ยวกับความรัก แต่เรื่องความรัก ความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่เรารู้สึกมากที่สุด ช่วงที่ภูมิแต่เพลงอัลบั้มแรก จะเป็นช่วงอายุ 18–21 ปี เป็นช่วงที่เราปฏิเสธว่าเราไม่รู้สึก แต่จริงๆ เป็นช่วงที่รู้สึกกับความรักมากที่สุด ช่วงนั้นแต่งเพลงรักเยอะมาก มีทั้งHappy Ending และเศร้าๆบ้าง แต่เราก็เลือกนำเสนอในมุมของเรา

มีเสียงวิจารณ์ด้านลบเกี่ยวกับผลงานบ้างไหม
มีครับมี ช่วงแรกเป็นช่วงที่ไม่เคยเจออะไรแบบนี้มาก่อนเลยในชีวิต เพราะเราทำผลงาน เราไม่ได้คาดหวังผลตอบรับอะไรกับมันมาก พอเข้าไปอ่านคำวิจารณ์ต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตเราก็เลือกที่จะเข้าใจว่า เราทำผลงานออกไป ถ้าคนที่แสดงอะไรออกมาในทางลบใส่เรา ก็ถือว่า วิน-วิน มันเป็นโลกของการแสดงความเห็นอย่างเสรี ใครจะพูดอะไรก็ได้ เราได้แสดงของเราไป เขาแสดงของเขากลับ เราก็ต้องเลือกที่จะโอเค การเป็นศิลปินในยุคโซเชียลมีเดียเป็นอะไรที่ยากมาก อาจจะมีหนึ่งพันคอมเมนต์ที่ชอบเรา แต่คุณอาจจะเลื่อนไปเจอหนึ่งคอมเมนต์ที่แบบ ‘Oh, you are shit!’เราก็จะแบบ ‘โว้ววว’ มันเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องยอมรับว่าอะไรที่มันอยู่ในอินเทอร์เน็ตแล้ว มันจะอยู่กับเราตลอดไป

“จริงๆ ภูมิเป็นคนปกติ เศร้าก็มี วิตกกังวลก็มี เรามีทุกอารมณ์ ภูมิแค่อยากเลือกที่จะมีความสุขมากกว่า เพราะชีวิตมันมีความเศร้าพอแล้ว”

ภูมิก่อนเป็นศิลปินกับการได้เป็นศิลปินแล้วแตกต่างกันแค่ไหน
ไม่ได้แตกต่างขนาดนั้นในการใช้ชีวิต ภูมิว่าภูมิไม่ได้เปลี่ยนไปเลย แต่ในด้านการทำงานมันก็มีเปลี่ยนไปบ้าง เช่น อาจต้องมีผู้จัดการคุยงานแล้วนะ หรือไปไหนมาไหนก็มีคนรู้จักมากขึ้น แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปสำหรับภูมิมากๆ คือ การรู้สึกว่า ต้องอยู่กับคนที่เขารักเราจริงๆ คนชอบมองว่าภูมิเป็นคนแฮปปี้ตลอดเวลา แต่จริงๆ ภูมิเป็นคนปกติ เศร้าก็มี วิตกกังวลก็มี เรามีทุกอารมณ์ ภูมิแค่อยากเลือกที่จะมีความสุขมากกว่า เพราะชีวิตมันมีความเศร้าพอแล้ว พอกลับมานั่งคิดอีกที เกี่ยวกับเรื่องเพลง ว่าเราแต่งอะไรไปบ้าง เราแต่งเอาเรื่องที่ลบมาทำให้เป็นบวกหลายอย่าง เพราะว่าเราอยากจะตีความทุกออย่างให้เป็นอย่างนั้น

ถือเป็นเอกลักษณ์ของภูมิเลยไหม
ถ้าเป็นจริงๆ ก็ดีนะ หากวันหนึ่งเราเลิกทำเพลงไปแล้ว แล้วนี่เป็นสิ่งที่คนจำได้เกี่ยวกับเรา ว่าเป็นคนที่เอาสิ่งที่มันเจ็บปวดมาทำให้คนยิ้มได้ ถ้าเป็นแบบนั้นได้ก็ดี ภูมิไม่แน่ใจว่ามันเป็นเอกลักษณ์ของภูมิไหม

เรียนมาทางด้านภาพยนตร์ มีผลกับตัวเองอย่างไร
ภูมิชอบดูหนังมาตั้งแต่เด็กๆ ชอบหนังโรแมนติกคอเมดี้มากๆ ชอบหนังครอบครัว ภาพยนตร์มีผลต่อการทำงานมากนะ เพราะภูมิไม่ได้เรียนดนตรีมา เวลาเราคิดจะแต่งเพลง มันเหมือนเราวาดภาพในหัว เราดีไซน์เป็นสตอรี่ เรามองเราเห็นภาพก่อนที่เราจะแต่ง อาจจะเพราะเราอินกับการใช้ภาพอย่างหนัง แต่ก็ไม่ได้อธิบายได้ขนาดนั้น เพราะเราใช้ความรู้สึก มันไม่ได้มีรูปแบบในการทำเพลงขนาดนั้น

ถ้าภูมิไม่ได้เป็นนักร้อง ภูมิอยากเป็นอะไร
ตอนเด็กๆ ภูมิอยากจะเป็นยามมากๆ เลย เพราะบ้านอยู่ตรงข้ามคอนโด จะเจอพี่ยามทุกเช้า เลยชอบ แต่เอาจริงถามว่าอยากเป็นอะไร ภูมิไม่ได้คิดไปไกลขนาดนั้นในตอนเด็กๆ รู้แค่ว่าอยากทำในด้านครีเอทีฟ ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ถูกตีกรอบ ชอบที่จะมีอิสระ ไม่ต้องมีเดดไลน์ ซึ่งมันดูเป็นความฝันมากๆ อาจไม่ได้ตรงกับความจริงมากนัก และมันก็โชคดีมากๆ ที่ได้ทำงานแบบนี้ในปัจจุบัน

ยังมีความท้าทายอะไรเหลืออยู่อีกไหม

ถ้าเป็นตอนนี้ คืออยากคงความเป็นตัวเองไว้ให้ได้ เพราะเวลาเราทำผลงานที่มันบูมออกมา มันจะมีความคาดหวัง กดดันตัวเองว่างานชิ้นต่อไปเราต้องทำให้มันดี ให้เหมือนชิ้นที่แล้วนะ ซึ่งบางครั้งเวลาเราคิดแบบนั้น มันเหมือนเราตกเป็นทาสกับอดีตของตัวเอง กับความสำเร็จของเรา ว่านี่คือเรานะ เราต้องเป็นแบบนั้นให้ได้อีก ตอนนี้เลยแค่อยากทำอะไรให้เป็นตัวเองได้ต่อไป ไม่ว่าสถานการณ์ในการเป็นศิลปินของเราจะเป็นยังไง

]]>
จากภาพถ่ายสู่เสียงเพลงกับชีวิตที่หล่อหลอมจากงานศิลปะของ ‘Kit B’ https://marshomme.com/interview/1000/ Thu, 14 Mar 2019 16:41:00 +0000

แม้จะมีนามสกุลดังตามท้าย แต่ ‘คิด เบญจรงคกุล’ ก็ยังอยากให้ทุกคนรู้จักเขาผ่านชื่อ ‘Kit B’ เพื่อสัมผัสถึงความตั้งใจในการถ่ายทอดผลงานศิลปะหลากหลายแขนง โดยไม่ต้องสนใจว่าเขาเป็นลูกใคร มีนามสกุลอะไร แต่ให้เปิดใจมองเขาในฐานะศิลปินที่พร้อมรังสรรค์งานศิลปะเพื่อสะท้อนตัวตนของตนเองก็พอ

ตลอดเส้นทางการเติบโต อาจพูดได้ว่า ‘คิด’ คลุกคลีอยู่กับการสร้างงานศิลป์ตั้งแต่เด็กจนโต แม้คุณพ่อจะเป็นนักธุรกิจใหญ่ แต่กลับส่งเสริมให้เขาได้เรียนรู้ศิลปะอย่างเต็มที่ จนช่วยให้เขาค้นพบเส้นทางศิลปินของตัวเอง และไม่เคยไขว้เขวออกเส้นทางนับตั้งแต่ก้าวแรก จากการศึกษาในคณะสถาปัตยกรรม สู่การทดลองงานศิลป์ประเภทภาพถ่าย พัฒนาฝีไม้ลายมือจนคนจดจำในฐานะช่างภาพ พร้อมพ่วงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA BANGKOK) ก่อนเริ่มทดลองสร้างสรรค์ศิลปะอีกแขนง กับการเป็น ‘นักร้อง’ ซึ่งถ่ายทอดตัวตนผ่านเสียงเพลงในวันนี้อีกด้วยลองมาทำความรู้จักกับศิลปินผู้หลงใหลในงานศิลปะคนนี้ไปพร้อมๆ กัน

“เรามีต้นทุนที่ดีกว่าใครหลายๆ คน เราเลือกทำในสิ่งที่้เรารักได้โดยไม่ต้องไปห่วงว่าเราต้องทำงานเพื่อหาเงินตลอดเวลา มันก็เปิดโอกาสให้เราได้ทำในแพสชั่นของเรา แต่ก็ทำให้คนเขาตัดสินเราตั้งแต่ยังไม่ได้เห็นผลงานด้วยซ้ำ บางทีเห็นแค่ชื่อนามสกุลเรา เขาก็ตัดสินเราไปแล้ว”

‘คิด เบญจรงคกุล’ นามสกุลนี้เป็นอุปสรรคหรือสิ่งสนับสนุนคุณ

คิดจะบอกเสมอว่า เวลามีครอบครัวหรือนามสกุลพ่วงมาด้วย มันมีทั้งข้อดีและไม่ดี คือหนึ่ง การเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะดี มีคอนเน็กชั่นดี ทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นในหลายๆ อย่าง เพราะเรามีต้นทุนที่ดีกว่าใครหลายๆ คน เราเลือกทำในสิ่งที่้เรารักได้โดยไม่ต้องไปห่วงว่าเราต้องทำงานเพื่อหาเงินตลอดเวลา มันก็เปิดโอกาสให้เราได้ทำในแพสชั่นของเรา แต่ก็ทำให้คนเขาตัดสินเราตั้งแต่ยังไม่ได้เห็นผลงานด้วยซ้ำ บางทีเห็นแค่ชื่อนามสกุลเรา เขาก็ตัดสินเราไปแล้ว เขาจะมีคำพูดมาแล้วว่า เป็นลูกคนนี้ เป็นไฮโซ ซึ่งเรารู้สึกว่ามันเป็นคำจำกัดความที่ทำให้เราถูกตีกรอบ และไม่สามารถแสดงผลงานออกมาได้เต็มที่ เพราะคนจะตัดสินเราก่อนที่จะได้ชมผลงานเราจริงๆ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่จัดการยากนั่นแหละครับ แต่คิดก็พยายามพิสูจน์ด้วยผลงานมากกว่า เพื่อที่จะให้คนสัมผัสได้ว่าเราตั้งใจทำงานศิลปะและใช้เวลากับมันจริงๆ

‘Kit B’จึงถูกใช้แทนชื่อนามสกุลจริง?

‘Kit B’ เป็นชื่อที่คนรู้จักหรือเพื่อนๆ เรียกคิดอยู่แล้ว มันอาจจะตัดนามสกุลเต็มที่เราถูกเชื่อมโยงกับคนในบ้าน ซึ่งน่าจะทำให้ตัวตนของเราแยกออกมาจากภาพใหญ่ของคนอื่นๆ ในครอบครัวก็อยากให้คนได้เห็นเราในตัวตนของเรา ในงานของเรา มากกว่าที่จะให้คนไปตัดสินว่าเราเป็นลูกของใคร นามสกุลอะไร

ทั้งๆ ที่เป็นครอบครัวนักธุรกิจ แล้วความสนใจในศิลปะของคุณเริ่มต้นมาตั้งแต่ตอนไหน

คิดชื่นชอบในศิลปะตั้งแต่เด็ก คุณพ่อปลูกฝังและสอนเรื่องการวาดรูปตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งการที่คุณพ่อสนับสนุนนี่น่าจะเป็นความเก็บกดของคุณพ่อด้วยนะครับ เพราะคุณพ่อเล่าเสมอว่าอยากจะเป็นศิลปิน นักวาดรูป ก็เลยปลูกฝังลูกๆ ว่าอยากจะเป็นอะไร ก็เป็นสิ่งที่ตัวเองรักได้เลย คุณพ่อเปิดทางให้ ตอนเรียนไฮสคูลจะมีวิชาทางเลือก ซึ่งมีวิชาศิลปะอยู่ในนั้น เราก็เลือกเลย จนเรียนต่อมหาวิทยาลัยก็เลยเลือกเรียนสถาปัตย์ ทุกอย่างเชื่อมโยงกับศิลปะทั้งหมดเลยครับ

“คุณพ่อเล่าเสมอว่าอยากจะเป็นศิลปิน นักวาดรูป ก็เลยปลูกฝังลูกๆ ว่าอยากจะเป็นอะไร ก็เป็นสิ่งที่ตัวเองรักได้เลย คุณพ่อเปิดทางให้”

ผลงานศิลปะชิ้นแรกๆ คืออะไร

ตั้งแต่จำความได้ คิดจะเป็นคนพกกล้องติดตัวอยู่ตลอดเวลา พวกกล้องถ่ายแล้วทิ้งสมัยก่อน เราก็จะพกไปโรงเรียน หรือพกไปค่ายกับเพื่อน แล้วจะคอยถ่ายภาพเพื่อนๆ ในห้อง พรินต์มาแจกทุกคน เราชอบถ่ายภาพคนเป็นพิเศษ ดังนั้น เพื่อนหรือครอบครัวก็โดนจับมาเป็นนายแบบนางแบบให้คิดทุกคนเลยครับ

ก้าวแรกกับเส้นทางช่างภาพ

โปรเจ็กต์แรกที่ทำชื่อว่า ‘Eye to Eye’ ตอนนั้นเรียนสถาปัตย์ปี 2 เป็นการถ่ายรูปบุคคลที่มีชื่อเสียงในประเทศไทยประมาณ 100 กว่าคน มีการจัดแสดงผลงานและทำหนังสือขาย เพื่อนำรายได้ไปบริจาคให้กับมูลนิธิคนตาบอด โปรเจ็กต์นั้นได้รับการตอบรับที่ค่อนข้างดี ทำให้เราตัดสินใจว่าหลังจากเรียนจบสถาปัตย์ เราจะมุ่งไปเป็นช่างภาพครับ ก็เริ่มฝึกงานกับช่างภาพที่ต่างประเทศ เป็นผู้ช่วยช่างภาพ กลับมาเมืองไทยพยายามหางานถ่ายภาพ มีทั้งงานฟรีงานได้เงิน ถ่ายไปเรื่อยๆ จนค่อยๆ มี Portfolio ของตัวเองจนถึงทุกวันนี้ส่วนภาพถ่ายแฟชั่นโปรเจ็กต์แรกเลยเป็นการร่วมงานกับนิตยสารLIPS ครับ เราคิดคอนเซ็ปต์ออกมาแล้วไปเสนอกับทีมงาน เขาสนใจให้ทำ จนออกมาเป็นแฟชั่นเซตครั้งแรกที่ได้ตีพิมพ์ออกมาในหนังสือครับ

สิ่งที่เราโฟกัสในการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) คืออะไร

น่าจะเป็นเรื่องของอารมณ์นะครับ เพราะคิดเชื่อว่าแต่ละคนมีการแสดงอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป อย่างอารมณ์สุขของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน การแสดงความสุขก็ต่างกัน ฉะนั้น เราถ่ายภาพที่มีความสุข แต่ว่าต่างคนกัน มันจะได้ภาพที่อารมณ์แตกต่างกันออกมา

จากโปรเจ็กต์การถ่ายภาพครั้งแรกจนถึงปัจจุบันนี้ คิดว่าตัวเองมีพัฒนาการหรือมุมมองเปลี่ยนไปมั้ย

น่าจะเหมือนกับศิลปะหรือการทำงานหลายๆ ศาสตร์นะครับ การที่เราได้ทำบ่อยๆ หรือฝึกฝนบ่อยๆ มันทำให้ฝีมือเราพัฒนามากขึ้น เราได้เรียนรู้เรื่องเทคนิคมากขึ้น ตั้งแต่การจัดไฟ การสื่อสารกับแบบ หรือแม้กระทั่งการเลือกรูป แก้ไขรูปต่างๆ ด้วยประสบการณ์มันทำให้การทำงานของเรามันพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ คิดเชื่อว่าเราสามารถเรียนรู้ได้ทุกวัน และสามารถพัฒนาต่อไปได้เรื่อยๆ ครับ

“มีแค่ช่วงเวลาตรงนี้สั้นๆ ที่เราจะสามารถทำอะไรก็ได้ที่เรารัก ที่เป็นแพสชั่นของเรา ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นยังไง แต่ถ้าเราได้ลองทำสิ่งที่เรารัก เราก็คิดว่าเราจะไม่เสียใจแน่นนอน”

ดูเหมือนเส้นทางช่างภาพก็กำลังไปได้ดี แล้วทำไมถึงหันมาทำงานเพลง?

