Warning: Cannot modify header information - headers already sent by (output started at /var/www/marshomme.com/wp-content/plugins/wp_mgr_id/wp_mgr_id.php:1) in /var/www/marshomme.com/wp-includes/feed-rss2.php on line 8
ช่างภาพ – Marshomme https://marshomme.com Thu, 09 Apr 2020 20:08:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.2.20 https://marshomme.com/wp-content/uploads/2019/10/logo2_icon-90x90.png ช่างภาพ – Marshomme https://marshomme.com 32 32 ภาพถ่ายจากโดรนสุดคูล ของช่างภาพยุคโควิด-19 https://marshomme.com/scoop/529671/ Thu, 09 Apr 2020 20:08:00 +0000
เมื่อสถานการณ์โควิด-19 บังคับให้คนอยู่บ้านเพื่อลดการติดต่อ หลายคนลุกขึ้นมาทำอาหารแบบจริงจัง หมดโควิดจะได้เห็นเชฟหน้าใหม่กันเพียบ ขณะเดียวกันหลายคนก็อาจจะไม่ได้รู้สึกรื่นเริงเมื่อต้องอยู่บ้านนานๆอย่าง ‘Adas Vasiliauskas’ ช่างภาพหนุ่มจากประเทศลิทัวเนียคนนี้


“ผมนั่งเซ็งและพยายามคิดกับตัวเองว่า จะทำอย่างไรกับสถานการณ์นี้ดี ผมรู้แค่ว่าตัวเองอยากออกไปถ่ายรูปอะไรสักอย่างที่น่าสนใจ แต่ช่วงที่คนกำลังกักตัวอยู่บ้าน มันก็อาจจะยากหน่อย”

Adas Vasiliauskas เป็นช่างภาพที่รับงานถ่ายภาพโฆษณาและงานอีเวนท์ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป งานถ่ายภาพก็หดหายเป็นเรื่องธรรมดา แต่เพราะอาชีพช่างภาพในสายเลือดเลยไม่ปล่อยเวลาให้สูญเปล่า หยิบโดรนขึ้นมาถ่ายภาพเพื่อนๆตามบ้าน แน่นอนว่าเขาโทรไปบอกเพื่อนๆ ให้รู้ตัวก่อน


เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า ตอนแรกตั้งใจจะเอาเลนส์เทเล สำหรับการถ่ายภาพระยะไกลมาใช้ถ่ายภาพครั้งนี้ แต่ก็เปลี่ยนใจมาใช้โดรนในที่สุด เพื่อเก็บอิริยาบถของเพื่อนๆแต่ละบ้าน

หลังจากที่โพสต์ภาพต่างๆ ออกไป ไม่นานยอดกดไลค์ กดแชร์ เข้ามาอย่างมหาศาล ตอนนี้ Adas เเป็นช่างภาพที่เนื้อหอมสุดๆ เพราะมีนักข่าวหลายสำนักต่างโทรมาขอสัมภาษณ์คอนเซ็ปต์ภาพถ่าย ไม่ต้องเดา หมดโควิดงานเข้ามาเพียบแน่ๆ

]]>
บาส Go Went Go การเดินทางไม่ใช่จุดหมาย แต่สิ่งสำคัญคือความสุขที่เกิดระหว่างทาง https://marshomme.com/interview/981/ Thu, 27 Jun 2019 09:48:00 +0000

“ผมชอบที่จะตื่นขึ้นมากับการมีเป้าหมายทำสิ่งนั้นสิ่งนี้เมื่อทำไปถึงจุดหนึ่งไม่มีพลังเหลืออยู่กับสิ่งนั้นแล้วก็ตั้งเป้าหมายใหม่ถามว่ามันจะจบไหมไม่มีวันจบหรอกก็คงเป็นแบบนี้ไปจนตายแต่การเดินทางมันไม่ได้สำคัญที่จุดหมายความสุขมันเกิดขึ้นระหว่างทาง”

ไปรู้จักโลกใบใหม่ในชีวิตของ ‘บาส-ภาณุภัทร์ สุกัลยารักษ์’ ชายหนุ่มที่คนอาจคุ้นหน้าในบทบาทมือกีตาร์วง Better Weather นักแสดงซิทคอมเรื่องดัง และอีกบทบาทหนึ่งกับการเป็นผู้ก่อตั้งเพจ Go Went Go : เที่ยว เว้น เที่ยว ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 5 แสนคน กับเส้นทางชีวิตที่เขาค้นพบทั้งความฝัน ความสนุก และความหมายของชีวิตในวันนี้