ต้องย้อนกลับไปเมื่อ 4 ปีที่แล้วครับที่คิดมีโอกาสได้เข้าไปทำเพลงกับค่าย Frontage คือเพลง ‘เจ้าช่อมาลี’ กับนท (เดอะสตาร์) แล้วหลังจากนั้น พี่เอกซึ่งเคยเป็นหัวหน้าค่ายฟรอนต์เทจก็ชวนเราว่า ทำไมไม่ลองทำเพลงเดี่ยวของตัวเองดู เราใช้เวลาตัดสินใจอยู่สักพัก และรู้สึกว่ามันมีแค่ช่วงเวลาตรงนี้สั้นๆ ที่เราจะสามารถทำอะไรก็ได้ที่เรารัก ที่เป็นแพสชั่นของเรา ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นยังไง แต่ถ้าเราได้ลองทำสิ่งที่เรารัก เราก็คิดว่าเราจะไม่เสียใจแน่นนอน ตัดสินใจจะลองดูสักตั้งครับ คิดเลยใช้เวลาปีกว่าๆ ที่ผ่านมา ซุ่มทำเพลง และเข้าไปคุยกับโปรดิวเซอร์หลายๆ คนจนออกมาเป็น EP ชื่อว่า ‘Long Distance’ ที่เพิ่งปล่อยออกมาครับ

Long Distance มาจากประสบการณ์ของตัวเองเลยหรือเปล่า

ใช่ครับ EP Long Distance มีทั้งหมด 4 เพลงครับ โดยทั้ง 4 เพลงมาจากประสบการณ์ความรักในช่วงเวลาต่างๆของคิดเอง ซึ่ง EP นี้ได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลงที่หลากหลาย แต่ละคนเป็นระดับท็อปๆ ของประเทศทั้งนั้นเลย โดยแต่ละเพลงมีความต่างกันเล็กน้อยในเรื่องของซาวด์ต่างๆ เป็นการทดลองค้นหาซาวด์ที่มันเป็นตัวตนของเราจริงๆ

อย่างเพลงแรกคือ Long Distance เป็นเพลงที่มีจังหวะสนุกๆ ที่เราสามารถมอบให้กับคนที่เรารักเวลาอยู่ห่างไกลกัน เพลงที่สองคือเพลง ‘ลืม’ ถือว่าเป็นเพลงเศร้าที่สุดใน 4 เพลง และเพลงนี้ได้ ‘มิว นิษฐา’ มาเล่น MV ด้วย เพลงที่สามคือ ‘Let's Start Tonight’ ซึ่งมี ‘วี-วิโอเลต’ มาฟีเจอริงด้วย และเพลงสุดท้ายคือ “เวิ่นเว้อ” ที่มี ‘พี่เอก Season Five’ มาทำเพลงให้ ซึ่งคิดเองได้เรียนรู้มากมายจากพี่เอกด้วยครับ

การเผยแพร่เพลงในตอนนี้มีช่องทางหลากหลายมากขึ้นสิ่งนี้ทำให้ศิลปินทำงานง่ายขึ้นมั้ย

มีทั้งสองแง่นะครับ มันง่ายขึ้นตรงที่เราไม่ต้องอยู่กับค่ายใหญ่แล้ว อยู่กับค่ายเล็กๆ ก็ได้ ช่องทางการปล่อยเพลงเราเอาขึ้น YouTube หรือช่องทาง Streaming อื่นๆ เองได้ แต่มันทำให้เกิดตัวเลือกเยอะมาก มีเพลงดนตรีหลากหลาย การแข่งขันจะสูงนิดหนึ่ง แต่ทำให้เราเป็นตัวเอง แสดงตัวตนของเราอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ผู้ฟังครับ

“การร้องเพลงไม่ได้มีแค่ความพยายามร้องให้เพราะ ร้องให้ตรงคีย์ แต่มันเป็นการแสดงอารมณ์ที่อยู่ข้างในให้คนฟังได้ยิน”

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเป็นนักร้องคืออะไร

คิดได้เรียนรู้หลายๆ ศาสตร์ของการร้องเพลง ได้รู้ว่าการร้องเพลงไม่ได้มีแค่ความพยายามร้องให้เพราะ ร้องให้ตรงคีย์ แต่มันเป็นการแสดงอารมณ์ที่อยู่ข้างในให้คนฟังได้ยินทุกรายละเอียดของตัวโน้ต หรือคำที่ร้องออกมา มันสามารถใส่ความหมาย ความรู้สึกมากมาย อีกอย่างคือความมั่นใจในการร้องเพลงต่อหน้าคนอื่น ก็เป็นสิ่งที่เราพยายามฝึกฝนอยู่ทุกวัน เพราะอาจจะชินกับการร้องอยู่ในห้องนอนคนเดียว หรือร้องในห้องอัด ร้องให้เพื่อนที่สนิทฟัง แต่พอก้าวมาเป็นศิลปินเราต้องออกไปร้องให้กับคนที่ไม่รู้จักฟัง ซึ่งเขาจะรู้จักเราผ่านเสียงเพลงที่เราร้องออกไป

การเป็นช่างภาพกับการเป็นนักร้อง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

มีส่วนเหมือนและต่างกันนะครับ ส่วนที่ต่างกันคือ ตากล้องเป็นการอยู่เบื้องหลัง ส่วนนักร้องเป็นการอยู่เบื้องหน้า เหมือนเราต้องไปยืนอยู่หน้าคน แล้วแสดงอารมณ์ของเราออกมาให้คนได้ดูได้ฟังกัน แต่การเป็นช่างภาพเราจะคอนโทรลทุกอย่างจากข้างหลังกล้องได้ สิ่งที่เผยแพร่ให้คนดูคือชิ้นงานของเราไม่ใช่ตัวเราเองแต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือความเป็นศิลปะและอารมณ์ที่หลากหลาย อย่างภาพมันสามารถสื่อออกมาได้หลากหลายอารมณ์ การร้องเพลงก็สื่อออกมาได้หลากหลายอารมณ์ คนเดียวกันร้องเพลงเดียวกัน ก็ออกมาไม่เหมือนกันครับ

นอกจากศิลปะด้านภาพถ่ายและการร้องเพลงแล้ว คุณยังทำ Installation Art ด้วย?

ใช่ครับ ตอนนี้ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA BANGKOK) กำลังมีนิทรรศการใหม่ชื่อ ‘มนุสสานัง : Manussanung’ ซึ่งคิดได้มีส่วนร่วมโดยเป็นทั้งคนจัดงาน และเป็นหนึ่งในศิลปินที่จัดแสดง Installation Art ด้วย โดยนิทรรศการนี้มีศิลปินเข้าร่วมถึง 31 ท่านทุกๆ ท่านจะมาถ่ายทอดคำว่ามนุสสานังในแบบของตัวเอง มีทั้งภาพวาด ภาพถ่าย ประติมากรรม

ในส่วนของคิดเอง คิดสร้างห้องห้องหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้คนเข้ามาปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิ ซึ่งมีการร่วม Collaborate กับนทอีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้นทมาในฐานะคนทำซาวด์ให้ห้อง เพื่อพาคนเข้าสู่สมาธิและความสงบเพราะสำหรับคิด คำว่ามนุสสานังทำให้นึกถึงความเป็นชาวพุทธ ซึ่งชอบเข้าวัดปฏิบัติธรรม และพยายามหาความสงบ เหมือนกับการมามิวเซียม เราก็มาเพื่อความสงบ ผ่อนคลาย แต่ในขณะเดียวกัน มันมีสิ่งเร้ากวนใจมากมาย อย่างรูปภาพที่กระตุ้นความคิดเราหลายๆ แบบ

ดังนั้น การที่เราเข้ามาในห้องปฏิบัติธรรมที่ตั้งอยู่กลางมิวเซียม เราอยากจะรู้ว่าปฏิกิริยาของคนนั้นจะส่งออกมาแบบไหน เมื่อเขาต้องเข้ามาในห้องนี้ ซึ่งมีแสง สี เสียง ที่นำพาความสงบมาให้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งกวนใจด้วย คนที่เข้ามาดูนั้นจะเข้าถึงความสงบได้จริงมั้ย และทำสมาธิในรูปแบบไหน นอกจากนี้ยังมีผลงานอีกมากมายจากหลากหลายศิลปินที่รอให้คุณเข้าชม ตั้งแต่วันนี้ จนถึงกลางเดือนมีนาคมเลยครับ

“คิดชอบที่เราได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น การได้ทำงานร่วมกัน เหมือนเราได้รับพลังงานจากคนที่เราเจอ และได้คุยกับคนที่เราไม่รู้จัก”

ดูเหมือนคุณจะชอบทำงาน Collaborate กับคนอื่นๆ จริงๆ แล้วศิลปินน่าจะอยากทำงานคนเดียวหรือเปล่า

คิดว่างานศิลปะเป็นงานที่สามารถ Collaborateกับคนอื่นๆ ได้หมด คือมันก็มีที่ทำคนเดียวได้ แต่สำหรับคิด คิดชอบการทำงานเป็นทีม อย่างการถ่ายภาพพอร์เทรต แฟชั่น งานตรงนี้มันมากกว่าตากล้อง อย่างน้อยๆ ก็มีซับเจ็กต์ที่ต้องทำงานร่วมกัน ที่เราต้องสื่อเขาออกมาผ่านสายตาเรา คิดชอบที่เราได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น การได้ทำงานร่วมกัน เหมือนเราได้รับพลังงานจากคนที่เราเจอ และได้คุยกับคนที่เราไม่รู้จัก

ถ้าผลงานในฐานะศิลปินของคุณไม่ได้รับเสียงชื่นชม คุณจะรู้สึกอย่างไร

หลักๆ แล้วทุกคนทำงานออกมาก็หวังจะได้ผลตอบรับที่ดี เสียงชื่นชมก็เหมือนกำลังใจที่ทำให้เราทำงานต่อไป ถ้าไม่ได้รับเสียงชื่นชมเลย ก็คงต้องกลับมาคิดว่าเราทำดีพอแล้วรึยัง หรือควรต้องปรับปรุงยังไง ถ้าเราตั้งใจทำและภูมิใจกับมัน มันก็พอแล้วนะครับ มันมากกว่าจะต้องไปรอคำตอบรับว่าทุกคนจะยอมรับเราหรือเปล่า แค่เราตั้งใจทำสุดความสามารถก็พอแล้ว

ก้าวต่อไปในฐานะคนทำงานศิลปะหลากหลายแขนง

อยากส่งเสริมศิลปะไทย ทำให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงศิลปะได้ง่ายขึ้น อยากจัดพื้นที่ให้ศิลปินบ้านเรามีที่จัดแสดงผลงาน และโกอินเตอร์ไปสู้กับศิลปินต่างชาติได้ ในฐานะศิลปินคนหนึ่ง อยากพัฒนาศิลปะในประเทศตัวเองให้ก้าวไกล เพราะคิดเชื่อว่าศิลปินไทยไม่แพ้ชาติไหนในโลกนะครับ เพียงแต่อาจจะยังไม่ได้รับการโปรโมตที่ถูกต้อง เลยทำให้มีศิลปินไทยกลุ่มน้อยที่เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ เพราะขาดแรงผลักดันและสนับสนุนอย่างเต็มประสิทธิภาพ ในฐานะคนไทยเราจึงควรช่วยกันผลักดันศิลปินไทยให้ก้าวไประดับโลกให้ได้ครับ


]]>
“เราเป็นเรา ไม่ได้คิดว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย No Gender” คุยกับ ‘นลินกัญญ์นลิน’ นางแบบ Transgender https://marshomme.com/lifestyle/1004/ Fri, 01 Mar 2019 16:50:00 +0000

เกาะแคตวอล์กคุยกับ ‘นลิน-กัญญ์นลิน เสถียรุจิกานนท์’ นางแบบ Transgender สุดเฟียซ! เปิดตัวตนและความฝันที่หล่อหลอมมากับเพลง Bony M. และแฟชั่นยุค 80 กับการเรียนรู้โลกและการยอมรับตัวเอง ที่กว่าจะมาถึงวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งชีวิตวัยเด็ก วงการนางแบบ ความรัก และความฝันขั้นต่อไปของเธอ

“จริงๆ เราไม่คาดหวังว่าคนจะมองเราเป็นผู้หญิงไหม แค่เขาให้ความเคารพเราเหมือนคนคนหนึ่ง แค่นี้แหละสิ่งที่นลินต้องการ”

การเป็นนางแบบคือการสวมตัวตนของคนอื่นไหม
ไม่ค่ะ ต้องเป็นตัวเรา เราไม่ได้สวมบทบาท แต่เราแค่แสดงฟีลลิ่งให้เหมาะกับงาน สมมุติแบรนด์เทรนดี้หน่อย เราก็ต้องดูวัยรุ่นๆ ถ้าแบรนด์นี้ดูเป็นผู้ใหญ่ เราก็ต้องดูแพงๆ หน่อย แต่ยังไงคาแร็กเตอร์ที่ชัดเจนมันก็สำคัญที่สุด นลินจะเป็นนางแบบที่มีคาแร็กเตอร์แบบเท่ๆ เขาก็จะเลือกเราเพราะสิ่งนี้ อย่างแบรนด์หนึ่งเป็นชุดแต่งงาน แต่เขาอยากได้ลุคเท่ๆ มีรอยสัก เขาก็จะนึกถึงเรา ให้ใส่ชุดแต่งงานเป็นแนวแฟชั่นจ๋าเลย แต่อย่างบางงานเจอลุคหวานมากๆ แต่เราก็ต้องทำได้ ถ้าลูกค้าชอบ แสดงว่าเขาเชื่อในตัวเรา เราก็ต้องเชื่อในตัวเขาด้วยว่าเขาเลือกไม่ผิดคน

แรกๆ คนรู้ไหมว่าเราเป็น Transgender
แรกๆ เขาก็ไม่รู้ แต่เราบอกตลอดไม่ได้ปิดบัง ถ้าไม่ชอบก็ไม่เป็นไร ถ้าลูกค้าไม่แฮปปี้ เราก็ไม่ได้จะต้มตุ๋นเขา เราจะเป็นตัวเรา จะมาโกหกตลอดมันเหมือนหลอกตัวเอง

รู้สึกว่าต้องพยายามกว่านางแบบผู้หญิงไหม
พยายามกว่าเยอะ เราต้องวางตัวให้ดี คือเราไม่ได้ตำหนิสิ่งที่คนอื่นเขาทำ อย่างโชว์อก กรี๊ดเสียงดัง ซึ่งจริงๆ เราก็เป็นนะ ในแง่ของการเป็นคนสนุก เฮฮามีเสียงดังบ้าง แต่ผู้ใหญ่เขากลัวว่าเวลาเดินแบบเราจะเป็นแบบนั้นหรือเปล่า มันจะโอเวอร์แอ็กติ้งจนเกินไปไหม ซึ่งเราต้องพิสูจน์ว่าเราไม่ได้เป็นแบบนั้น เขาก็เห็นว่าเราพยายามอยู่ พยายามเบลนด์ตัวเราให้อยู่ในขอบเขต

“เวลาถูกแซวเราก็เลยจำไว้ว่า อย่าทำอย่างนี้กับคนอื่น ถ้าเขาต้องทำงานที่ใช้ฟีลลิ่ง หรือแม้ว่าเขาไม่ต้องทำงาน เราก็จะไม่ทำไม่พูดแบบนี้ เพราะเรารู้ว่าเขาจะฟีลดาวน์แค่ไหน”

เวลาถูกแซวแรงๆ คุณรับมือยังไง
เราก็ฟังเฉยๆ ไม่เป็นไร แค่รู้สึกว่าจะพูดให้เราฟีลไม่ดีทำไม เวลาถูกแซวเราก็เลยจำไว้ว่า อย่าทำอย่างนี้กับคนอื่น ถ้าเขาต้องทำงานที่ใช้ฟีลลิ่ง หรือแม้ว่าเขาไม่ต้องทำงาน เราก็จะไม่ทำไม่พูดแบบนี้ เพราะเรารู้ว่าเขาจะฟีลดาวน์แค่ไหน ก็เป็นบทเรียนของเรา ทุกวันมันได้เรียนรู้อะไรไปในตัว คนนี้ทำแล้วเรายังรู้สึกแย่เลย ซึ่งเราเป็นคนคิดบวกมากๆ ด้วยซ้ำ นับประสาอะไรกับคนอื่น อย่าทำกับคนอื่นเขาก็พอ

แล้ว LGBT ด้วยกันในวงการนางแบบ ปฏิบัติกับคุณยังไง
ส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหาอะไรค่ะ เขาซัพพอร์ตด้วยกันเอง มีบางคนเข้ามากุมมือเรา บอกเราว่าทำให้ได้นะ ต้องอดทน ต้องเข้มแข็งนะลูก วงการนี้มันยาก แต่พี่เชื่อว่าหนูทำได้ จนเราร้องไห้ ไม่เชื่อว่าพี่เขาจะมาให้กำลังใจเราขนาดนี้ บางคนบอกว่า ถ้าอยากให้พี่แต่งหน้า ทำพอร์ตไปเมืองนอก เรียกได้ตลอดเลยนะ จริงๆ สังคมนางแบบอบอุ่น พี่ๆ ช่างหน้าช่างผมใจดีนะ เจอคนที่ไม่โปรจริงๆ ถึงจะแสดงกิริยาที่ไม่ดีออกมา ซึ่งนลินโชคดีที่ส่วนใหญ่เจอแต่คนโปรเฟสชันนอล ทำให้เราอยากจะโปรได้เหมือนเขา

จริงๆ แล้วเริ่มต้นการเป็นนางแบบได้ยังไง
เราเริ่มต้นจากงานของเพื่อน เดินแบบรันเวย์ของนักศึกษา คนเริ่มเห็น แล้วผู้ใหญ่คงเห็นว่าเป็นนางแบบได้ เลยจับมาทำงานที่มันเริ่มใหญ่ขึ้น อย่างกรมอุตสาหกรรมที่มีเด็กประกวด ให้เรามาเดินแบบเสื้อผ้า แล้วต่อมาพี่โดมที่เป็นสไตลิสต์ เขาให้ไปเดินแบบของ Greyhound แล้วได้มาลงนิตยสาร ELLE อีกทีหนึ่ง คนอื่นๆ เลยเริ่มรู้ว่าคนนี้คือโมเดล ซึ่งจริงๆ ในไทยนางแบบใหม่ๆ เยอะนะ แต่คนที่จะมาทำงานในวงการแฟชั่นจริงๆ น้อยมาก สุดท้ายจะเป็นคนเดิมๆ ที่ทำงาน เราเลยเป็นหน้าใหม่ที่อาจจะน่าสนใจ

ตอนเด็กๆสนใจแฟชั่นและศิลปะมาก่อนไหม
ตอนเด็กๆเราจะมีแฟชั่นของเรานิดๆหน่อยๆอย่างกางเกงยีนส์ขาสั้นแต่งหน้าแต่งตัวคือชอบแต่งตัวมาตั้งแต่เด็กเอาเสื้อของคุณแม่คุณยายมามิกซ์แอนด์แมตช์ให้ดูเป็นเด็กผู้หญิงอยากให้ข้างในรู้สึกว่าฉันคือผู้หญิงคนหนึ่งที่มีกิ๊บบนหัวมีต่างหูที่เอาสก็อตช์เทปมาแปะให้เหมือนเขาเรื่องเพลงก็ด้วยเรามีคุณลุงที่เคยไปทำงานต่างประเทศแล้วเขาชอบBoney M. มากเราเลยเริ่มต้นด้วยการฟังBoney M. ไม่ใช่Britney Spears เหมือนคนอื่นแล้วชอบถ่ายรูปแล้วพรินต์รูปมาแปะผูกพันกับเรื่องกล้องเรื่องภาพถ่ายกล้องฟิล์มมาผสมปนเปกันหมดเราก็เลยชอบแฟชั่นชอบความวินเทจโดยเฉพาะยุค 80

เห็นผลงานภาพถ่ายจากกล้องฟิล์มในอินสตาแกรมเยอะมากแสดงว่ายังชอบกล้องฟิล์มอยู่?
ใช่ค่ะอย่างที่บอกว่าชอบความวินเทจชอบอะไรที่มันได้มายากๆคิดว่ามันคงดีกว่าถ้าเราได้ลองเอากล้องฟิล์มมาถ่ายในแบบที่คนอื่นเขาไม่ได้ทำกัน

ภาพแนวไหนที่คุณชอบถ่าย
จะเป็นภาพที่เราดีไซน์ขึ้นมาว่าเราอยากถ่ายประมาณนี้นายแบบคนนี้เราจะดีไซน์เลยว่าเขาเหมาะกับอะไรเสื้อผ้าอะไรที่ไหนจะออกแบบก่อนประมาณอาทิตย์หนึ่งแล้วค่อยออกไปถ่ายจะไม่ถ่ายแบบสุ่มเอาเพราะมันไม่ใช่สไตล์เราซึ่งแรงบันดาลใจจะมาจากไบเซ็กชวลเกย์เซ็กซ์จากหนังที่เราดูอะไรแบบนี้เราก็จะเอามามิกซ์กันแต่ไม่ได้ดูโป๊เปลือยแค่เซ็กซี่เล็กๆผู้ชายผิวมันๆโกลวๆแล้วก็เรื่องศาสนาด้วยเราไม่ได้นับถืออะไรแต่ไม่ได้ไปล้อเล่นนะทุกภาพมีความหมายหมดเพราะเราคิดมาแล้วไม่ได้ถ่ายเพื่อเกาะกระแสให้ใครด่า

“เทคโนโลยีตอนนี้มันทำให้เรารอไม่เป็นต้องได้ต้องมาเดี๋ยวนี้แต่กล้องฟิล์มเราถ่ายช่วงเวลานั้นได้ครั้งเดียวเอาไปล้างเราต้องรอให้เป็นแล้วยอมรับผลที่จะตามมาภาพมันจะดีหรือเสียก็เป็นเพราะเรา”

กว่าจะถ่ายรูปแต่ละรูปคุณต้องทำการบ้านหนักมาก?
ใช่ค่ะทำรีเสิร์ชทำสไตลิ่งเองถ่ายเองไม่มีแสงไฟมาสาดให้จริงๆเราทำคนเดียวไม่ได้เป็นมืออาชีพอะไรขนาดนั้นเป็นแค่คนรักกล้องฟิล์มคนหนึ่งที่อยากจะเผยงานอาร์ตของเราตั้งแต่ได้เรียนรู้มาเท่านั้นเราชอบสร้างสรรค์งานอาร์ตให้คนอื่นได้ยืนมองดูหรือดูรูปนี้แล้วมันมีเรื่องราวอะไรที่เราอยากเผยแพร่มีกิมมิกนิดหน่อยมีมุมลึกมุมตื้นอันนี้สักสามสี่สีฟิล์มอันนี้ดูดสีน้ำเงินแบบนี้คิดเยอะค่ะคือเราต้องมีภาพในหัวของเราก่อนตลอด

กล้องฟิล์มกับชีวิตเหมือนหรือต่างยังไง
มันทำให้เรารอเป็นใจเย็นถ่ายแล้วรอให้เป็นเทคโนโลยีตอนนี้มันทำให้เรารอไม่เป็นต้องได้ต้องมาเดี๋ยวนี้แต่กล้องฟิล์มเราถ่ายช่วงเวลานั้นได้ครั้งเดียวเอาไปล้างเราต้องรอให้เป็นแล้วยอมรับผลที่จะตามมาภาพมันจะดีหรือเสียก็เป็นเพราะเรากล้องฟิล์มทำให้เรารีแลกซ์กับมันได้เยอะค่ะ

ตั้งแต่ใช้ชีวิตมาจนถึงตอนนี้ เคยรู้สึกไม่พอใจในชีวิตตัวเองหรือเปล่า
ก็ช่วงมีแฟนแหละค่ะ เรากลัวทำให้แฟนอาย เราเลยอยากเป็นผู้หญิง มีคิดอยากฆ่าตัวตาย อยากหายไปจัง แต่คนเราความอยากมันไม่หยุดอยู่แล้ว ถึงไม่ใช่นลินแต่เราก็ยังมีความอยาก อยากขาว อยากตาสีฟ้า เราเลยมองมุมกว้างๆ ว่ามันก็ไม่ได้เป็นแค่เรา ถึงแม้เราเป็นผู้หญิงจริงๆ เรายังอยากตาสีเทา ผมสีบลอนด์ อยากสูงเท่านี้ ก็แปลว่าเราไม่ใช่คนเดียวในโลกที่อยากอย่างนู้นอย่างนี้อยู่ งั้นเราก็จงแฮปปี้กับมันดีกว่า ยังไงก็เปลี่ยนไม่ได้ ศัลยกรรมทั้งตัวมันก็เปลี่ยนไม่ได้อยู่ดี

“ถึงแม้เราเป็นผู้หญิงจริงๆ เราก็ยังอยากตาสีเทา ผมสีบลอนด์ อยากสูงเท่านี้… งั้นเราก็จงแฮปปี้กับมันดีกว่า ยังไงก็เปลี่ยนไม่ได้ ศัลยกรรมทั้งตัวมันก็เปลี่ยนไม่ได้อยู่ดี”

แล้วทุกวันนี้เรายอมรับตัวเองได้แค่ไหน
ยอมรับตัวเองล้านเปอร์เซ็นต์ และรู้สึกว่ารักตัวเองด้วย เมื่อก่อนมีนอยด์เรื่องผู้ชาย ว่าเราก็อยากมีครอบครัวเหมือนกัน แต่พอโตขึ้นคิดว่า เรามีคนรักเรา แล้วทำไมเราถึงไม่รักตัวเอง แล้วเราจะนอยด์ทำไมในเมื่อมันแก้ไขอะไรไม่ได้ ในอนาคตถ้าเราอยากมีครอบครัวมีลูกจริงๆ เราค่อยหาทางแก้ไขไหม แต่มันไม่ใช่ตอนนี้ ตอนนี้เราก็รู้สึกแฮปปี้มาก แม้ว่าเราจะยังไม่ได้ศัลยกรรมอะไรให้เหมือนผู้หญิงร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราเป็นแบบนี้ก็มีคน Respect เราเหมือนเราเป็นผู้หญิงทั่วไป จริงๆ เราไม่คาดหวังว่าคนจะมองเราเป็นผู้หญิงไหม แค่เขาให้ความเคารพเราเหมือนคนคนหนึ่ง แค่นี้แหละสิ่งที่นลินต้องการ

ตอนนี้มีมุมมองเรื่องความรักยังไง
ความรักเป็นสิ่งสวยงามมากกว่า ถ้าสมมุติเขาจะชอบเราเพราะตัวเรา นลินก็จะเลือกเขา แต่ถ้าเขาคาดหวังให้เราเป็นคนอื่น ให้เราเป็นผู้หญิง ก็ไปคบผู้หญิงดีกว่าไหม ซึ่งถ้าคบเราเพราะเรานิสัยแบบนี้ เข้ากันได้ ฟังเพลง ดูหนังแบบเดียวกัน นอนฟังเสียงกรนได้ หรือนอนเปิดไฟแล้วเขารับได้ สิ่งเหล่านี้มันสำคัญกว่ารูปลักษณ์ภายนอกอีก ตอนเด็กๆ ชอบคนหล่อ แต่พอโตมา ทัศนคติ นิสัยใจคอ การใช้ชีวิต สไตล์ สำคัญกว่าหน้าตา ถ้าเขาไม่เข้าใจเรา แล้วเราต้องไปเปลี่ยนเป็นแบบที่เขาคาดหวัง เราก็คงอยู่ด้วยไม่ได้ ไม่เวิร์กหรอก เปลี่ยนตัวเองเป็นคนนั้นคนนี้ ในขณะที่เขาไม่เคยเปลี่ยนอะไรเลย ก็เลยคิดว่าไม่เอาดีกว่า รอคนที่ใช่จริงๆ มันต้องมีอยู่แล้ว

“เป็นตัวของตัวเองเถอะ อย่าพยายามทำให้ใครสักคนมาชอบเรา ถ้าเราไม่ใช่คนนั้น ดีกว่าไหมถ้าเราจะเจอตัวเอง แล้วเขามารักในสิ่งที่เราเป็น”

คิดว่าออกแบบชีวิตของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน
ถ้าเป็นเมื่อก่อน ออกแบบไม่ได้ โดนตีกรอบว่าต้องสวย ขาว ผมยาว มีหน้าอก แต่ตอนนี้เราเข้มแข็งพอ โชคดีด้วยที่ได้เป็นนางแบบ เลยมีความมั่นใจสูง ตอนนี้นลินเจอตัวเองแล้ว แต่งตัวแบบนี้ ฟังเพลงแบบนี้ รู้สึกแฮปปี้มาก แล้วก็มั่นใจมาก ถึงแม้ใครจะบอกว่าผมสั้นเหมือนผู้ชายเลย ไม่จำเป็นอะ ผู้หญิงโกนหัวก็เป็นผู้หญิงอยู่ดี เราเป็นเรา จริงๆ ไม่ได้คิดว่าหญิงหรือชายด้วยซ้ำ คิดแค่ว่าเรามั่นใจไหม ถ้าเรามั่นใจ เราเคารพตัวเองมากพอ เราก็ทำได้ และถ้าวันหนึ่งมีชื่อเสียงพอที่คนอื่นจะรับฟังเราได้มากขึ้น ก็อยากเป็นกระบอกเสียงเพื่อบอกกับคนอื่นๆ ว่า เป็นตัวของตัวเองเถอะ อย่าพยายามทำให้ใครสักคนมาชอบเรา ถ้าเราไม่ใช่คนนั้น ดีกว่าไหมถ้าเราจะเจอตัวเอง แล้วเขามารักในสิ่งที่เราเป็น

วงการนางแบบให้อะไรกับเราบ้าง
ให้เราเป็นคนเคารพนอบน้อมคนอื่น เราเป็นคนหัวแข็งนิดหนึ่งนะ แต่วงการนี้ทำให้เราถ่อมตัว เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น คนไทยถูกปลูกฝังมาในโหมดที่เจอคนอื่นที่เราไม่รู้จักแล้วเราไม่ทัก แต่พอเราได้ทำงานกับฝรั่ง เราเห็นเขาเซย์ไฮกันหมด เราก็เรียนรู้ตรงนั้นมาด้วย อาจจะไม่ได้ทำทุกครั้งกับทุกคน แต่ก็ทำให้เรากล้าเซย์ไฮคนอื่นมากขึ้น มีความมั่นใจ เป็นตัวของตัวเอง ได้รู้จักตัวเองค่ะ

วางแผนก้าวต่อไปไว้ยังไงบ้าง
นลินก็ไม่รู้นะว่าจะทำงานนางแบบได้นานแค่ไหน ก็เลยอยากไปลองทำงานในต่างประเทศดูว่า เราชอบมันจริงหรือเปล่า หรือชอบเพราะมันมีชื่อเสียง เพราะได้ใส่เสื้อผ้าสวยๆ หรือแค่เพราะว่าเงินมันเร็วดี ถ้าไปลองแล้วรู้ว่าชอบจริงๆ ก็จะได้มุ่งไปอีก อย่างเร็วนี้ๆ ก็จะไปญี่ปุ่น ครั้งนี้ไม่มีคนรู้จักเรา ไม่ได้เงิน ต้องไปนอนกับคนอื่น ต่างบ้านต่างเมือง ลองดูว่าเราจะรับมือกับตรงนี้ได้ไหม ถ้าไม่ชอบเราก็จะได้รู้แล้วว่าทำอย่างอื่นไหม ก่อนที่มันจะสายเกินไป ก่อนเลขสาม เราก็จะได้ลองสิ่งที่เรายังไม่ได้ลอง


]]>
บันทึกช่วงเวลาที่เซ็กซี่ที่สุดของผู้ชาย กับช่างภาพมืออาชีพ ‘นินทร์-นรินทรกุล ณ อยุธยา’ https://marshomme.com/interview/1006/ Thu, 21 Feb 2019 14:50:00 +0000

ในยุคที่ทุกคนคือช่างภาพ โทรศัพท์ทุกเครื่องคือกล้อง เราทุกคนคือนายแบบนางแบบ ‘นินทร์-นรินทรกุล ณ อยุธยา’ ยังคงปักหลักในเส้นทางสายภาพนิ่งที่ตัวเองเลือกอย่างโดดเด่น และนำเสนอภาพแบบของตนออกมาด้วยสายตาของศิลปิน

พลังของภาพถ่าย ศิลปะของความโป๊เปลือย และมุมมองที่จำเป็นของช่างภาพสมัยใหม่ กับความรักในงานและความตื่นเต้นเสมือนมือใหม่จับกล้องอยู่เสมอ ทำให้เขาคนนี้ยังยึดตรงพื้นที่ในวงการ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับช่างภาพรุ่นใหม่ๆ กับการทำงานที่แตกต่างในโลกของตัวเอง

“มันเป็น Magic อย่างหนึ่งที่ได้เก็บช่วงเวลาเอาไว้บนกระดาษแผ่นหนึ่งได้”

คุณคิดว่างานของช่างภาพมีพลังแค่ไหน
สำหรับพี่ ภาพถ่ายคือการ Capture คือการเก็บช่วงเวลาของชีวิตไว้ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ฟิตที่สุดตอนนี้ มีลูกที่น่ารักที่สุดตอนนี้ มันเป็น Magic อย่างหนึ่งที่ได้เก็บช่วงเวลาเอาไว้บนกระดาษแผ่นหนึ่งได้ เพราะเราไม่สามารถย้อนเวลาได้ นอกจากการกลับไปดูกระดาษแผ่นนั้น ที่ทำให้เหมือนเราย้อนเวลากลับไปได้

ภาพที่ดีหนึ่งภาพประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
ภาพที่ดีในความเห็นพี่ คือช่วงเวลาที่ได้เจอกันของช่างภาพและตัวแบบที่อยู่หน้าเลนส์ ตอนพี่ทำงาน มันอาจดูเหมือนพี่สั่งเยอะก็จริง แต่พี่จะมีช่วงเวลาที่ตัวแบบไม่ต้องฟังพี่เลย มันจะเป็นการทำงานสองส่วนด้วยกัน คือตัวแบบ และช่างภาพที่มาเจอกันตรงกลาง ซึ่งพี่คิดว่างานที่พี่ชอบ คือตอนที่ได้ช็อตจากตัวแบบ ที่เป็นตัวเขาเองมากกว่าภาพที่พี่กำกับเอง พี่กำกับเองน้อยลงเรื่อยๆ นะ เพราะพี่ชอบจังหวะแบบนั้น

ถ้าอย่างนั้น หน้าที่ของช่างภาพที่ดีคืออะไร
พี่ว่าช่างภาพหรือความเป็นช่างภาพ คือการลืมทุกอย่างรอบตัว ให้เหลือแค่เฟรมสี่เหลี่ยมที่อยู่ ณ ขณะที่กำลังถ่ายภาพอยู่ ซึ่งเฟรมสี่เหลี่ยมนั้น มันบอกถึง composition แสง สี อารมณ์ ตัวแบบ แม้กระทั่งความรู้สึกที่เรารู้สึกกับภาพนั้นออกมาเอง คนที่เป็นช่างภาพ ถ้ารู้สึกมี Passion กับเฟรมสี่เหลี่ยม ณ ช่วงเวลานั้นออกมาได้ เขาก็จะดีไซน์ทุกอย่างให้ออกมาบนภาพนั้นได้

ความพิเศษคือ ทุกครั้งที่ได้ถ่ายภาพ แล้วมีคนอยู่หน้าเลนส์ เราจะรู้สึกถึงโมเมนต์บางอย่าง พลังที่เขาส่งออกมาให้เรา แล้วเราก็ต้องจับจังหวะของพลังนั้นๆ ให้ได้ ซึ่งแต่ละคนจะออกมาไม่เท่ากัน บางครั้งถ่ายรูปนายแบบที่เขาโพสเป็นไปหมดเลยก็น่าเบื่อนะ บางคราวคนที่ไม่เคยถ่ายเลยกลับโพสได้ดีกว่ามากๆ ด้วยซ้ำ ช่างภาพก็อาจเป็นคนที่จะเลือกโมเมนต์เหล่านั้นในการนำเสนอ

“อารมณ์ที่สำคัญที่สุด ถ้าเป็นผู้ชายคนหนึ่ง คือการที่เขาไม่สนใจกล้อง และเขารู้สึกของเขาเองว่า เขาได้ทำทุกอย่างจริงๆ ได้นั่งจริงๆ ยืนจริงๆ ได้มีจังหวะที่เขาเองรู้สึกว่า เขาไม่ต้องแคร์อะไรแล้ว ไม่ต้องห่วงหล่อมาก จังหวะแบบนี้มักจะออกมาดีเสมอ ตอนคนไม่ต้องห่วงหล่อห่วงสวย จังหวะแบบนั้นเวลาเรา Capture มาได้แล้วเราจะรู้สึกว่า มันจริง นั่นคือความพิเศษของตัวแบบที่อยู่หน้าเลนส์”

เชื่อเรื่องอารมณ์ที่ใส่ลงไปในงานศิลปะหรือภาพถ่ายไหม
อารมณ์สำหรับพี่ มันเกิดมาจากการทำการบ้านมากกว่า ในการถ่ายครั้งหนึ่ง ถ้าเราต้องการให้อารมณ์ อย่างเช่น ความแมนของผู้ชายมันเกิดขึ้นมากๆ เราก็จะเซตสถานการณ์ขึ้นมาเพื่อให้เขาได้เดินจริง ได้ลุยจริง ได้เหงื่อแตกจริงๆ อะไรแบบนี้ ซึ่งมันจะออกมาจากตัวนายแบบเองด้วย กลายเป็นว่า อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น มันคือสถานการณ์ที่ช่างภาพเซตเอาไว้ให้ตัวแบบได้เจอด้วยเหมือนกัน

อารมณ์ที่สำคัญที่สุด ถ้าเป็นผู้ชายคนหนึ่ง คือการที่เขาไม่สนใจกล้อง และเขารู้สึกของเขาเองว่า เขาได้ทำทุกอย่างจริงๆ ได้นั่งจริงๆ ยืนจริงๆ ได้มีจังหวะที่เขาเองรู้สึกว่า เขาไม่ต้องแคร์อะไรแล้ว ไม่ต้องห่วงหล่อมาก จังหวะแบบนี้มักจะออกมาดีเสมอ ตอนคนไม่ต้องห่วงหล่อห่วงสวย จังหวะแบบนั้นเวลาเรา Capture มาได้แล้วเราจะรู้สึกว่า มันจริง นั่นคือความพิเศษของตัวแบบที่อยู่หน้าเลนส์ บางทีสวยเกินไป หล่อเกินไปมันชินตาแล้ว พี่อยากให้งานของพี่ได้ลดทอนความเพอร์เฟ็กต์เหล่านั้นลงมา มาเจอความจริงบ้าง ความ Rare บ้าง อะไรแบบนี้

เห็นว่าคุณถ่ายภาพนู้ดผู้ชายด้วย เริ่มสนใจงานนี้ได้อย่างไร
มันเริ่มมาจากพี่ได้ทำ Photo Nogrid ที่มีคอนเซ็ปต์คือให้ทุกคนเป็นตัวเอง และทุกคนมีมุมสวยงามเป็นของตัวเอง ถ่ายภาพแบบไม่ต้องจัด ไม่ต้องเซตเลย มันเกิดจากตรงนั้น ที่พี่สามารถถ่ายทุกคน ตอนอยู่บ้านล้างจาน เล่นกับหมา ไม่ต้องห่วงสวย พอทำได้ปีหนึ่ง มีแบรนด์หนังสือผู้ชายติดต่อมาว่าเขาอยากทำงานถ่ายภาพของผู้ชาย ที่มันดูจับต้องได้เหมือน Photo Nogrid บ้าง ก็เลยกลายเป็นว่าพี่ได้เข้ามาสู่พาร์ตของการถ่ายภาพผู้ชาย