ยุคนี้การใช้ชีวิตเดินทางท่องเที่ยวเป็นยูทูบเบอร์ คงเป็นอาชีพในฝันของใครหลายๆ คน สำหรับบางคนอาจเริ่มต้นเส้นทางนั้นด้วยความบังเอิญ จากคอนเทนท์ที่ทำขำๆ แต่ดันฮิต จนต่อยอดขยายไปสู่การเป็นคนทำคอนเทนท์ที่มีผู้ติดตามมากมาย นำไปสู่การมีอาชีพเป็นยูทูบเบอร์แบบไม่ตั้งใจ

แต่สำหรับ ‘บาส-ภาณุภัทร์ สุกัลยารักษ์’ ชายหนุ่มที่บางคนอาจคุ้นหน้าเขากับบทบาทมือกีตาร์วง Better Weather และนักแสดงซิทคอมเรื่องดัง ทุกสิ่งที่เขาทำกับเพจ Go Went Go : เที่ยว เว้น เที่ยว ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 5 แสนคน นั้นถูกออกแบบมาด้วยความตั้งใจ บนช่วงเวลาที่เขาตั้งคำถามถึงความหมายของการมีชีวิต ซึ่งปัจจุบันสิ่งที่เขาทำได้เปิดให้เขาเจอกับโลกใบใหม่ ซึ่งบรรจุความฝันในวัยเด็กเอาไว้เต็มเปี่ยม

ลองไปรู้จักเรื่องราวที่มาที่ไปของชีวิตที่เขาค้นพบทั้งความรัก ความสนุก และความหมายในชีวิตของผู้ชายคนนี้

“เมื่อเราประสบความสำเร็จมันจะมีความท้าทายอีกอย่างหนึ่งคือสิ่งที่จะมาพร้อมเงินการได้เงินมาจากสิ่งที่เราทำมันเป็นไปได้ที่จะทำให้ความสุขของเราเริ่มลดลง”

ทำไมจากชีวิตนักดนตรี นักแสดง ถึงกลายมาเป็นยูทูบเบอร์ได้
ตอนเด็กๆผมมีความฝันว่าอยากเที่ยวรอบโลกแต่พอโตขึ้นเราก็ทำงานเก็บเงินๆหาเงินได้เยอะขึ้นแต่สิ่งที่มันต่างออกไปก็คือว่าเราเริ่มเก็ทแล้วว่าเวลาหาเงินได้เยอะขึ้นสิ่งที่หายไปคือเวลามัวคิดว่าวันหนึ่งเราคงจะได้ไปเที่ยวจนเมื่อ 3 ปีที่แล้วผมอายุครบ 30 พอถึงวัยนั้นผมเชื่อว่าหลายๆคนคงเป็นเฮ้ยกูอายุ 30 แล้วเหรอวะเป็นวันเกิดที่งงที่สุดในชีวิตสมัยก่อนเราต้องไปฉลองกับเพื่อนไปฉลองกับครอบครัวแต่วันนั้นเป็นวันเกิดที่เราตั้งคำถามในหัวตัวเองเยอะมากที่สุดในชีวิตถามตัวเองว่า 30 ปีที่ผ่านมาเราได้ทำสิ่งที่เราอยากทำหรือยังคำตอบก็ชัดว่ายังและไม่รู้ว่าจะได้ทำเมื่อไหร่

โจทย์ตอนนั้นที่ต้องหาคำตอบให้ตัวเองคืออะไร
ผมว่าบล็อกเกอร์หรือยูทูบเบอร์บางคนอาจจะเริ่มต้นด้วยความบังเอิญทำแล้วเวิร์กมีคนชอบเลยต่อยอดมาเป็นงานนี้แต่สำหรับผมไม่ใช่ผมตั้งใจว่าสิ่งนี้ต้องเป็นงานตั้งแต่วันแรกที่ผมทำผมคิดตั้งแต่วันแรกเลยว่าต้องทำให้สำเร็จ ปักธงเลยว่าต้องทำให้ได้พอคิดแบบนั้นผมเลยมาเริ่มศึกษาว่าแล้วเราต้องทำอย่างไร โอเคต้องถ่ายรูปสวยต้องทำวิดีโอเป็นต้องทำคอนเทนต์หัดทำ Vlog ทำเพจทำยูทูบขึ้นมาแล้วเราก็ปรับให้สิ่งที่ทำยังมีความเป็นตัวของตัวเองอยู่เพราะผมคิดว่าต่อให้เราทำมันเป็นงานแต่เราต้องรู้สึกว่าเราทำแล้วเรายังเป็นตัวเองทำให้เรายังมีความสุขกับสิ่งที่เราทำเพราะว่าเมื่อเราประสบความสำเร็จมันจะมีความท้าทายอีกอย่างหนึ่งคือสิ่งที่จะมาพร้อมเงินการได้เงินมาจากสิ่งที่เราทำมันเป็นไปได้ที่จะทำให้ความสุขของเราเริ่มลดลงถ้าตั้งโจทย์คือเงินจะมีบางสิ่งบางอย่างที่เราไม่อยากทำผมชัดเจนว่าสิ่งที่ทำต้องมีความเป็นตัวเองอยู่ซึ่งผมก็ต้องตัดหลายๆงานออกไป