ความยากของการถ่ายนู้ดผู้ชายคืออะไร
ผู้ชายถ้าเพอร์เฟ็กต์เกินไปนี่ ทำให้การถ่ายภาพนิ่งลำบากมากเลยนะ มันจะทำให้รูปดูแข็งแล้วคนดูก็รู้สึกว่ามันคือการโพสไปหมด มันเป็นการเซตไปหมด ทุกอย่างที่ดูตั้งใจ ก็จะสื่อออกมาในด้านของความเซ็กซี่ได้ยาก เพราะจริงๆ ความเซ็กซี่มันคือช่วงเวลาที่ไหลไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นการเซตอะไรเป๊ะๆ เพอเฟ็กต์ๆ เนี่ยมันจะยากตรงทำให้คนไม่รู้สึกถึงความเซ็กซี่นั้นจริงๆ จุดที่ยากที่สุดของภาพผู้ชายคือเส้นตรงกลางของความพอดี การหาจุดตรงกลางว่าความพอดี ความเซ็กซี่ของเขาอยู่ตรงไหน

“ทุกวันนี้พี่มีความสุขมากที่ได้จับกล้อง ทำงานมา 12 ปี จับกล้องทุกครั้งก็ยังตื่นเต้นทุกครั้ง ทุกครั้งที่ออกจากบ้านมาทำงานก็รู้สึกว่า ดีจังเลย วันนี้ได้ถ่ายรูปคนอีกแล้ว ได้ถ่ายรูปอีกแล้ว 12 ปีความตื่นเต้นยังเท่าเดิมมาตลอด”

ความเซ็กซี่ในมุมมองของคุณคืออะไร
ถ้าในการทำงานกับนายแบบ ความเซ็กซี่ของพี่มันคือการรักตัวเอง นายแบบที่รักตัวเอง ดูแลตัวเองสม่ำเสมอ การกิน การออกกำลังกาย พอเขามีชีวิตที่สมดุล มันจะฟ้องออกมาทางหน้าตา ผิวพรรณ รูปร่างอยู่แล้ว ซึ่งตรงนั้นคือความเซ็กซี่ที่เกิดขึ้นโดยที่คนคนนั้นไม่ต้องพยายามมาก

แล้วความโป๊หรือไม่โป๊ วัดกันที่อะไร
การเปิดเผยบางอย่างออกมาของผู้ชาย มันเป็นเรื่องของช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย ถ้าผู้ชายคนนั้นดูแลตัวเองดี จนถึงจุดที่อยากเก็บภาพตัวเองไว้ พี่คิดว่าช่วงเวลาที่เขาอยากจะเก็บภาพตัวเองไว้แล้วนั่นแหละ คือจุดที่ดีที่สุดของรูปร่างเขาแล้ว และการที่ผู้ชายที่ดูแลตัวเอง เปิดเผยทุกอย่างออกมาจนหมด มันก็จะกลายเป็นบอดี้หรือฟอร์มที่ไม่อนาจาร ซึ่งพอใส่แสงเงาลงไป มันก็จะยังคงเป็นงานศิลปะ

“ทุกครั้งที่ได้ถ่ายภาพ แล้วมีคนอยู่หน้าเลนส์ เราจะรู้สึกถึงโมเมนต์บางอย่าง พลังที่เขาส่งออกมาให้เรา แล้วเราก็ต้องจับจังหวะของพลังนั้นๆ ให้ได้ ซึ่งแต่ละคนจะออกมาไม่เท่ากัน”

งานถ่ายภาพนู้ดเติมมุมมองในฐานะช่างภาพได้อย่างไรบ้าง
ทุกครั้งที่พี่ถ่ายภาพผู้ชายหุ่นดีๆ มักจะมีคนมาสัมภาษณ์นายแบบเหล่านั้นด้วย พี่ก็จะได้เห็นว่าแต่ละคนพยายามมากเลย กว่าจะได้ซิกส์แพ็กมาแต่ละก้อน ได้เห็นว่าต้องใช้วินัยขนาดไหน วินัยที่สูงมากๆ ของนายแบบมันก็ให้แรงบันดาลใจกับพี่เหมือนกันว่าเราควรดูแลตัวเอง หรือรักตัวเองบ้าง เวลาเราเห็นคนหุ่นดีๆ พี่เชื่อว่ามันก็จะเป็นแรงให้เราอยากดูดีบ้าง ในแง่ของร่างกายมันดีอยู่แล้ว ยิ่งเราเห็นหุ่นดีๆ ของคน เราก็อาจอยากรักสุขภาพตัวเองมากขึ้นด้วย

เล่าเรื่องการทำงานในหนังสือ Rare Root ให้ฟังหน่อย
มันเป็นงานถ่ายภาพผู้ชายหนึ่งคน 180 หน้า เป็นการทำงานกันอย่างหนักทั้งช่างภาพ สไตลิสต์ ช่างแต่งหน้าทำผม ทุกอย่างเล่าคาแร็กเตอร์ของผู้ชายคนหนึ่งที่ดูแลตัวเองได้ดี เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นต่อๆ ไป เป็นจุดที่พี่ยังรู้สึกสนุกอยู่ และได้พบกับโจทย์ใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ อย่างวันนี้พี่ได้พี่ลินดา สไตลิสต์มือฉมังมาช่วยทำให้นายแบบผู้ชายของเรามีเลเยอร์ที่รู้สึกมองแล้วน่าสนใจไปทุกดีเทล ซึ่งการทำงานของสไตลิสต์ร่วมกับช่างภาพนี่ก็สำคัญ

“การที่ผู้ชายที่ดูแลตัวเอง เปิดเผยทุกอย่างออกมาจนหมด มันก็จะกลายเป็นบอดี้หรือฟอร์มที่ไม่อนาจาร ซึ่งพอใส่แสงเงาลงไป มันก็จะยังคงเป็นงานศิลปะ”

ช่างภาพยุคนี้กับยุคก่อนต่างกันแค่ไหน
พี่เป็นช่างภาพที่อยู่ในสองยุคนะครับ ทั้งยุคฟิล์มและยุคดิจิทัล รู้สึกว่าสมัยนั้นสมาธิมันมีมากกว่าเยอะเลย ที่จะต้องเตรียมตัวและมีสมาธิกับงานมากกว่า ดิจิทัลเนี่ย มันค่อนข้างไหลลื่นและปล่อยชิลล์ได้ มันก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน

ในยุคที่ใครๆ ก็ถ่ายภาพได้ อุปกรณ์กล้องไม่ได้เกินเอื้อม การคงอยู่ของช่างภาพยังจำเป็นอีกไหม
ในช่างภาพล้านๆ คน เราไม่ต้องไปสนใจใครเลย เหมือนแค่เรามี Passion กับภาพถ่ายบางอย่าง พอเข้าไปอยู่ในโลกของมันแล้ว เราแทบไม่ต้องสนใจใครเลย เราแค่รู้สึกกับงานตัวเอง ทำงานของเราให้ลึกไปเรื่อยๆ พี่ทำงานมา 12 ปี บางทีก็ค้นพบสิ่งใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ ในงานของตัวเอง ในโลกของตัวเอง ไม่ต้องไปคิดถึงคนอื่นมาก มันก็จะทำให้เราแตกต่างได้

คำว่าใครก็เป็นช่างภาพได้ ฟังแล้วมันก็ดูหลากหลายนะ ที่ใครๆ ก็สามารถเข้ามานำเสนอมุมมอง ความรู้สึกเกี่ยวกับภาพถ่ายได้ แต่กับงานอย่างภาพ Portrait เนี่ย ทุกอย่างมันแข่งกับเวลา ฟาดฟันกันด้วยข้อจำกัด มุมมอง ก็เลยกลายเป็นว่าช่างภาพอาชีพก็ยังจำเป็นและท้าทาย แม้จะมีช่างภาพอยู่เยอะก็ตาม

พี่มองว่าภาพถ่ายยังอยู่ไปอีกนาน เพราะภาพนิ่งเป็นพื้นฐานในการหยิบเรื่องราวมาเล่า ทั้งงาน Commercial งาน Art ภาพนิ่งยังจำเป็นอยู่ ช่างภาพอาชีพก็เลยจำเป็นอยู่ และมีที่ว่างให้กับคนใหม่ๆ อยู่เสมอ

มีเป้าหมายที่อยากจะไปให้ถึงไหม
ไม่มีเลยครับ ทุกวันนี้พี่มีความสุขมากที่ได้จับกล้อง ทำงานมา 12 ปี จับกล้องทุกครั้งก็ยังตื่นเต้นทุกครั้ง ทุกครั้งที่ออกจากบ้านมาทำงานก็รู้สึกว่า ดีจังเลย วันนี้ได้ถ่ายรูปคนอีกแล้ว ได้ถ่ายรูปอีกแล้ว 12 ปีความตื่นเต้นยังเท่าเดิมมาตลอด คือตื่นเต้นมาก น้องผู้ช่วยมักจะบอกเสมอว่า ใจเย็นๆ ในทุกครั้งที่ทำงาน เพราะมันยังตื่นเต้น ยังตื้นตันอยู่เสมอ ขนาดทุกคนพลังหมดกันแล้วทั้งกอง พี่ยังกระโดดโลดเต้นได้อยู่เลย ก็เพราะความตื่นเต้นกับงานที่ยังมีอยู่เสมอ

มีคำแนะนำให้ช่างภาพ Portrait รุ่นใหม่ๆ บ้างไหม
ออกไปเที่ยวครับ ไปเจอคนอื่นๆ ไม่ต้องอยู่แต่ในสตูดิโอ หรือถ่ายแต่รูปเพื่อนหรือคนที่เราชินอย่างเดียว ออกไปถ่ายคนที่ไม่รู้จัก คนที่น่าสนใจ เก็บภาพเหล่านั้นมา แล้วมันจะพาเราไปเจอกับงาน Portrait ที่แม้แต่เราก็ยังตื่นเต้นกับมันได้ครับ

]]>
เข้าครัวไปปรุงฝันกับ ‘กันน์-สรวิศ แสงวณิช’ ชายหนุ่มผู้ไม่เคยนิยามตัวเองว่าเป็นเชฟ https://marshomme.com/interview/1026/ Thu, 10 Jan 2019 16:31:00 +0000

ในวันที่คนมากมายตบเท้าเข้าครัว และเสิร์ฟตำแหน่ง ‘เชฟ’ ให้ตัวเองกันอย่างเนืองแน่น ชายหนุ่มผู้รักการทำอาหารคนหนึ่งกลับปฏิเสธว่าตนเองไม่ใช่เชฟ เขาเป็นเพียงคนทำอาหารที่ทำหน้าที่นั้นมาร่วม 8 ปี จากนิวยอร์กสู่ประเทศไทย จากเด็กยกถาด สู่หนึ่งในผู้เข้าแข่งขันรายการทำอาหารที่กำลังเข้มข้นอย่าง ‘Top Chef Thailand Season 2’ อะไรทำให้เขาไม่กล้านิยามคำว่าเชฟให้กับตนเอง และการจะก้าวไปถึงคำคำนั้น เขาตั้งใจฝึกฝนและปรุงฝันของตัวเองอย่างไร เรามาเข้าครัวไปด้วยกันกับ ‘กันน์-สรวิศ แสงวณิช’

“การได้เข้าไปอยู่ในครัวจริงๆ นั่นคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับผม”

เส้นทางของการเป็นเชฟเป็นมายังไง

ผมเริ่มต้นการทำอาหารจากตอนเด็ก ตั้งแต่ประมาณ 9 ขวบ จริงๆ ผมเคยเป็นเด็กอ้วนมาก่อนเพราะว่าชอบกิน ก็จะทำกินตามที่ตัวเองชอบ ชีสเยอะๆ ครีมๆ กินพาสต้าคนเดียวทั้งห่อเลย จนมาถึงช่วงที่ลดน้ำหนัก เริ่มทำอาหารคลีน ซึ่งแม้มันจะเป็นอาหารคลีนแต่มันสนุก เลยตัดสินใจว่าอยากทำอาหาร ตอนนั้นผมไปอยู่นิวยอร์กช่วง ม.ปลายแล้วก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรดีในชีวิต แต่พอดีพี่ชายของผมทำงานในร้านอาหารมาก่อนแต่เน้นเป็นขนม ผมเลยไปขอฝึกงานตอนอายุได้ 15 ปีตามร้าน Fine Dining แล้วชอบหลังจากนั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นให้ผมทำอาหารอย่างจริงจัง

ทำไมถึงตัดสินใจไปนิวยอร์ก

ตอนนั้นไม่อยากอยู่เมืองไทย แล้วพอดีพี่ชายอยู่เมืองนอก เขาเริ่มทำอาหารตั้งแต่ที่เมืองไทยแล้วก่อนจะย้ายไปอยู่ที่นู่น ผมก็คิดว่าอยากไปเรียนที่นู่นบ้าง ไปทำอะไรก็ได้เพื่อเรียนรู้ว่าตัวเองอยากทำอะไรในชีวิต ได้เปิดโลกกว้างได้ลองทำอาหารและพบว่าตัวเองชอบมันจริงๆ

แสดงว่าการเป็นเชฟ คือความฝันตั้งแต่เด็กเลยใช่มั้ย

การเป็นเชฟเป็นส่วนหนึ่งของความฝันตั้งแต่เด็ก คือที่บ้านชอบทำอาหารง่ายๆ ให้กิน พ่อชอบทำ แม่ชอบทำ ปกติเราจะกินข้าวที่บ้านกันบ่อยมากแทบทุกวัน ไม่ค่อยได้กินข้าวนอกบ้าน เลยรู้สึกว่ามันมีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน ได้ทำอาหารให้คนอื่น ทำให้รู้สึกดีเวลาเขากินอาหารที่ตัวเองทำแล้วอร่อย เป็นแบบนั้นมาตลอด

“การทำอาหารไม่ใช่มาจากการเรียนอย่างเดียว แต่มาจากการลงมือทำจริงด้วย มันคือการฝึกฝน การทำทุกวัน ทำจนชิน”

พอจะจำหน้าที่แรกที่ตัวเองทำในครัวตอนอยู่นิวยอร์กได้มั้ย

หน้าที่แรกของผมคือยกถาด ยกอาหารจากครัวที่อยู่ชั้นใต้ดิน อันนั้นคือสิ่งแรกที่ผมได้ทำ แล้วผมคิดว่าตัวเองคงไม่ได้ทำต่อ เพราะหน้าที่แรกๆ ก็ล้างจาน ปอกผัก ถูพื้น เป็นหน้าที่เล็กๆ ที่ต้องใช้ความอดทน ซึ่งผมทำสิ่งพวกนี้อยู่ประมาณเดือนกว่าๆ ผมเข้ามาทำงานที่ร้านทุกวันๆ จนเจ้าของร้านเห็นว่ามีความตั้งใจก็เริ่มให้ผมทำอะไรได้บ้าง

การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดในอาชีพเชฟคืออะไร

ผมรู้สึกว่าการทำอาหารไม่ใช่มาจากการเรียนอย่างเดียว แต่มาจากการลงมือทำจริงด้วย มันคือการฝึกฝน การทำทุกวัน ทำจนชิน ผมมีหนังสือทำอาหารทั้งหมดหลายร้อยเล่ม ผมอ่านสูตรและดูวิธีเทคนิคการทำไปด้วย แต่จริงๆ วิธีฝึกของผมคือผมพยายามไม่ทำงานแค่ร้านเดียวครับ ผมย้ายร้านไปเรื่อยๆ ในเวลา 7 ปี ผมย้ายร้านมาเกือบ 15 ร้าน ในนิวยอร์กประมาณ 5-6 ร้าน มีแค่ 2 ร้านที่ผมอยู่ประจำจริงๆ แล้วผมก็ขอร้านประจำลาหยุดเพื่อไปฝึกงานร้านอื่น คือผมก็เสี่ยงนะ เพราะถ้าหากระหว่างนั้นมีคนมาแทนที่ร้านเดิม ผมก็ตกงาน

“ผมพยายามทำงานให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้ทำงานเพิ่ม ทำให้มากที่สุดเพื่อจะได้เรียนรู้ให้มากที่สุด”

แล้วทำไมถึงยอมเสี่ยง?

เพราะผมจะได้เห็นการทำงานของแต่ละที่ว่าเป็นยังไง อาหารเขาเป็นยังไง การได้เข้าไปอยู่ในครัวจริงๆ นั่นคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับผมการไปอยู่หลายๆ ร้านมันได้เรียนรู้ความคิดของเชฟแต่ละร้าน ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม เพื่อให้ระหว่างเซอร์วิสออกมาราบรื่นที่สุด แล้วอาหารแต่ละร้านก็มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ผมไปเรียนรู้ ซึมซับจากสิ่งที่ผมเห็นจากตรงนั้น เขาสั่งอะไรมาผมก็จดและทำทั้งหมด ผมพยายามทำงานให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้ทำงานเพิ่ม ทำให้มากที่สุดเพื่อจะได้เรียนรู้ให้มากที่สุด ผมทำอันนี้เสร็จแล้วไปช่วยคนอื่น ผมได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ ถ้าจะอยู่ตรงจุดเดิมไปเรื่อยๆ เหมือนเดิมทุกวัน ผมก็ได้จะแค่นั้น แต่ถ้าผมทำงานเร็วขึ้น ได้เรียนรู้เขาเพิ่ม ผมก็ได้ความรู้เพิ่ม

แล้วทำไมถึงตัดสินใจกลับมาเปิดร้านที่เมืองไทย

ตอนนั้นผมอายุ 21 ปีพอดีพี่ชายผมเขาได้รับโอกาสมาว่าจะมีหุ้นส่วนมาทำร้านให้ เขาเลยชวนผมมาเป็นเชฟ ผมก็ลังเลนะว่าจะกลับมาดีมั้ย ใจจริงผมยังอยากเก็บประสบการณ์ในครัวเพิ่ม แต่สุดท้ายผมก็กลับมา ซึ่งเอาจริงๆ ผมรู้สึกว่ายังไม่พร้อมจะเป็นหัวหน้าคนเลย มองกลับไปผมรู้เลยว่าผมไม่ได้มีวุฒิภาวะอะไรขนาดนั้น แม้ผมจะเคยเป็นซูเชฟมาก่อนก็ตามซึ่งตอนนั้นผมเคยแต่สั่งคนได้แค่กลุ่มหนึ่ง ไม่ใช่สั่งคนทั้งหมด

แล้วการก้าวมาเป็นเชฟที่เป็นหัวหน้าคนจริงๆ เป็นยังไงบ้าง

ผมเครียดมาก เพราะผมเต็มร้อยมากกับงานนี้ ทำงานเจ็ดโมงเช้าถึงห้าทุ่มทุกวัน เป็นเวลาปีหนึ่งไม่มีวันหยุด ผมต้องทำเองทั้งหมด ต้องสร้างครัวขึ้นมา ดูร้าน เป็นคนเลือกคนทั้งหน้าบ้านหลังบ้าน ตั้งแต่เด็กเสิร์ฟ เมเนเจอร์ ผมต้องทำบัญชี ทำอะไรเองด้วย แต่อยู่ๆ วันหนึ่งร้านก็ต้องเปลี่ยนเจ้าของด้วยเหตุผลทางธุรกิจ ด้วยความที่ยังเด็ก ผมก็เลยรู้สึกว่า เราจะให้เต็มร้อยทำไม เราเหนื่อย แต่ไม่ได้อะไรคืนมา ผมรู้สึกแย่มาก จนอยากจะพักจากการทำอาหารไปช่วงหนึ่งเลย

“ตอนที่ผมกลับมาเปิดร้านที่เมืองไทย ผมอาจจะเป็นตำแหน่งเชฟ แต่ผมกลับไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นเชฟเลย”

จากวันนั้นถึงวันนี้ คุณคิดว่าตัวเองเป็นเชฟหรือยัง

ผมยังรู้สึกว่าตัวเองไม่ใช่เชฟ เพราะเชฟเป็นตำแหน่งที่สูงจริงๆ ครับ เป็นหัวหน้าคน แม้ว่าตอนที่ผมกลับมาเปิดร้านที่เมืองไทย ผมอาจจะเป็นตำแหน่งเชฟ แต่ผมกลับไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นเชฟเลย เพราะผมยังเด็กจริงๆ เวลาใครเรียกผมว่า ‘เชฟกันน์’ ผมก็จะแหยๆ หน่อย เพราะผมเป็นแค่คนทำอาหารที่สร้างเมนูให้คนอื่นกินเท่านั้น

แต่ในปัจจุบันนี้ ดูเหมือนว่าใครๆ ก็เป็นเชฟได้?

ผมเข้าใจว่าคนอื่นตีความว่าเชฟอาจจะเป็นแบบนี้ แต่สำหรับผม เชฟคือคนที่คนอื่นเคารพนับถือ ซึ่งผมก็ยังไม่รู้สึกว่าผมไปถึงตรงนั้น แม้ผมจะทำอาหารมา 7-8 ปีแล้ว ในขณะที่หลายๆ คนเรียนจบมาเขาก็เรียกตัวเองว่าเป็นเชฟแล้ว แต่เอาจริงๆ มันไม่ได้ง่ายเลย เราต้องเป็นหัวหน้าคนอื่น และทำให้คนมาเชื่อฟังเรา แค่เป็นหัวหน้าตัวเองก็ยังไม่ใช่เชฟนะครับ

แล้วคุณคิดว่า การเป็นเชฟหรือการเป็นหัวหน้าคนต้องมีองค์ประกอบอะไร

ต้องมีวุฒิภาวะที่ดีเป็นอย่างแรก มีความน่าเชื่อถือที่คนจะเคารพนับถือ มีความตั้งใจอดทน คือผมไม่รู้ว่าเมืองไทยเป็นยังไงนะ แต่เมืองนอกคือไม่มีทางที่จะทำงาน 8 ชั่วโมงแล้วจบ ต่ำๆ คือ 12 ชั่วโมง นั่นคือต่ำสุดที่ผมเคยทำมา นอกจากนั้นคือต้องมีลิ้นที่ดี ถ้าลิ้นไม่ดี รสชาติเพี้ยน ทำอาหารออกมายังไงก็ไม่อร่อย แล้วต้องมีความคิดสร้างสรรค์ คิดอะไรใหม่ๆ คิดว่าอันนี้เข้ากับอันนี้ได้ ให้คนที่มาทานมีความตื่นเต้นตลอดเวลา ให้รู้สึกดีทุกครั้งที่ทำอาหาร

“การเป็นนายแบบก็เปิดผมให้กว้างขึ้น คือถ้าผมไม่ได้ทำอะไรพวกนี้เลย ผมจะเป็นคนที่ปิดตัวเองมาก”

ดูเหมือนชอบการทำอาหารมาก ทำไมช่วงก่อนถึงเบนเข็มไปเป็นนายแบบ

ตั้งแต่ช่วงที่เกิดเรื่องร้านอาหารที่ไทย ผมอยากพักมากก็เลยต้องหาอย่างอื่นทำ แล้วช่วงนั้นมีคนชวนผมไปทำนายแบบ ผมก็เลยลองทำดู คือยังไงผมก็จะกลับมาทำร้านอาหารแหละ แต่ผมอยากลองหาเงินด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องทำร้านอาหารบ้างแล้วมีคนชวนไปเป็นนายแบบที่เกาหลีพอดี ผมเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่ผมจะได้ไปเก็บเงิน ไปทำงาน พักความเครียดที่เจอมา พอทำไปได้ไม่นานก็ได้มีโอกาสกลับมาเข้าประกวดรายการ The Face Men ที่เมืองไทยครับ

การเป็นนายแบบให้ประสบการณ์ที่เหมือนหรือต่างจากการเป็นเชฟยังไง

เอาจริงๆ มันไม่มีอะไรเหมือนกันเลยครับ (หัวเราะ) เชฟเป็นงานประจำที่ตัวเองเลือกทำเพราะความรัก แต่การเป็นนายแบบ สำหรับผม ผมคงไม่ทำมันไปตลอดชีวิต นายแบบเป็นอีกทางเลือกเวลาเราเครียด เราอยากเปลี่ยนไปทำสิ่งใหม่ๆ แต่การเป็นนายแบบก็เปิดผมให้กว้างขึ้น คือถ้าผมไม่ได้ทำอะไรพวกนี้เลย ผมจะเป็นคนที่ปิดตัวเองมาก เพราะการที่ผมทำอาหาร ผมไม่อยากคุยกับคน ผมไม่อยากเจอกับใครเลย วันๆ อยู่หน้าเตา หน้าเขียง ทำอาหาร จัดจาน เสิร์ฟ แต่การมาเป็นนายแบบทำให้ผมคุยกับคนง่ายขึ้น เข้าหาคนมากขึ้น ไม่งั้นผมคงเป็นคนที่ไม่อยากยุ่งกับใครเลย ไม่อยากปิดตัวเองอยู่คนเดียว

“ผมอยากทำอะไรที่ผมทำได้ดีจริงๆ และเป็นสิ่งที่ผมรักจริงๆ นั่นคือการเป็นเชฟ”

ก้าวต่อไปในเส้นทางอาชีพของตัวเอง คิดว่าจะทำอะไรอีกบ้าง

ยังไงก็คงอยากอยู่ในเส้นทางของเชฟไปเรื่อยๆ ก่อน เพราะผมอยากทำอะไรที่ผมทำได้ดีจริงๆ และเป็นสิ่งที่ผมรักจริงๆ นั่นคือการเป็นเชฟ และถ้ามีโอกาสผมอยากทำเป็นร้านป๊อปอัพ มากกว่าจะเปิดเป็นร้านจริงจัง เพราะการที่ผมมาแข่งรายการทำอาหาร (Top Chef) คงช่วยพิสูจน์แล้วว่า การทำอาหารเป็นสิ่งที่ผมรัก และการทำร้านป๊อปอัพคือการเปิดให้คนที่ได้ชมผมทำอาหาร ได้มาชิมของจริงบ้าง อาจมีการร่วมกับคนนั้นคนนี้ เพื่อพัฒนาตัวเองจนผมพร้อมที่จะเปิดร้านอาหารจริงๆ ครับ


]]>
ชีวิตที่ไม่มีคำว่า ‘เร็วไป-ช้าไป’ ของคุณพ่อลูกสาม ‘กาย รัชชานนท์’ https://marshomme.com/interview/1033/ Mon, 24 Dec 2018 16:16:00 +0000

การใช้ชีวิตแต่งงาน มีลูก สร้างครอบครัว อาจจะเป็นสิ่งที่ผู้ชายหลายคนอยากให้มาถึงในชีวิตช้าที่สุด แต่สำหรับ ‘กาย-รัชชานนท์ สุประกอบ’ กลับมองต่างออกไป สิ่งนี้ไม่ใช่ความน่ากลัวในชีวิต

เขาตัดสินใจอย่างแน่วแน่ มีชีวิตสร้างครอบครัว แต่งงานตั้งแต่อายุ 24 แม้หลายๆ คนในตอนนั้นก็ค่อนขอดว่าชีวิตรักของผู้ชายที่ถูกมองว่าแบดบอยในวันนั้น กับนักแสดงและพิธีกรสาว ‘ฮารุ สุประกอบ’ น่าจะไม่ยืดยาว น่าจะเป็นความรับผิดชอบที่มาถึงไวกว่าที่คิด แต่ระยะเวลาผ่านมาทั้งสองข้ามผ่านเรื่องราวดราม่า และพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขาออกแบบชีวิตและครอบครัวได้อย่างดีเยี่ยม กับสมาชิกตัวน้อยที่ตามมาอีกสองคน และความอบอุ่นที่เราเห็นได้ตามโซเชียลมีเดียของทั้งสอง และเพจ Facebook :Guy Haru Family

ทั้งหมดนั้นผู้ชายที่ชื่อกาย รัชชานนท์ พิสูจน์แล้วว่าชีวิตของผู้ชายคนหนึ่ง ไม่มีคำว่าเร็วไป-ช้าไป มีแต่สิ่งสำคัญคือการโฟกัสกับความสุขในปัจจุบันของชีวิต

“เราจะใช้ชีวิตแบบนี้ไปเรื่อยๆ เหรอ สนุกสนาน เสียเงินไปวันๆ กินเหล้าปาร์ตี้ กินจนมันแฮงก์ไม่เป็นแล้ว แล้วยังไงต่อ ผมตั้งคำถามกับชีวิต แล้วมันก็หมดสนุก คือคำว่าสนุกพอมันทำเรื่อยๆ ทุกวันๆ มันก็เริ่มไม่สนุกแล้วไง”

ในวัย 29 ปีสำหรับคุณมีเรื่องอะไรที่โฟกัสในชีวิตบ้าง
หลักๆ น่าจะเป็นเรื่องการใช้ชีวิตกับลูกและการทำงาน หลายๆ คนมักบอกว่าชีวิตผู้ชายจะคอมพลีตเมื่อมีครอบครัว แต่สำหรับผมมันไม่เกี่ยวกับการมีครอบครัว การมีลูก หรือแต่งงาน หรือการงานสำเร็จ ผมว่ามันแล้วแต่ตัวคุณเลย เพราะคำว่าคอมพลีตของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน อย่างเช่นบางคนรวยมากในสายตาของคนอื่นทั่วไป แต่เขาอาจจะคิดว่ามันไม่พอก็ได้ หรือบางคนที่มีลูกดูครอบครัวอบอุ่นมาก แต่เขาอาจจะยังไม่รู้สึกคอมพลีตก็ได้

แล้วตอนนี้ถ้าคอมพลีตเต็มสิบ คุณให้ชีวิตตัวเองเท่าไหร่
ผมให้อยู่ที่ประมาณเก้าเลยครับ อาจจะพูดได้ว่าผมไม่ได้หวังอะไรเยอะ โอเคถ้ามีเงิน มีชื่อเสียงมากกว่านี้ก็น่าจะดี แต่ทุกวันนี้ผมก็ว่ามันโอเคแล้วเราสามารถมีความสุขได้ ใช้ชีวิตได้ ใครจะไปรู้ถ้ามีเงินมากกว่านี้อาจจะทุกข์ก็ได้ เราอาจจะต้องทำงานนู่นนี่นั่น สละเวลาไปเที่ยวกับลูกไม่ได้ แต่ทุกวันนี้มันค่อนข้างลงตัวเลย ผมว่ามันโอเค

ทำไมคุณถึงศรัทธากับการมีครอบครัว เพราะผู้ชายปกติมักจะคิดว่าอยากใช้ชีวิตโลดโผนของวัยหนุ่มให้นานที่สุด
เพราะมันใช้ชีวิตแบบนั้นมาหมดแล้ว ผมเที่ยวตั้งแต่อายุสิบสี่ พ่อผมซื้อรถให้อยากไปไหนก็ไป อยากจะทำอะไรก็ทำ ปาร์ตี้ทุกวันไม่มีวันหยุดสามร้อยหกสิบห้าวัน แล้วมันก็ยาวไปเรื่อยๆ ผมก็เลยมีความรู้สึกว่าพอแล้ว เราจะใช้ชีวิตแบบนี้ไปเรื่อยๆ เหรอ มันก็โอเค สนุกสนานเสียเงินไปวันๆ กินเหล้าปาร์ตี้ กินจนมันแฮงก์ไม่เป็นแล้ว แล้วยังไงต่อ ผมตั้งคำถามกับชีวิต แล้วมันก็หมดสนุก คือคำว่าสนุกพอมันทำเรื่อยๆ ทุกวันๆ มันก็เริ่มไม่สนุกแล้วไง

คือถ้าคำว่าใช้ชีวิตให้สุดมันเป็นแบบนั้น อันนี้คือชีวิตผมสุดแล้ว คือชีวิตมันถึงจุดที่ไปเที่ยวทุกที่แล้วเจอแต่คนเดิมๆ ไปพรุ่งนี้ก็เจอไอ้คนนี้ วันถัดมาก็เจอไอ้คนนี้อีก เจอกันจนไม่รู้จะคุยเรื่องอะไรกันแล้ว ถ้าคนที่เที่ยวมาก่อนจะเข้าใจผม ก็เลยรู้สึกว่าพอแล้ว ถึงวัยที่ต้องหยุดแล้ว เพราะคนทั่วไปเขาเริ่มปาร์ตี้กันตอนอายุสิบเก้ายี่สิบ แต่ผมเริ่มสิบสี่ ถ้ามาหักลบกัน ผมแต่งงานตอนอายุยี่สิบสี่ คนอื่นแต่งงานอายุยี่สิบเก้าสามสิบ คือมันก็เร็วกว่าคนอื่นประมาณห้าปี ก็ปกติใช่ไหม

วันที่ตัดสินใจหยุดตัวเอง มันมีจุดเปลี่ยนไหม
ผมมานั่งทบทวนตัวเองแบบนี้แหละ ว่าตัวเองเบื่อชีวิตแบบนั้น ไปเที่ยวอีกแล้วเหรอ คือไปเพราะเพื่อนชวนไปแล้วอ่ะ แล้วไอ้เพื่อนที่ไปกับเราบ่อยๆ ก็ทยอยเลิกไปแล้ว ตอนนั้นชีวิตผมมีอยู่แค่ทำงาน ถ่ายละคร แล้วก็เที่ยว วนๆ อยู่แบบนี้ บางทีเราให้รถตู้มารับที่เที่ยวเลยนะ คือเที่ยวเสร็จไปถ่ายละครต่อ แล้วพอทำงานเสร็จก็ไปที่เที่ยวต่อเลย เราก็คิดว่าพอเหอะ มันเบื่อ เราทำอะไรอยู่วะ เริ่มไม่สนุกแล้ว

แล้วทำไมคำตอบถึงเปลี่ยนไปเป็นการมีครอบครัว เพราะผู้ชายบางคนเบื่อเที่ยวก็อาจจะไปโฟกัสกับความสำเร็จของหน้าที่การงานและชื่อเสียง
ถ้าถามถึงชื่อเสียงการงาน ในวัยนั้นผมก็มีอยู่แล้วประมาณหนึ่ง คือผมอาจจะไม่ได้โด่งดังที่สุดหรือมีชื่อเสียงที่สุด แต่ผมเป็นคนที่ไม่ว่าทำอะไรมันก็จะอยู่ระดับกลางๆ แบบนี้ (หัวเราะ) ซึ่งมันอาจจะเป็นคาแร็กเตอร์ของผมก็ได้ เพราะผมเป็นคนไม่เฟก ชอบก็ชอบ ไม่ชอบก็ไม่ชอบ ไม่อยากทำก็ไม่ทำ ซึ่งมันก็ออกมาในงานของเรา คือชื่อเสียงเรารู้สึกเฉยๆ กับมันแล้ว ผมทำงานในวงการบันเทิงมาปีนี้ปีที่สิบหก เราคิดว่ามันพอประมาณแล้ว

บวกกับผมเป็นคนที่ชอบเด็กอยู่แล้ว ผมอยากมีลูกตอนอายุน้อยๆ มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว คือไม่อยากมีลูกตอนแก่ เพราะแม่ผมก็มีผมตอนอายุน้อยๆ พ่อผมก็ยังไม่แก่มาก คือมันสนุกเวลาอยู่กับเขา ไปเที่ยวกัน แต่เรามองเพื่อนๆ คนอื่น โอ้โห พ่อแม่แทบจะใช้ไม้เท้าแล้ว มาถึงวันนี้ผมก็พาลูกผมออกเที่ยวทุกอาทิตย์เลย ไม่มีอาทิตย์ไหนที่ไม่ไป ถ้าเสาร์อาทิตย์ไม่มีทางเจอผมที่บ้าน เพราะไม่ไปเที่ยวต่างประเทศ หรือไม่ก็ต่างจังหวัดตลอด

“คนชอบถามผมเสมอว่าเร็วไปไหมเนี่ยมีลูก แต่งงาน คนจะบอกเลยว่าแต่งทำไมยังเด็กอยู่เลย มีลูกแล้วจะดูแลได้ยังไงเรายังเด็กอยู่เลย อะไรคือคำว่าเด็กอยู่เลย อะไรที่เด็กเกินไป อะไรคือเหมาะสมที่จะมีลูกได้ ไม่เห็นมีใครบอกผมได้”

มีคนเคยบอกไหมว่าคุณใช้ชีวิตเร็วไปหรือเปล่า
คนชอบถามผมเสมอว่าเร็วไปไหม เนี่ยมีลูก แต่งงาน คนจะบอกเลยว่าแต่งทำไมยังเด็กอยู่เลย มีลูกแล้วจะดูแลได้ยังไง เรายังเด็กอยู่เลย อะไรคือคำว่าเด็กอยู่เลย อะไรที่เด็กเกินไป อะไรคือเหมาะสมที่จะมีลูกได้ ไม่เห็นมีใครบอกผมได้สักคนเลยว่าผมมีลูกได้ตอนอายุเท่าไหร่ ก็มีสักสามสิบกว่าสิ ทำไมต้องเป็นแบบนั้นครับ โอ้ยเราจะได้มีเงินเก็บ อ้าวก็กูมีแล้วอ่ะ เฮ้ยเราจะได้เที่ยวไง ก็กูเที่ยวแล้วอ่ะ เราจะได้หาผู้หญิงได้ โอ้ยหาจนจะไม่รู้จะหายังไงแล้ว (หัวเราะ) อะไรคือเด็กเกินไป อะไรคือแก่เกินไป สำหรับผมแล้วมันคือเรามากกว่า ว่าเราพร้อมแล้วหรือยัง