บาลานซ์อย่างไรงานเงินกับความเป็นตัวเอง
เวลาผมทำงานผมจะตั้งเป้าไว้ว่าต้องมี 3 win หนึ่งตัวเราต้อง win ก่อนเราต้องรู้สึกก่อนว่าเราแฮปปี้ที่จะทำสิ่งนั้นจริงๆอย่างที่สองถ้าเรามีคนที่ติดตามมาแล้วคนดูต้อง win เขายังต้องได้ดูสิ่งที่เขาชอบมีประโยชน์ต่อเขาและอย่างสุดท้ายคนที่จ่ายเงินสนับสนุนเราก็ต้อง win ด้วย ถ้าเขาอยากขายของเขาต้องขายได้อยู่ไม่ได้คิดว่าฉันเอาตัวเองเป็นหลักถ้าลูกค้าเจ้าไหนจ่ายเงินเขามาแล้วเราพรีเซนต์โปรดักต์เขาไม่ได้ผมก็จะไม่รับนี่เป็นเรื่องยากและอุปสรรคในการทำงานของยูทูบเบอร์มากที่สุดวันที่เราประสบความสำเร็จปุ๊บทำไมงานที่เราทำออกไปไม่เหมือนเดิมผมเองยังเป็นเลยเวลามาดูสิ่งที่เราทำตอนแรกๆซึ่งก็ต้องตบกลับมาแล้วการที่จะทำให้สมดุลได้มันคือการวางแผนระยะยาวและถ้าเราทำให้มัน 3 win เราจะอยู่ได้ด้วยความบาลานซ์อาจจะไม่ได้รวยสุดหรืออยู่ด้วยอุดมการณ์อินดี้สุดๆไม่สนโลกแต่เราจะอยู่ได้อย่างสมดุล

การเป็นยูทูบเบอร์ทำง่ายหาเงินง่ายอย่างที่เขาพูดกันจริงไหม
ผมว่ามันเป็นช่วงแรกมากกว่าเพราะสิ่งนี้มันใหม่มากในไทยแต่พอถึงจุดหนึ่งก็จะมีคนทำเยอะขึ้นเรื่อยๆพอมันเยอะขึ้นก็จะไม่ง่ายเหมือนเดิมแล้วเกิดการแข่งขันสุดท้ายแล้วก็เหมือนทุกวงการคนที่จะอยู่ได้ก็คือมืออาชีพ

“ยุคนี้บางคนอาจจะทำคอนเทนท์ขึ้นมาแล้วดังในชั่วข้ามคืนเลยก็ได้แต่สิ่งสำคัญคือคุณต้องทำสิ่งนั้นซ้ำให้ได้เพราะเมื่อคุณทำซ้ำได้นั่นแสดงว่าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้ว”

ความหมายของมืออาชีพคืออะไร
สำหรับผมคำว่ามืออาชีพก็เหมือนทุกงานมีความรับผิดชอบเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นจริงๆคุณต้องรู้จริงในเรื่องนั้นๆมีความสม่ำเสมอมีจริยธรรมจรรณยาบรรณที่จะทำให้คุณอยู่ได้เหมือนคนเป็นหมอเขาก็ต้องมีคนที่มาทำยูทูบเบอร์ก็ต้องมีเหมือนกันไม่ใช่ทำเล่นๆ