แล้วการแต่งงานทำให้คนเราเป็นผู้ชายที่ดีขึ้นจริงไหม
ผมว่าไม่เกี่ยวเลยครับ การเป็นคนดีหรือการเป็นคนไม่ดี หรือการที่เราจะอยู่กับคนนี้ไปตลอดชีวิต ไม่เกี่ยวเลยครับ ผมบอกกับฮารุตลอดว่าเราจะเลิกกันวันไหนก็ไม่รู้นะ เพราะถึงแม้เราแต่งงานกันก็ไม่ได้แปลว่าเราต้องอยู่ด้วยกันไปตลอดชีวิต สมมุติว่าวันหนึ่งมันไม่เวิร์กขึ้นมาก็ต้องเลิก วันหนึ่งเขาอาจจะไม่ชอบเราก็ได้ หรือเราอาจจะไม่ชอบเขาก็ได้ใครจะไปรู้ แต่ถ้าวันนี้มันโอเคก็อยู่กันไปเรื่อยๆ แบบนี้ ผมอาจจะเป็นคนที่โฟกัสกับปัจจุบันมากกว่ามั้งนะ

การเลี้ยงลูกสไตล์คุณเป็นอย่างไร
มีคนมาพูดเยอะว่าผมเลี้ยงแบบนี้ควรเหรอ แต่ผมก็ไม่รู้หรอก คือคนเป็นพ่อแม่ก็อยากมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก แต่ผมก็พยายามไม่เลี้ยงเขาประคบประหงมเกินไป ให้เขาสามารถเรียนรู้จะทำอะไรได้เอง คือสำหรับผมจะไม่เลี้ยงลูกให้กลัวอะไรไปหมด คนเราเดี๋ยวนี้จะห้าม อย่านู่นอย่านี่ นั่นขี้โคลนมันสกปรก ผมโตมาก็เหยียบนี่ ไม่เห็นเป็นอะไร เรามีหน้าที่ที่จะดูแลความปลอดภัยของเด็ก แต่เราไม่ได้มีหน้าที่บังคับเด็กซ้ายขวาขึ้นลง เหมือนวิดีโอเกม ให้เขาได้ทำเอง แต่เราดูว่ามันปลอดภัยไหม

หรือตรรกะที่บอกว่าคนแก่กว่าต้องถูก ผมว่ามันไม่ได้หมายความว่าเด็กจะไม่ถูก แค่เพราะเขามีความคิดเห็นแตกต่างจากผู้ใหญ่ คนแก่บางคนดื้อกว่าด้วยซ้ำ ไม่ฉันอาบน้ำร้อนมาก่อนฉันรู้ เพิ่งทำงานมาห้าปีเอง ฉันนี่ทำงานมาสามสิบปีแล้ว ไม่เห็นจะเกี่ยวเลย

ที่ผ่านมาผู้ใหญ่เอาความกลัวของตัวเองไปครอบให้เด็กอยู่หรือเปล่า
ผมว่ามันคือเอาความผิดหวังของตัวเองมาใส่ไว้กับลูกมากกว่า เอาความผิดหวังที่อยากทำอยากเป็นแต่เราไม่ได้เป็นหรือไม่มีโอกาสทำมาใส่ไว้กับเขา เพราะเราจะได้ยินผู้ใหญ่ในประเทศไทยพูดเสมอว่าต้องเรียนให้ดีนะ เพราะตอนเด็กๆ พ่อแม่ไม่มีโอกาส ทั้งที่เราเรียนจบมาอาจจะไม่ได้ทำตามที่เรียน ไปเรียนไฟแนนซ์จบมาอยากถ่ายรูป ไปเรียนทำไมเรียนแค่ให้จบมาแล้วพ่อแม่ชมว่าเก่งมากเลย แต่ว่าไม่ได้มีแพสชั่น คนเราทำอะไรต้องมีแพสชั่น ถ้าเป็นผมสมมุติเขาบอกว่าอยากวาดรูป ก็วาดไปสิ อยากวาดก็วาดเลย ถ้ามีแพสชั่นนะ คือจะบอกให้เขาไปเรียนธุรกิจแต่เขาไม่ชอบ เขาก็ทำได้ไม่ดี แต่ถ้าให้เขาไปวาดรูปเขามีความสุข เขาทำได้ดี มันก็สามารถรวยกว่านักธุรกิจเยอะแยะ

พอมีครอบครัวแล้ว เวลากับเงินอันไหนสำคัญมากกว่ากัน
เวลากับเงินอันไหนสำคัญกว่ากัน พูดไม่ได้ครับ สำคัญทั้งคู่ ถ้าเอาโลกสวยก็เวลา แต่ถ้าจะเอาความจริงที่ไม่ควร มันก็คือเงิน แต่ถ้าจะเอาความเหมาะสมก็ต้องทั้งคู่ คุณไม่สามารถมีความสุขได้กับการที่คุณไม่มีเงินแม้สักบาทเดียว มันไม่มีความสุขหรอก โอ้ยลูกหิวข้าวจังเลย แต่เราไม่มีเงินให้เขากิน แต่อย่างน้อยเราก็มีเวลาให้ลูกนะเว้ย เวลากินไม่ได้ หรือเวลาอย่างเดียวก็พาเขาไปเที่ยวไม่ได้ แต่เงินอย่างเดียวก็ไม่ได้ช่วยอะไรเหมือนกัน ลูกเอาเงินไป มีความสุขกลับมานะ มันก็ไม่มีความสัมพันธ์ มันไม่มีอะไรที่มากเกินไปแล้วดีหรอกชีวิตนี้

“เมื่อก่อนเรานึกไม่ถึงหรอกว่าเราจะเป็นคนให้แบบนี้ แต่ไอ้การให้เขา สุดท้ายมันเหมือนกับว่าให้เรากลับมาด้วย ผมเห็นเขามีความสุข เราก็มีความสุข”

การมีลูกเปลี่ยนวิธีคิดคุณไปไหม
ผมว่าตัวผมเป็นแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แค่มันมีอะไรในชีวิตที่เปลี่ยนไป เพิ่มเข้ามา ผมก็เปลี่ยนไปเป็นอีกแบบหนึ่ง แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนเดิมคือผมเป็นคนทำอะไรทำสุด ทำงานก็ทำสุด เที่ยวก็เที่ยวให้สุด มีลูกก็มีให้สุด จะเที่ยวกับลูกใช้ชีวิตกับลูกก็ทำให้สุด คือเป็นเราคนเดิม คนที่เที่ยวสามร้อยหกสิบห้าวัน และก็คนที่ทำหน้าที่พ่อสามร้อยหกสิบห้าวันได้เหมือนกัน

แต่ถ้าจะพูดลึกลงไป หลักๆ มีอยู่สองอย่างที่ผมคิดเยอะขึ้น อย่างแรกคือเราต้องสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว มีที่มาของรายได้อย่างต่อเนื่อง และอีกอย่างคือรายได้ที่เข้ามาตรงนั้นทำยังไงให้ไม่กินเวลาที่เราจะอยู่กับเขาไป ผมพยายามจับสองสิ่งนี้มาเจอกันให้มากที่สุด มันคือการออกแบบชีวิต เราพยายามทำทุกอย่างให้อยู่กับครอบครัวได้มากขึ้น เราไปเที่ยวกันตลอด ผมก็ทำช่องยูทูบถ่ายรายการท่องเที่ยวกับลูก ทำให้เราได้เที่ยวตลอดจนแบบเมื่อก่อนพี่เลี้ยงกับคนขับรถทุกคนตื่นเต้นมาก แต่ทุกวันนี้เขาบอกว่าอาทิตย์หน้าไปไหนอีกเหรอคะ (หัวเราะ) แต่เด็กๆ เขาไม่เบื่อไง คือผมมีความสุขเวลาเห็นลูกมีความสุข ก็พยายามที่จะมอบความสุขตรงนั้นในวันที่เราทำได้ให้กับลูกๆ ตลอดเวลา มันเหมือนที่หลายๆ คนบอกว่าพอเวลามีลูกแล้ว วงโคจรของชีวิต งานครอบครัว มันก็จะหมุนอยู่รอบๆ ลูก

เมื่อก่อนคุณเป็นคนแบบนี้หรือเปล่า ที่พร้อมจะให้ใครสักคนแบบนี้
เมื่อก่อนเราไม่รู้ว่าจะให้ใคร คือพ่อแม่ผมเขาก็มีประมาณหนึ่ง เป็นเขาด้วยซ้ำที่ให้ผมมาตลอดเลย คือวันที่เราให้ได้เราก็อยากเป็นคนให้ คือเมื่อก่อนเรานึกไม่ถึงหรอกว่าเราจะเป็นคนให้แบบนี้ แต่ไอ้การให้เขา สุดท้ายมันเหมือนกับว่าให้เรากลับมาด้วย ผมเห็นเขามีความสุขเราก็มีความสุข

เราสนใจเรื่องความหมายของชีวิต คำนี้สำหรับคุณคืออะไร
ผมว่าเป้าหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราจะถูกสอนมาเป็นสเต็ปอยู่แล้ว เรียนให้เก่ง เข้ามหาวิทยาลัย ไปทำงานที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการเรียนเลย หลังจากนั้นก็ต้องไปเป็นเจ้าคนนายคน แล้วสุดท้ายกลับมาอยู่บ้าน ไปตายอยู่ที่ต่างจังหวัด สเต็ปชีวิตทุกคนถูกวางไว้แบบนี้ แต่สำหรับผม อะไรที่เรารู้สึกว่ามันดี มันมีความสุข เราก็อยากจะทำมันในตอนนี้เลย ในวันนี้ความสุขของผมคือการที่ได้เห็นลูกๆ มีความสุข

แต่ถ้าถามถึงความหมายของชีวิต ผมไม่รู้จริงๆ คืออะไร ผมรู้แค่ว่า ณ ตอนนี้ผมอยากมีความสุข อยากให้คนรอบข้างผมมีความสุข อยากที่จะช่วยเหลือคนให้ได้มากที่สุด ผมรู้แค่ว่าเราต้องทำอะไร ผมว่าทุกช่วงชีวิตมันสำคัญหมด ไม่มีทางเลยที่อยู่ดีๆ คนเราจะข้ามมาเป็นอีกคนแบบนี้ได้ ถ้าไม่ได้ผ่านเรื่องราวต่างๆ ในชีวิต มันต้องเรียนรู้ตัวเองไปเรื่อยๆ เราชอบอะไร ณ ตอนนี้ อยากทำอะไรก็ทำให้สุดเลยตอนนี้ แล้วพอถึงเวลาก็หาอะไรที่เรารักและมั่นคง และทำมันต่อไปเรื่อยๆ

]]>
“ถึงจุดหนึ่ง อย่าหลงว่าตัวเองเก่ง ทุกวันนี้ผมยังเรียนอยู่” ‘ทศวัชร โชติวงศ์’ Ableton Certified Trainer หนึ่งเดียวของไทย https://marshomme.com/interview/1088/ Wed, 17 Oct 2018 17:18:00 +0000
เผยเบื้องหลังโลกดนตรียุคใหม่กับ ‘นับ’ ทศวัชร โชติวงศ์ คนไทยหนึ่งเดียวที่ได้รับ Ableton Certified Trainer จากซอฟต์แวร์ทำเพลงอันดับหนึ่งของโลกอย่าง Ableton ซึ่งในอดีตเขาผ่านงานในวงการดนตรีมามากมาย ด้วยการเป็น Music arranger ให้ศิลปินและค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ทั่วประเทศไทย

ปัจจุบันเขาเป็นผู้บริหารและอาจารย์ที่ InEarBeat โรงเรียนสอนดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของเมืองไทย ซึ่งมีหลักสูตรมากมายสอนผ่านซอฟต์แวร์ Ableton Live ทั้งหลักสูตร Music arranging, Music Producing, DJ และ Live Performance นอกจากนี้ด้วยแพสชั่นทางดนตรีเขายังก่อตั้งค่ายเพลง MAdZ Entertainment ขึ้นมาอีกด้วยลองไปฟังทัศนคติต่อวงการจากคนดนตรีตัวจริงคนนี้ดูว่า วงการเพลงไทยกำลังอยู่ตรงจุดไหนของโลก

“เพลงของพวกมึงเป็นเพลงเฉพาะกลุ่มว่ะ เฮ้ยมันรุนแรงมากนะ คุณตามโลกไม่ทันหรือเปล่า อย่าเอาสิ่งที่เกิดขึ้นมาในอดีตมาเป็นตัวตัดสินสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตสิ”

เล่าให้เราฟังหน่อยว่า ซอฟต์แวร์ Ableton คืออะไรและมีอิทธิพลกับวงการดนตรีอย่างไรในยุคนี้

จริงๆ Ableton เป็นซอฟต์แวร์ดนตรีที่เกิดมาท้ายสุดหลังชาวบ้านเขาเลย อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆความพิเศษของซอฟต์แวร์ตัวนี้ คือผู้สร้างเขาเป็นนักดนตรีอิเล็กทรอนิกส์มิวสิกซึ่งแต่ก่อนเวลาไปโชว์เขาต้องยกเครื่องมืออะไรไปเยอะแยะเลย จนเขาบอกว่าไม่อยากยกแล้วเพราะมันหนักมากเลย เขาก็เลยคิดว่างั้นลองสร้างซอฟต์แวร์มาตัวหนึ่งสิ ที่มันจำลองอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในการฟังเพลงและการแสดงสดต่างๆเอาไว้ในนั้น ซึ่งกลายเป็น Ableton ขึ้นมา และเป็นซอฟต์แวร์อันเดียวในโลกตอนนี้ที่ทำเพลย์ลิสต์โปรดักชั่นได้ครบทุกวงจร สามารถเล่นดีเจได้ สามารถแสดงสดได้ ซึ่งที่เราเห็นวงต่างๆ เล่นสดตามคอนเสิร์ตทุกวันนี้ แทบทั้งหมดใช้ Ableton ในการรันคอนเสิร์ตทั้งหมดเลย ซึ่งซอฟต์แวร์ตัวนี้สามารถทำทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเสียงได้หมด หรือแม้กระทั่งการตัดต่อ การจัดไลติ้งในโชว์ก็ทำได้ขอให้คุณจินตนาการเสียงอะไรก็ได้ Ableton สามารถทำได้ทุกอย่าง

แล้วคุณกลายมาเป็น Ableton Certified Trainer ได้อย่างไร

ผมไม่ได้เรียนด้านดนตรีมาด้วยซ้ำครับ จบเอกประชาสัมพันธ์คณะนิเทศศาสตร์มา (หัวเราะ) ถามว่าอยากเรียนดนตรีไหม อยากเรียน แต่ว่าค่าเรียนดนตรีมันแพงมาก เราเลยอยากช่วยพ่อแม่ด้วย เราอยากได้อาชีพที่สองที่ไม่ใช่ดนตรี แต่ก็เล่นดนตรีมาเรื่อยๆ นะ จนพอจบมหาวิทยาลัยปุ๊บ เราบอกพ่อแม่เลยว่าขอเวลา 1 ปีในการหางานเกี่ยวกับดนตรีที่เราชอบ มันเหมือนเราอึดอัด อยากทำเพลงมาตลอด อยากเป็นศิลปิน ตอนนั้นไปเสนอเพลงที่ค่าย Spicydisc ทุกอย่างโอเคแล้ว ค่ายตกลงทุกอย่าง แต่ก็มีปัญหากับทางวงนิดหนึ่ง เพื่อนที่เล่นด้วยกันอยู่ๆเขาก็ไม่ทำ ก็เลยหันมาทำงานเบื้องหลัง ไปเป็น Music arrangers แบบฟรีแลนซ์ทำหน้าที่เรียบเรียงเพลง ไปทำกับทุกค่ายเลยครับใครชวนก็ไปทำ อย่างลุลาอัลบั้มแรกก็เป็นเราที่ทำ แล้วไปทำค่ายใหญ่ๆ อย่างอาร์เอสบ้าง

จนทำไปสักพัก เรารู้สึกว่าอยากเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เพิ่มเติม ซึ่งงานในฐานะ Music arrangers กำลังไปได้ดีเลยนะ แต่เรารู้สึกว่ามีจังหวะก็ไปดีกว่า เพราะตอนนั้นพี่ชายไปอยู่ที่อเมริกา เราให้ไปเรียนดนตรีอิเล็กทรอนิกส์มิวสิกที่นั่น อยู่ไปอยู่มาอยู่เกือบ 5 ปี (หัวเราะ) มันเหมือนกับว่าอยู่ที่นู่นเรามีความสุขมาก เราได้เรียนดนตรีอย่างที่เราอยากเรียน จนพอเรียนจบเราตัดสินใจแล้วแหละว่าอยากจะเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่นู่น แต่ตอนนั้นเขาบอกว่าคนที่จะสอนโปรแกรม Ableton ได้ต้องสอบใบอนุญาต Ableton Certified Trainer ก่อน ซึ่งกฎตอนนั้นก็เข้มงวดมากกำหนดเลยว่าคนที่จะมีสิทธิ์สอบเป็นเทรนเนอร์ต้องมีประสบการณ์สอนดนตรีไม่ต่ำกว่า 3 ปี ตอนนั้นเรารู้สึกว่า เอ้า แล้วเราจะสอนยังไง ก็ที่นั่นไม่ให้สอนถ้าไม่มีใบรับรอง (หัวเราะ) เราวางแผนว่าจะต้องบินกลับมาเมืองไทยเพื่อสอนดนตรีที่นี่


แต่ย้อนไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ในเมืองไทยมีคนสนใจอิเล็กทรอนิกส์มิวสิกเหรอ

ตอนนั้นคนไทยยังไม่รู้จักอิเล็กทรอนิกส์มิวสิกเลยว่าคืออะไร เฟสติวัล EDM แบบนี้ก็ไม่มี ทุกอย่างเป็นของแปลกมากสำหรับคนไทย ซึ่งพอเรากลับมาก็วิ่งไปที่ค่ายเพลงก่อนเลย เอาแนวเพลงไปเสนอเพราะอย่างน้อยๆ เราคิดว่าถ้าขายผ่าน จะได้มีอะไรทำไปพลางๆ พร้อมเปิดสอนไปด้วย แต่กลายเป็นว่าเราเอาซาวด์แบบ Dubstep แบบ Skrillex ไปเสนอเขาเลย โปรดิวเซอร์เขาก็บอกว่ามันแปลกๆ นะ (หัวเราะ) พอเจออย่างนี้เราเริ่มรู้ชัดแล้วว่าการไปกับค่ายไม่ใช่ทางเราแล้วแหละ เลยมาตั้งใจทำโรงเรียนอย่างจริงจังเลยดีกว่า

ตอนนั้นเริ่มเปิดโรงเรียนง่ายๆ ที่บ้านก่อน เริ่มตั้งแต่วางหลักสูตร สอนอย่างไรควรจะมีอุปกรณ์การเรียนอะไรบ้าง เราพยายามจะจำลองอุปกรณ์การเรียนที่เราเรียนเมืองนอกมาไว้ที่นี่เลย จนสอนไปได้ครึ่งปีเราก็คิดว่างั้นขยับมาที่ปากซอยอารีย์ตรงนี้เลยดีกว่า กลายเป็นโรงเรียน InEarBeat ทุกวันนี้สอนไปสอนมามีคนเรียนเยอะๆ เราก็มาคิดว่าเราจะไปสอนที่เมืองนอกอีกทำไมวะเนี่ย ตัดสินใจทำโรงเรียนที่นี่ต่อแต่ไปสอบจนได้ในอนุญาตมา