ผมว่าทุกวันนี้โลกกำลังถูกแบ่งกลุ่มสมัยก่อนคนที่ดังก็จะอยู่ในสื่อหลักและมีคนรู้จักทั้งบ้านทั้งเมืองแต่เดี๋ยวนี้เราเจอคนที่มีคนติดตามเป็นล้านเลยนะแต่บางคนบอกว่าใครไม่รู้จักเป็นอย่างนั้นเพราะอะไรเพราะว่าบางคนไม่ได้อยู่ในกลุ่มทาร์เก็ตของเขาไงในยุคนี้เราแค่ต้องสื่อสารกับทาร์เก็ตของเราให้ได้สมมุติคุณทำเพจบิ๊กไบค์ถ้าประเทศไทยมีคนขับบิ๊กไบค์ 1 แสนคนและคุณมีคนติดตามเพจ 1 แสนคนก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วผมว่าตัวเลขไม่ใช่สิ่งที่เอามาวัดว่าใครประสบความสำเร็จมากกว่ากันยุคนี้บางคนอาจจะทำคอนเทนท์ขึ้นมาแล้วดังในชั่วข้ามคืนเลยก็ได้แต่สิ่งสำคัญคือคุณต้องทำสิ่งนั้นซ้ำให้ได้เพราะเมื่อคุณทำซ้ำได้นั่นแสดงว่าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้ว

เวลาทำคอนเทนท์คุณเริ่มจากอะไร
คือบางคนพยายามทำอะไรให้มันสุดบ้าไปเลยเพื่อให้คนมองว่าแปลกดีว่ะผมว่ามันก็ไม่ผิดนะแต่ผมไม่รู้ว่ามันจะไปตันตรงไหนสุดกว่านี้ต้องไปดวงจันทร์แล้วแหละ (หัวเราะ) แต่ตัวผมพยายามทำอะไรให้มันเรียบง่ายและทำสิ่งที่คิดว่าคนส่วนใหญ่น่าจะทำตามผมได้ด้วยบางครั้งผมไปเที่ยวก็เที่ยวแบบทัวริสต์เลยคอนเทนท์หลังๆบางคนอาจมองว่าอี๋เป็นทัวริสต์ไปเที่ยวแลนด์มาร์กแต่แล้วไง ในใจผมคิดว่าทำไมผมไปเที่ยวแบบนั้นไม่ได้ในเมื่อผมยังไม่เคยไปทำไมเราต้องไปตัดสินว่าเราไม่ไปที่นี่เพราะว่าใครๆก็ไปเพราะสุดท้ายบางทีก็มีบางคนที่อยากดูคอนเทนท์เกี่ยวกับแลนด์มาร์กเหล่านี้อยู่ก็ไม่เห็นผิดอะไร

การฟังคนอื่นมากๆบางครั้งทำให้เป้าหมายของเราผิดไป
เมื่อตอนเด็กๆผมก็เป็นนะเวลาชอบวงอินดี้สักวงหนึ่งแล้วพอเขาดังก็เริ่มแอนตี้เฮ้ยแม่งแมสแต่ว่าแมสแล้วไงวะผมว่าแมสเราก็ควรดีใจกับเขาสิผมว่ามันไม่มีอะไรผิดอะไรถูก

การไปเที่ยวเยอะๆให้สิ่งใดกับคุณกลับมาบ้าง
การไปเที่ยวมันทำให้เรารู้จักตัวเองแน่นอนเพราะว่ามันจะบังคับให้เราอยู่ในสถานการณ์ที่ชีวิตปกติไม่ได้เจอคุณไม่รู้หรอกว่าบางครั้งคุณไปแล้วจะคุณตกเครื่องคุณไปแล้วโดนตำรวจจับคุณไปแล้วโดนขโมยของมันมีประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแบบไม่คาดฝันไม่เหมือนทุกวันที่คุณตื่นเช้าไปทำงานแล้วกลับบ้านไปเรียนแล้วกลับบ้านวนอยู่แบบเดิมสถานการณ์แปลกทำให้เราได้รู้จักอารมณ์ของตัวเอง ว่าเราเครียดเราตื่นเต้นเรากลัว เราใจเย็นเป็นการสำรวจตัวเองที่ดีมากยิ่งคุณออกเดินทางไกลคุณยิ่งรู้จักตัวเองมากขึ้น

แต่จริงๆ การเดินทางมันเป็นเหมือนตัวเร่งปฏิกิริยาให้เราเจออะไรเร็วขึ้นเท่านั้นนะจริงๆการที่เราใช้ชีวิตอยู่เฉยๆเราก็ได้เจอการเรียนรู้อะไรเหมือนกัน อยู่ที่เราจะปล่อยให้มันสอนเราหรือเปล่าเช่นเวลาเราเจอเรื่องผิดหวังในชีวิตถ้าเรามองว่ามันเป็นครูเราก็ได้เรียนรู้แต่ถ้าเรามองว่าเป็นความผิดคนอื่นเราก็จะรู้สึกแย่และมันจะกลายเป็นแค่ความทรงจำที่ไม่ดี