เห็นว่าการสอบมีเปอร์เซ็นต์ที่ได้น้อยมากๆ บรรยากาศตอนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง

ด้วยความที่โปรแกรมนี้มันสามารถทำได้ทุกอย่างตั้งแต่แต่งเพลงยันแสดงสด ทำให้ผู้สอนต้องรู้ทุกเรื่องไม่ใช่แค่ฉันเคยเป็นคนทำเพลงแล้วฉันมาสอนได้เราต้องรู้เรื่องซาวด์ดีไซน์ รู้เรื่องการแสดงสด การเล่นดีเจ การทำเพลง มันเลยส่งผลให้การสอบไม่เหมือนการสอบทั่วไป ซึ่งเป็นการสอบคัดจากคนทั้งโลก และทั้งปีเขาเปิดแค่รอบเดียว ซึ่งบางปีเขาไม่เปิดด้วยนะถ้าเขารู้สึกว่าคนสอนเขาเยอะแล้ว (หัวเราะ) ซึ่งตอนนี้ผมเป็นคนไทยคนเดียวที่มีใบอนุญาตโปรแกรมนี้ และปัจจุบันโรงเรียนของผมกลายเป็นเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ของเขารู้สึกว่ามีไม่ถึงห้าที่ในเอเชียมีอุปกรณ์และหลักสูตรทุกอย่างเหมือนที่ผมเคยเรียนที่ต่างประเทศเลย

“คุณต้องไปถามคนฟังก่อนว่าเขาอยากฟังอะไร เพราะเราไม่สามารถเอาคนฟังลูกทุ่งมาฟังเพลงป๊อป เราไม่สามารถเอาคนฟังเพลงป๊อปมาฟังเพลงลูกทุ่งได้ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ที่ไหน เอาจุดที่คุณอยู่ก่อน”

มาพูดถึงเรื่องดนตรีกันบ้าง การมาถึงของอิเล็กทรอนิกส์มิวสิกเปลี่ยนทัศนคติของคนในวงการเพลงไปแค่ไหน

มันเป็นการทำให้ทุกคนที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังตื่นตัว ทำให้เห็นว่าวันนี้ถ้าคุณจะทำเพลงก็ไม่จำเป็นต้องไปอยู่ในสตูดิโอใหญ่แล้ว ที่คุณเห็นคนนั่งกดคอมพ์เล่นๆ ในห้องนอน นั่นคือสตูดิโอของเขาการทำเพลงวันนี้มันไม่ได้จำกัดโอกาสในเรื่องของอายุและความสามารถอีกต่อไปแล้ว ทุกคนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ และมันรองรับถึงขั้นที่คุณไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานทางดนตรีเลย คุณก็สามารถทำเพลงได้แล้ว นี่คือคอนเซ็ปต์หลักของโรงเรียนผมเลย ไม่ต้องมีพื้นฐานดนตรีคุณก็สามารถทำเพลงได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นหมอ เป็นพยาบาล เป็นนักการเมือง ที่ผมพูดมานี่เคยเป็นนักเรียนของผมมาหมดแล้วนะครับ (หัวเราะ) มันหลากหลายมาก

คือมันรองรับคนที่อยากทำ เขาอาจไม่มีความรู้เรื่องดนตรี แต่ว่าเขามีอะไรอยู่ในหัว และอยากเอาออกมา ซึ่งซอฟต์แวร์มันพาเขาไปถึงขนาดนั้น บางทีเราเห็นเด็กตัวเล็กๆ ทำเพลงเล่นๆ ลองไปฟังดูดีๆ จะรู้ว่าไม่ธรรมดาเลยนะฮะ เทคโนโลยีมันก้าวกระโดดไปเร็วมาก ซึ่งศิลปินอย่างพี่ป๊อดพี่เมธี โมเดิร์นด็อกก็มาเรียนที่นี่ หรือพี่เป็กวงซีล พี่บี พีรพัฒน์ พี่ๆ ศิลปินเหล่านี้เขาไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก พวกเขาเป็นฮีโร่ของเราสมัยเด็กๆ หมดเลยนะ เรารู้สึกตื่นเต้นที่พี่ๆ เขาสนใจเรื่องนี้และเขาอยากเอาไปพัฒนางานเพลงต่อ เรายังจำได้วันที่โมเดิร์นด็อกออกอัลบั้มคาเฟ่ที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์มิวสิกขนาดนั้น ถ้าเป็นเทคโนโลยีในวันนี้ มันจะสุดยอดขนาดไหน

ฟีดแบ็กจากพี่ๆ ศิลปินที่มาเรียนเป็นอย่างไรบ้าง

เขาบอกว่ามันเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้จินตนาการของเขามันง่ายขึ้นกว่าเดิมเยอะ จากแต่ก่อนเวลาเขาจะเอาจินตนาการของตัวเองออกมา เขาต้องไปสตูดิโอ ไปใช้เครื่องมือต่างๆ แต่ตอนนี้เขาสามารถทำทุกอย่างได้ที่คอมพิวเตอร์ตัวเองเครื่องเดียว

แล้วความง่ายมันจะมาพร้อมกับความมักง่ายในวงการเพลงหรือเปล่า

จริงๆ แล้วมันอยู่กับสิ่งที่เราปลูกฝังให้กับนักเรียนของเรามากกว่า ถามว่าความมักง่ายมีไหม มันเต็มไปหมดเลยฮะในเพลงที่เด็กๆ ทำ แต่จริงๆ แล้วลึกๆ ในนั้นผมไม่อยากเรียกว่าความมักง่ายหรอกแต่ดนตรีมันเป็นเรื่องของไอเดียมากกว่า เขาอาจจะไม่รู้ทฤษฎีเล่นเครื่องดนตรีไม่เป็น แต่ว่าเขาทำออกมาได้ดีไง คนรู้ทฤษฎีก็เหมือนปกป้องตัวเอง ว่าทำอย่างนี้จะมักง่ายไหม แต่ไม่ต้องห่วงเราปล่อยเขาทำตามไอเดียไปก่อน แล้วทฤษฎีค่อยมาเสริมกันทีหลังได้ ถ้าวันนี้เขาทำดีแล้ววันนี้เขามีทฤษฎีมาเสริม มันยิ่งดีกว่าเดิมสิ แต่ถ้าวันนี้เขามีทฤษฎีแต่ไม่มีไอเดีย อันนี้สิยากกว่า ผมว่าในอนาคตสิ่งสำคัญที่ควรสอนเด็กๆ ในมหาวิทยาลัยในห้องเรียน คือการเปิดโอกาสไอเดียและให้พื้นฐานเขา สองสิ่งนี้เอง ให้ความสำคัญกับคำว่าพื้นฐาน สิ่งที่เหลือให้เขาไปต่อยอดเอาเอง

มีความเข้าใจอะไรผิดๆ เกี่ยวกับดนตรียุคใหม่อีกไหม

ผมเคยพานักเรียนที่สอนไปแข่งดนตรีแล้วเอาอุปกรณ์ที่เขาไม่เคยเห็นพวกนี้ไปเล่น ก็โดนฟีดแบ็กกลับมาว่าเพลงของพวกมึงเป็นเพลงเฉพาะกลุ่มว่ะ เฮ้ยมันรุนแรงมากนะ คุณตามโลกไม่ทันหรือเปล่า อย่าเอาสิ่งที่เกิดขึ้นมาในอดีตมาเป็นตัวตัดสินสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตสิ ผมมองว่าถ้าผู้ใหญ่ทุกวันนี้เปิดใจและลองเข้ามาดูกันสักนิดว่าเกิดอะไรขึ้น มันมีอะไรน่าสนใจเยอะมาก บางอย่างเป็นองค์ความรู้ในอดีตจริง แต่มันมีของใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเยอะมาก อย่าเอาอายุหรือประสบการณ์มาเป็นตัวกั้น ทุกวันนี้ผมเองก็ยังเรียนอยู่เลยฮะ

จริงๆ เสน่ห์ของดนตรีมันคือการไม่ไปตัดสินรสนิยมของคนอื่นหรือเปล่า แต่คนไทยชอบตัดสินกันเหลือเกิน

ผมว่ามันเป็นธรรมชาติของอุตสาหกรรมดนตรีของไทยมากกว่า ที่ถูกสร้างและปลูกฝังมา แต่ถามว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมามันดีไหม ในแง่มุมหนึ่งมันดี เพราะว่าในอดีตระบบพวกนี้ทำให้เรามีเพลงไทยป๊อปดังๆ มากมาย แต่ระบบนั้นมันไปสร้างความฝันทางดนตรีในอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้คนคิดว่าต้องเข้าไปที่ค่ายเพลง ต้องออกอัลบั้มเท่านั้นถึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งมันก็ดีที่ทำให้เกิดระบบมืออาชีพ และมาตรฐานให้เกิดขึ้นในวงการ เพราะถ้าคุณไม่มืออาชีพพอคุณจะไปถึงจุดนั้นไม่ได้

แต่กลับกันในวันนี้พอมีอุปกรณ์ที่คนทำเพลงได้เอง สามารถส่งเพลงไปถึงผู้ฟังได้ด้วยตัวเองมันไม่มีตรงกลางแล้ว แต่มันก็ทำให้เราอยู่ในยุคที่มีเพลงที่ดีและไม่ดีผสมกัน ซึ่งบางทีเพลงที่ไม่ดีมันดันมีบางจุดที่ไปกระแทกใจคนฟังเลยดัง ข้อเสียคืออย่าให้คนฟังคิดว่าเพลงไม่ดีพวกนี้คือมาตรฐาน มันจะทำให้คนที่ทำมาตรฐานดีๆ หมดกำลังใจจะทำ อันนี้ผมต้องขอพูดในเรื่องการก๊อปเพลงจากต่างประเทศนะ ซึ่งเราเห็นว่ามีเยอะมาก แล้วพอถูกจับได้ก็บอกว่า ขอโทษครับรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผมจะลบเพลงละกัน แต่พอลบเพลงไปแล้ว เพลงมันดังไปแล้ว ร้านเขาก็จ้างแล้ว มันกลายเป็นความมักง่ายไปแล้วนะในวงการเพลง

เราอยู่ในโลกที่ง่ายและเร็ว มีคนสำเร็จล้มเหลวเป็นรายวินาที คนทำเพลงทุกวันนี้ควรจะจัดการตัวเองอย่างไร

มันอยู่ที่การตั้งเป้าเลย ว่าเราทำเพลงขึ้นมาเพื่ออะไร เราจะสร้างรายได้จากมัน หรือเป็นที่ปลดปล่อยแรงบันดาลใจของเรา เพราะถ้าคุณทำเพื่อแรงบันดาลใจ ก็อย่าไปตัดพ้อเรื่องยอดวิว ทำไมเราทำเพลงดีขนาดนี้ไม่มีคนฟัง อย่าไปตัดพ้อ แต่ถ้าอีกครึ่งหนึ่งคุณอยากทำเพลงให้คนฟัง คุณต้องไปถามคนฟังก่อนว่าเขาอยากฟังอะไร เพราะเราไม่สามารถเอาคนฟังลูกทุ่งมาฟังเพลงป๊อป เราไม่สามารถเอาคนฟังเพลงป๊อปมาฟังเพลงลูกทุ่งได้ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ที่ไหน เอาจุดที่คุณอยู่ก่อนวันนี้คุณอยู่กรุงเทพฯ คุณก็ลองทำเพลงให้คนกรุงเทพฯ ฟังก่อน ถ้าคุณอยู่อีสาน คุณรู้ไหมว่าแต่ละภาคเขามีบีทของเขานะ ถ้าคุณเลือกอีสานใต้ คุณก็เลือกทำบีทให้คนอีสานใต้ฟัง แบบนี้ได้ไปงานวัดทุกวัน คนอีสานใต้เขาก็จ้างคุณตลอดนั่นแหละ

แล้วค่ายเพลงจำเป็นแค่ไหนในยุคนี้เพราะปัจจุบันคุณเองก็มีค่าย MAdZ Entertainment ของคุณเองด้วย

ถามว่าปัจจุบันค่ายเพลงจำเป็นไหม ผมพูดในฐานะคนที่เคยผ่านการทำงานกับค่ายใหญ่มา และทุกวันนี้ก็เปิดค่ายเพลงของตัวเองนะ คือเมื่อก่อนตอนที่เทคโนโลยีเปลี่ยนผ่าน ผมเข้าใจว่าค่ายเพลงเริ่มไม่จำเป็นแล้วนะ แต่จริงๆ มันจำเป็นบางคนเป็นเน็ตไอดอลทำเพลงเอง มันจะไปได้ถึงจุดเดียว เขาจะดังได้แค่ในโซเชียล แต่เขาไม่สามารถดังออกไปนอกวงของเขาได้ ซึ่งค่ายเพลงต่างๆ ก็จะมาซัพพอร์ตตรงนี้ จะทำยังไงให้คุณออกจากวงโซเชียลมาสู่วงอื่นๆ ได้ ผมว่าค่ายเพลงก็คือที่ปรึกษา สำหรับคนที่มีเพลงอยู่แล้วและอยากให้เพลงนี้กระจายไปสู่วงนอก หรือใครที่ร้องเพลงเป็น แต่ทำเพลงไม่ได้ หรือคุณไม่มีงบประมาณในการสร้างงานต่างๆ ค่ายเพลงก็ช่วยคุณตรงนี้ได้ ค่ายเพลงจึงจำเป็น และในขณะเดียวกันเราแค่เป็นพี่เลี้ยงเขา ให้เขาประสบความสำเร็จ และมันจะเป็นความสำเร็จร่วมกัน ผมเลยตัดสินใจเปิดค่ายเพลง ในทางกลับกัน ถ้าค่ายเพลงล้มหายตายจาก นั่นหมายความว่า เพลงดีๆ จะไม่มีวันส่งถึงคนบางคนแน่นอน

“โอกาสจะไม่รอคุณ พรุ่งนี้โอกาสอาจจะไม่มาเลยก็ได้ และมันจะไม่มานั่งถามว่าคุณทำได้หรือเปล่า เพราะถ้าคุณทำไม่ได้โอกาสนั้นจะเดินผ่านคุณไปเลย”

กลัวการแข่งขันในอุตสาหกรรมดนตรียุคนี้ไหม

ผมไม่เคยกลัวเลยว่าวันนี้จะมีคู่แข่งเกิดใหม่ เพราะผมคิดใหม่ทำใหม่ทุกวัน เพราะโรงเรียนนี้มันเริ่มจากไอเดียใหม่ และมีใหม่ทุกเดือนทุกปี มีการปรับหลักสูตรทุกปี ใครจะมาก๊อปเราก็ไม่กลัว เพราะไอเดียเราไม่มีวันหมด ถ้าคนก๊อปเขาก็จะได้แค่ก๊อป เราทำของเราใหม่ไปเรื่อยๆ เหมือนกันกับค่ายเพลง ผมรู้สึกว่า มันยังมีช่องทางที่คนไม่เห็นอีกเยอะ ใครจะไปรู้ว่า พวกแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่สร้างมาอย่างเฟซบุ๊ก เขารู้ไหมว่าเขาจะรวย หรือแกรบไบค์ ไม่มีใครรู้หรอก แต่เขากล้าคิดและกล้าทำ

ประสบการณ์ในวงการดนตรีที่ผ่านมาให้อะไรกับคุณบ้าง

มันสอนให้เราต้องหาความรู้เยอะๆ อย่าคิดว่าเรารู้แล้ว อินเทอร์เน็ต กูเกิลไม่ได้บอกทุกเรื่อง ผมโชคดีที่ได้เห็นสังคมสองรูปแบบ น้องๆ หลายคนอาจจะเห็นสังคมรูปแบบเดียวเลยคิดว่าสิ่งอยู่ในโซเชียลคือทุกอย่าง ผมเคยนั่งอยู่ในห้องอัดเป็นเดือนๆ โดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย แต่เราได้เห็นสิ่งที่หนังสือเรียนไม่ได้บอกเยอะมาก เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้เราได้รู้จักกับพี่ๆ นักดนตรี ไปตามติดเขาเลยครับ ไปเรียนรู้จากเขาเลย หรือถ้ามีโอกาสทำ ก็ทำเลย

แต่สิ่งที่อย่าลืมคือ โอกาสไม่ได้มาตลอดเวลา อย่าไปคิดว่าฉันจะรอไป 1-2 ปี แล้วครั้งหน้าค่อยทำให้มันดี เพราะโอกาสจะไม่รอคุณ พรุ่งนี้โอกาสอาจจะไม่มาเลยก็ได้ และมันจะไม่มานั่งถามว่าคุณทำได้หรือเปล่า เพราะถ้าคุณทำไม่ได้โอกาสนั้นจะเดินผ่านคุณไปเลย ผมว่าชีวิตเรามีโอกาสไม่เกิน 2-3 ครั้งหรอก ผมเคยมีโอกาสและก็เคยเสียมันไปแล้วครั้งหนึ่งซึ่งมันก็เกินพอแล้ว อย่าให้คนรอบตัวหรืออะไรมาปิดกั้นเรา เราคิดแล้วต้องทำเลย ทุกอย่างอยู่ในคอมพ์แล้ว ลุยเลย ทำเลย และถึงจุดหนึ่ง อย่าหลงว่าตัวเองเก่ง ทุกวันนี้ผมยังเรียนอยู่

]]>
“หนังเกย์ไม่ใช่หนังโป๊” เปิดชีวิตผู้กำกับอิสระ ‘บูม พลัฏฐ์พล’ https://marshomme.com/lifestyle/1104/ Wed, 03 Oct 2018 15:08:00 +0000
เส้นทางภาพยนตร์ LGBT ของไทยอาจไม่ได้สดใสเหมือนชาติอื่นๆ แต่ก็ใช่ว่าจะมืดมนเสียทีเดียว หลายปีมานี้เรามีหนัง LGBT ได้ครองโรงฉายอยู่ไม่น้อย จากมุมมองของผู้กำกับที่นำเสนอความรักในอีกรูปแบบหนึ่งผ่านจอหนัง หนึ่งในนั้นคือผู้กำกับหนุ่ม ที่เคยเล่าเรื่องราวของสองคุณพ่อกับหนึ่งเด็กชายวัยซนบนแผ่นฟิล์มอย่างเรื่อง FATHERS มาวันนี้ ในห้วงเวลาแห่งการเติบโตที่มากขึ้น เราจึงชวนคุณซื้อตั๋ว เพื่อมาชมหนังอีกเรื่องของเขา แต่คราวนี้ไม่ใช่ผลงานผ่านหน้าจอ หากเป็นชีวิตจริงที่ว่าด้วยความรัก และคนของความรัก ของ ‘บูม-พลัฏฐ์พล มิ่งพรพิชิต’

“ไม่ว่าจะเป็นหนังหรือละครชายหญิง ซีรีส์วาย หรือหนัง LGBT แต่ทั้งหมดทั้งมวลกำลังเล่าเกี่ยวกับความรักของมนุษย์ กำลังเล่าถึงมนุษย์ที่มีจิตใจ ไม่มีอะไรต่างกัน”

อะไรทำให้คุณตัดสินใจเลือกเรียนทางด้านภาพยนตร์

จริงๆ ผมเป็นคนชอบเล่าเรื่อง และบอกตัวเองตั้งแต่เด็กๆ ว่าอยากเป็นผู้กำกับ แต่ระหว่างทางก็มีเขวบ้าง อยากเป็นสถาปนิก อยากเป็นนักการเมืองด้วยซ้ำ แต่พอผมรู้จักแฟนผม (วอร์ม) ตอนม.6 เขาก็กลายเป็นทั้ง passion และ inspiration เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราชัดเจนกับตัวเอง เขาผลักดัน ให้คำปรึกษา และทำให้ผมเลือกเรียนภาพยนตร์ในที่สุด แต่พอเข้าไปจริงๆ ก็รู้ว่าการเป็นผู้กำกับมันไม่ใช่เรื่องง่าย คือรุ่นผม 200 กว่าคนในคณะ มีคนที่เก่งกว่าผมมากมาย ผมก็ไม่รู้สึกว่าจะไปสู้อะไรเขาได้ แล้วผมไม่ใช่คนชอบสู้กับใคร ไม่ชอบแข่งกับใครนอกจากตัวเอง ผมเลยไปลองทำอย่างอื่น ทั้งแฟชั่น ออแกไนเซอร์ ลองทำอยู่สักพักหนึ่ง แล้วก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่ ตอนนั้นแฟนได้งานแล้วแต่เรายังไม่ได้งาน เราก็รู้สึกว่าตัวเองห่วยว่ะ ก็เริ่มอยากทำอะไรให้ดีขึ้น

คุณทิ้งความกลัวแล้วเริ่มทำงานตามฝันตัวเองได้อย่างไร

ช่วงนั้นแฟนชวนผมไปดูหนัง แต่ผมปฏิเสธหมดเลยด้วยข้ออ้างสารพัด เพราะเรารู้สึกว่าการเข้าไปดูหนังคือการเข้าไปดูความฝันของคนอื่น เราเจ็บอยู่ลึกๆ จนคิดว่า ไม่ได้แล้ว เราต้องทำให้คนอื่นซื้อตั๋วเข้าไปดูความฝันของเราบ้าง เราเลยตัดสินใจเอาบทที่เคยเขียนตอนสมัยเรียนมาพัฒนา แล้วก็ส่งอีเมลไปที่บริษัทรถยนต์แห่งหนึ่ง เขาก็สนใจให้เราไปคุย นี่อาจเป็นข้อดีของการเรียนโปรดิวซ์ มันทำให้เรารู้ว่าเราจะนำเสนอลูกค้ายังไง ตอนนั้นเป็นวันศุกร์ พอวันจันทร์เขาก็ตอบกลับมาว่าโอเคค่ะ เดือนหน้าเงินเข้า

“เรารู้สึกว่าการเข้าไปดูหนังคือการเข้าไปดูความฝันของคนอื่น เราเจ็บอยู่ลึกๆ จนคิดว่า ไม่ได้แล้ว เราต้องทำให้คนอื่นซื้อตั๋วเข้าไปดูความฝันของเราบ้าง”

เส้นทางการทำภาพยนตร์เป็นอย่างที่หวังไว้ไหม

จริงๆ ตอนถ่ายไปเงินก็ไม่พอหรอกครับ แต่สักพักก็โชคดีมีธนาคารแห่งหนึ่งเขาติดต่อเข้ามาจะสปอนเซอร์เพิ่ม แต่ทั้งหมดทั้งมวลมันก็ไม่พอนะครับ สุดท้ายหลังจบภาพยนตร์เรื่องแรก (ประโยคสัญญารัก, 2013) ผมเป็นหนี้อยู่ประมาณเกือบสองล้าน ต่อจากนั้นก็ไปทำงานที่เวิร์กพอยต์ ทำอยู่ประมาณปีกว่า แล้วก็รับงานเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเองจนใช้หนี้เกือบหมด เหลืออยู่ไม่กี่แสน มาหมดจริงๆ ก่อนเรื่อง FATHERS นิดหนึ่ง

ดูเหมือนการทำหนังครั้งแรกโหดร้ายมาก ทำไมถึงยังทำเรื่อง FATHERS (2016) เป็นเรื่องที่สองอีก

มีคนเตือนผมหลายคนว่าอย่าหาเรื่องเลย ทำงานประจำก็มั่นคงอยู่แล้วนะ แต่ตอนทำหนังเรื่องแรก ผมรู้สึกว่ามันเหมือนการขี่จักรยานน่ะครับ ถ้าขี่จักรยานครั้งแรกล้มแล้วเลิกขี่ มันก็จะไม่ได้อะไรเลยนอกจากเจ็บตัวฟรี แต่ถ้าเราได้เรียนรู้ว่าล้มเพราะอะไร แล้วลองทำมันอีกครั้ง นำประสบการณ์ที่เราเคยเจ็บตัวมาใช้ให้มันดีขึ้น ผมว่ามันน่าจะดีกว่า ไม่งั้นเราก็จะได้รู้แค่ว่าความเจ็บเป็นยังไงแค่นั้นเอง

“ผมตั้งใจทำหนัง LGBT เพราะต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการทำความเข้าใจกับสังคมว่าหนังเกย์ไม่ใช่หนังโป๊… แต่จริงๆ มันก็คือความรักเหมือนชายหญิงทั่วไป มีสุข เศร้า เหงา รัก”

ทำไมถึงหยิบเรื่อง LGBT มาเล่าผ่านหนัง

มันเป็นเรื่องใกล้ตัวมั้งครับ แล้วผมก็อยากนำเสนอให้คนรู้สึกว่าความรักของ LGBT ก็ไม่ต่างกับความรักของชายหญิงทั่วไป ทุกคนต้องมี coming of age ต้องเอนทรานซ์ ต้องเข้ามหา’ลัย คือเส้นชีวิตทุกคนเหมือนกันหมด และอีกส่วนที่ผมตั้งใจทำหนัง LGBT เพราะต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการทำความเข้าใจกับสังคมว่าหนังเกย์ไม่ใช่หนังโป๊ ณ ช่วงหนึ่งมันมีความเข้าใจผิด อาจจะด้วยซีรีส์หรือภาพยนตร์บางเรื่องได้เล่าเรื่องออกมาในการเน้นเซ็กซ์ รูปร่าง หรือจุดขายที่เขามองว่าเป็นการตลาดของเขา มันเลยทำให้คนเข้าใจว่า หนังเกย์เท่ากับหนังโป๊ แต่จริงๆ มันก็คือความรักเหมือนชายหญิงทั่วไป มีสุข เศร้า เหงา รัก ชายหญิงมียังไง LGBT ก็เป็นอย่างนั้น

ตอนทำเรื่อง FATHERS หวังว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างไรไหม

ผมเป็นแค่เม็ดทรายเม็ดหนึ่งที่ไม่สามารถไปเปลี่ยนมุมมองของทุกคนในสังคมได้ แต่อย่างน้อยก็ได้เป็นกระบอกเสียงที่ทำให้เขาเข้าใจว่า ความรักของ LGBT มันเป็นเรื่องปกติน่ะครับ แล้วจริงๆ FATHERS คือหนังครอบครัวด้วยซ้ำ หนังว่าด้วยคู่รักคู่หนึ่งที่พยายามจะสร้างครอบครัวแค่นั้นเอง

ประสบการณ์ที่ดีที่สุดจากการทำภาพยนตร์เรื่อง FATHERS คืออะไร

ตอนทำเรื่องนี้ผมไม่ได้คิดหวังว่าจะรวยอะไรเลย แล้วก็ตั้งใจส่งไปฉายเมืองนอกเพื่อเปิดหูเปิดตาตัวเอง ซึ่งประสบการณ์ที่ได้ก็คือการไปเทศกาลภาพยนตร์ การได้ไปเจอคนต่างชาติ หรือคนที่มีมุมมองต่อ LGBT ในหลายๆ แบบ เราจะเห็นว่า ในหลายๆ ประเทศเขาไม่ได้เรียกร้องให้ LGBT มีสิทธิ์เท่าเทียมชายหญิงเท่านั้น แต่มันหมายถึงความเท่าเทียมของทุกเพศ ผมได้ไปไต้หวัน ก็ได้รู้จักผู้ชายคนหนึ่งที่มีลูกสาว แต่เขาเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันงาน LGBT ด้วยความที่ไต้หวันมีวัฒนธรรมจีนเยอะ ผู้หญิงก็ได้รับการยอมรับน้อยกว่าผู้ชาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เขาทำในวันนี้ เขาหวังว่าวันหนึ่งที่ลูกสาวโตขึ้น ลูกสาวเขาจะมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ได้รับการยอมรับเทียบเท่ากับเขาเขาหวังแค่นี้เอง เขาเลยออกมาเรียกร้องเพื่อ LGBT เพราะหวังว่าทุกเพศจะเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง

“บางอย่างอาจเป็นมรดกตกทอดได้ อย่างเงินหรือกิจการ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นมรดกตกทอดให้กันไม่ได้คือความดีและความสามารถ”

คุณคิดว่าแนวคิดสำคัญที่จะนำไปสู่ความเท่าเทียมคืออะไร

อย่างแรกคือต้องมองทุกอย่างเป็นเรื่องปกติ มนุษย์แต่ละคนแตกต่างกันแค่ในด้านบุคลิก รูปลักษณ์และอุปนิสัยการแสดงออกเท่านั้น เมื่อเรามองทุกอย่างเป็นเรื่องปกติ ก็จะไม่ตัดสินใครจากเพียงภายนอก เคารพชื่นชมกันในเรื่องผลงานความสามารถของกันและกัน

คิดเห็นอย่างไรกับการที่ LGBT ถูกนำมาล้อเลียนหรือเป็นตัวตลกอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้

สำหรับผมผมก็ไม่ค่อยชอบหรอกครับที่ LGBT ถูกมองเป็นตัวตลก หรือมีการเอาพฤติกรรมของเพศสัมพันธ์มาเป็นคำในการกลั่นแกล้งคน LGBT แต่เราคงไม่สามารถไปเปลี่ยนใจหรือความคิดคนอื่นได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำได้อย่างเดียวคือปรับมุมมองและทัศนคติของเราให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข คือแก้ไขคนอื่นไม่ได้ก็แก้ไขที่ตัวเราเองครับ

ตัวคุณเองเคยโดนโจมตีในความเป็น LGBT ไหม

ผมโชคดีที่คนรอบตัวผมรับได้ พ่อแม่ ครอบครัวตัวเอง ครอบครัวแฟน เพื่อนที่ทำงาน ทุกคนคือต้นทุนทางสังคมที่ดี ซึ่งไม่ใช่เรื่องเงิน สำหรับผม ผมว่าต้นทุนทางสังคมที่ดีที่สุดของผมคือคนรอบข้าง มันก็เลยไม่เป็นภาระที่ต้องทำให้เราเครียด แฟนผมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ทำให้ครอบครัวผมเข้าใจ สามารถเข้ากับน้องสาวเราได้ ช่วยดูแลที่บ้านได้ ผมว่าเราทั้งคู่ช่วยกันทำให้ครอบครัวของเราทั้งสองฝ่ายเข้าใจกัน

“ผมโชคดีที่คนรอบตัวผมรับได้… ต้นทุนทางสังคมที่ดีที่สุดของผมคือคนรอบข้าง มันก็เลยไม่เป็นภาระที่ต้องทำให้เราเครียด”

หนังหรือละครชายหญิงกับ LGBT มีจุดเหมือนหรือจุดต่างกันอย่างไร

ไม่ว่าจะเป็นหนังหรือละครชายหญิง ซีรีส์วาย หรือหนัง LGBT แต่ทั้งหมดทั้งมวลกำลังเล่าเกี่ยวกับความรักของมนุษย์ กำลังเล่าถึงมนุษย์ที่มีจิตใจ ไม่มีอะไรต่างกัน ผมเชื่อว่าทุกเรื่องก็มีเรื่องจิตใจของมนุษย์เป็นที่ตั้งอยู่แล้ว และมีเรื่องความสัมพันธ์เป็นตัวเชื่อมโยง ไม่ว่าจะแฟนตาซี ไซไฟแค่ไหน ดังนั้นเรากำลังเล่าเรื่องของมนุษย์ที่มีจิตใจครับ ถ้าจะต่างก็ต่างแค่รสนิยมและการแสดงออกเท่านั้นเอง

แสดงว่าสำหรับคุณแล้วความรักเป็นสิ่งที่สำคัญมาก?

สำหรับผม ผมอยู่ได้เพราะความรัก ผมอยู่ได้เพราะแฟน เพราะครอบครัว ผมมีแรงทำงาน มีแรงที่จะพยายามทำสิ่งใดๆ ก็เพราะแฟนผม เขาเป็นพลังของเรา ผมเชื่อว่าทุกคนมีพลังของตัวเอง อย่างบางคนพอมีลูก ลูกคือพลังในการทำงาน บางคนแม่ป่วยหนัก เขาก็ยอมทำงานหนัก แม่เป็นแรงผลักดันของเขาดังนั้นไม่ว่าจะในฐานะพ่อ แม่ หรือลูก ความรักมันทำให้คนคนหนึ่งมี passion ในการทำงานหรือใช้ชีวิตนะครับ

นี่ถือเป็นสูตรที่ทำให้คุณคบกับแฟนมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมจนถึงตอนนี้หรือเปล่า

จริงๆ แล้วความรักของผมไม่มีสูตรสำเร็จ เช่นเดียวกับสิ่งที่ผมเล่าในภาพยนตร์เรื่อง FATHERS คือสุดท้ายแล้วการเลี้ยงลูกก็ไม่มีสูตรสำเร็จ ทั้งสองอย่างมันต้องอาศัยความเข้าใจ การปรับตัวซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นคู่รักประเภทไหนก็ตาม ความรักเริ่มต้นจากคนสองคน ผู้ชายกับผู้หญิง ผู้ชายกับผู้ชาย หรือผู้หญิงกับผู้หญิง แต่เมื่อไรก็ตามที่เรากำลังจะสร้างครอบครัว มันก็ไม่ใช่เรื่องของคนสองคนอีกต่อไปแล้ว จะบอกว่าเรารักกันชั่วนิรันดร์ ครอบครัว เพื่อนจะเป็นยังไงไม่สนใจ มันไม่ใช่ มันมีคนที่สามสี่ห้า จักรวาลไม่ได้มีแค่ความรักของเรา เราต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจและประคับประคองกันไป

“ความรักเริ่มต้นจากคนสองคน… แต่เมื่อไรก็ตามที่เรากำลังจะสร้างครอบครัว มันก็ไม่ใช่เรื่องของคนสองคนอีกต่อไปแล้ว… จักรวาลไม่ได้มีแค่ความรักของเรา เราต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจและประคับประคองกันไป”

เชื่อเรื่องรักนิรันดร์ไหม

ผมตอบไม่ได้หรอกว่า ความรักความสัมพันธ์ใดมันจะนิรันดร์ เพราะก็ยังไม่เคยเห็นคำว่า ‘นิรันดร์’ ไม่ว่าจะความทรงจำดีๆหรือความทรงจำร้ายๆ สุดท้ายก็อยู่ภายใต้สังขารของสมอง ดีหรือร้ายแค่ไหน แก่ไปสมองก็หลงๆลืมๆ ใจเที่ยง แต่กาลเวลาไม่เที่ยง ก็ทำอะไรไม่ได้ สำหรับผมไม่ว่าความรักในสถานะไหนก็ตามความรักเป็นสิ่งที่คนสองคนต้องเรียนรู้กันและกันไปตลอดชีวิตจนกว่าจะจากกันวันหนึ่งมันจะมาถึง ไม่ว่าจะจากเป็นหรือจากตายซึ่งนั่นมันก็ทำให้ผมยิ่งกลัวการสูญเสีย ผมจินตนาการชีวิตที่ไม่มีวอร์มไม่ออกเลย แต่รู้เลยว่าเป็นชีวิตที่ยากมากแน่ๆ สำหรับผม คิดไปก็นอยด์ แค่ทุกวันนี้ดีและสุขใจ…ก็โอเคแล้วครับ

ถ้าเปรียบเทียบความรักของตัวเองเป็นหนังสักเรื่อง คิดว่าจะเป็นเรื่องอะไร

จริงๆ เวลาโดนถามเรื่องนี้ ผมก็เขินนะที่จะตอบ เพราะคำตอบของผมมันก็คงตรงกับใครหลายๆ คน มันคือเรื่อง ‘รักแห่งสยาม’ ครับ ด้วยหนังที่พูดเรื่องครอบครัว ทัศนคติ การแสดงออกแบบนี้มันมีไม่เยอะ ถามว่าทำไมมันใกล้เคียง เพราะมันเป็นบริบทของสังคมไทย และ ‘โต้ง’ ในเรื่อง บริบท จุดขัดแย้งในครอบครัว ปัญหาของพ่อกับแม่ พี่กับน้องค่อนข้างคล้ายกับบริบทครอบครัวของผม ครอบครัวผมก็มีจุดขัดแย้งอะไรบางอย่างที่ทำให้ทัศนคติไม่ตรงกันและต้องเลือก เช่นเดียวกันกับ ‘มิว’ ที่มีอาม่าเล่นเปียโน แฟนผมก็โตมากับอากงอาม่าเหมือนกัน อากงจากไปก่อน แล้วอาม่าก็จากไปตามรอยต่อของช่วงเวลาเหล่านั้นคือผมเจอวอร์มที่เรียนพิเศษ มีความทรงจำที่สยามฯ ร่วมกันแต่ผมก็เขินแล้วก็เกรงใจผู้สร้างเวลาบอกว่ามันคล้ายเรานะครับ (หัวเราะ)

โดยรวมแล้วตอนนี้มีความสุขกับชีวิตแค่ไหน

ก็ค่อนข้างมีความสุขนะ เดือนที่แล้วอยู่ๆ ผมก็รู้สึกว่า ทำไมชีวิตไม่มีความทุกข์เลยวะ ขับรถฟังเพลงเศร้าก็ไม่รู้สึกอะไร แต่มันก็ปกติแหละ เป็นความรู้สึกของคน สมมุติถ้าเราเศร้าอกหัก เปิดเพลงอะไรมาเราก็ร้องไห้เสียใจทั้งนั้น แต่ถ้าชีวิตเราแฮปปี้ดี ต่อให้เปิดเพลงยังไงก็ไม่รู้สึกอะไร ตอนนี้ลูกน้องดี เจ้านายดี ที่บ้านดี แฟนดี ก็โอเคแล้ว ความสัมพันธ์ที่ดีมันก็ทำให้เราทำอะไรได้สบายใจสบายกายจริงๆ ครับ

]]>