ได้สังเกตตัวเองไหมว่ามองโลกเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
เวลาไปเที่ยวจะมีคนสองแบบคนที่ไปเที่ยวอย่างเดียวไม่สนโลกถ่ายรูปอย่างเดียวแต่เวลาผมไปผมชอบตั้งคำถามทำไมต้องเป็นสิ่งนี้เขาทำไอ้นี่ไปทำไมแล้วเวลาเราหาคำตอบเราจะได้อะไรใหม่ๆในเวลาที่เราไปอยู่ในพื้นที่ใหม่ๆทำอะไรใหม่ๆมันกระตุ้นให้สมองเราทำงานมันเริ่มมีไอเดียต่างๆว่าแบบนี้เอามาปรับใช้กับเราได้ไม่ว่าคุณทำอาชีพอะไรการเดินทางช่วยในแง่นี้

“ผมชอบที่จะตื่นขึ้นมากับการมีเป้าหมายทำสิ่งนั้นสิ่งนี้เมื่อทำไปถึงจุดหนึ่งไม่มีพลังเหลืออยู่กับสิ่งนั้นแล้วก็ตั้งเป้าหมายใหม่ถามว่ามันจะจบไหมไม่มีวันจบหรอกก็คงเป็นแบบนี้ไปจนตายแต่มันไม่ได้สำคัญที่จุดหมายการเดินทางความสุขมันเกิดขึ้นระหว่างทาง”

แล้วการเดินทางมากๆทำให้คุณ Toxic บ้างไหม
โชคดีว่าผมรู้จักตัวเองมากๆ เพจ Go Went Go ชื่อภาษาไทยบอกอยู่แล้วว่าคือเที่ยวเว้นเที่ยวเพราะผมรู้จักตัวเองก่อนที่จะทำเพจว่าผมไม่ชอบที่จะเดินทางบ่อยเกินไปและก็เป็นคนอยู่บ้านนานๆแล้วเบื่อนี่เป็นสิ่งที่เราต้องบาลานซ์สมมุติช่วงนี้แน่นมากอีกเดือนผมอาจจะหยุดเดินทางไปครึ่งเดือนเพื่ออยู่บ้านอย่างเดียวเพราะว่าเราต้องรักษาใจตัวเองเอาไว้ไม่ให้ตัวเองเบื่อทำให้การอยากออกไปมันมีคุณค่าและทำให้การกลับมามีคุณค่าเหมือนกันผมรู้สึกดีใจที่ตัวเองคิดแบบนี้มันทำให้เรามีพลังทุกวันที่จะทำอะไร

ดูเหมือนจะหาสมดุลได้ดีมากมีอะไรที่ไม่ชอบในชีวิตยูทูบเบอร์ไหม
อาจเพราะผมไม่ได้ทำสิ่งนี้อย่างเดียวมั้ง ผมมีธุรกิจส่วนตัวอย่างอื่นด้วยสิ่งที่ทำไม่ใช่รายได้หลักอย่างเดียวถ้าผมทำอาชีพนี้เป็นอาชีพหลักผมคงกังวลน่าดูเพราะผมไม่รู้ว่ารายได้เราจะมาเยอะหรือน้อยคนจะดูเราเยอะอย่างนี้อีกไหม

ผมว่าถ้าเราทำให้เรื่องเงินมันเป็นความสำคัญอันดับสองอันดับสามของชีวิตได้เราจะทำสิ่งใดๆ ก็ตามได้อย่างมีความสุขผมไม่รู้ว่าคนที่ทำสิ่งนี้เป็นอาชีพเขาจะเครียดไหมแต่ส่วนตัวผมคิดว่าถ้าวันหนึ่งไปต่อไม่ได้ผมก็ไปทำอย่างอื่นอาจเพราะผมทำอย่างอื่นมาถึงจุดหนึ่งแล้วค่อยมาทำสิ่งนี้มั้งพอเราตัดกังวลเรื่องเงินมันทำให้สมองของเราสามารถสร้างสรรค์และทำอะไรได้มากขึ้นแต่ถ้าเราทำด้วยความรู้สึกว่าเสียไม่ได้เราไม่กล้าเสี่ยงไม่กล้าลองจะทำให้เรามีทางเลือกน้อยมาก

สิ่งสำคัญที่ต้องบอกตัวเองคืออะไร ในเมื่อคุณก็บอกเองว่าการเป็นยูทูบเบอร์คงไม่ใช่สิ่งสุดท้ายในชีวิต
ผมว่าเวลาที่คนเราประสบความสำเร็จระดับหนึ่งเราต้องไม่หลงระเริงว่าเราประสบความสำเร็จแล้วส่วนตัวผมมองว่าคุณต้องนึกตลอดว่าคุณเก่งได้มากกว่านี้คุณต้องพัฒนาทุกเวลาผมว่าความรู้มันไม่ได้จบแค่ที่มหาวิทยาลัยทุกวันนี้เราเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดและเราก็รู้สึกเลยว่าเราต้องรู้เรื่องใหม่ตลอดเพียงแต่ว่าเรื่องที่เราเรียนรู้และพัฒนามันต่อยอดชีวิตคุณได้ไหมถ้าคุณอยากอยู่รอดในวันนี้คุณต้องวิ่งเร็วกว่าโลกเท่านั้นเอง

แล้วชีวิตช่วงนี้มีความสุขกว่าตอนทำงานวงการบันเทิงหรือเปล่า
ชีวิตช่วงนี้เป็นช่วงที่ผมมีความสุขที่สุดตั้งแต่เกิดมาเลยมันอาจจะเป็นเพราะโตแล้วด้วยมั้ง เราได้ตกผลึกอะไรมาเยอะไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานเรื่องชีวิตส่วนตัวเรื่องความรักผมเชื่อว่าอีกสามปีห้าปีโจทย์ของผมก็คงเปลี่ยนไปอีกและถ้าผมทำโจทย์นั้นได้อีก ผมก็คงมีความสุข

สิ่งที่ได้กลับมามากที่สุดในการเปลี่ยนชีวิตครั้งนี้คืออะไร
ไม่รู้จะตอบว่าอะไรมันบวกๆกันแล้วมีความสุขผมชอบที่จะตื่นขึ้นมากับการมีเป้าหมายทำสิ่งนั้นสิ่งนี้เมื่อทำไปถึงจุดหนึ่งไม่มีพลังเหลืออยู่กับสิ่งนั้นแล้วก็ตั้งเป้าหมายใหม่ถามว่ามันจะจบไหมไม่มีวันจบหรอกก็คงเป็นแบบนี้ไปจนตายแต่มันไม่ได้สำคัญที่จุดหมายการเดินทางความสุขมันเกิดขึ้นระหว่างทาง

]]>
เปลือยชีวิต ‘นัทเทีย สุนิศทรามาศ’ ช่างภาพสาวสองชาวไทยในนิวยอร์ก https://marshomme.com/lifestyle/1008/ Fri, 15 Feb 2019 17:14:00 +0000 โดย เบญจกาย

ชีวิตมนุษย์มักมี ‘จุดเปลี่ยน’ สำคัญในชีวิตเสมอค่ะ ทั้งเรื่องการงานและชีวิตส่วนตัว ส่วนเมื่อเผชิญหน้ากับจุดเปลี่ยนนั้นแล้วจะข้ามมันอย่างราบรื่นหรือขรุขระ ก็สุดแล้วแต่ ‘สติ’ ที่จะใช้ประคับประคองตัวเองให้ก้าวข้ามอุปสรรคนั้นๆ จนสำเร็จ สามปีก่อน เบญได้รู้จับกับหนุ่มน้อยช่างภาพชาวไทยที่ไปร่ำเรียนและทำงานที่นิวยอร์ก จนเริ่มมีผลงานด้านแฟชั่นกับเซเลบริตี้นิวยอร์ก จนเป็นที่รู้จักในหมู่คนทำงานสายนิตยสารในมหานครเก๋ๆ แห่งนี้ แต่ครานี้มาเจอกันอีกครั้ง ‘นัท-นัทเทีย สุนิศทรามาศ’ บอกสั้นๆ ว่า “นัทพร้อมที่จะ transition ตัวเองแล้วค่ะ เลยถือโอกาสกลับมาเมืองไทยเพื่อจัดการธุระให้เรียบร้อย”

ดิฉันยืนตบมือรัวๆ ให้สาวน้อยนาม ‘นัทเทีย’ อีกรอบในทันทีที่ทราบการเปลี่ยนแปลง พร้อมกับนั่งคุยถึงที่มาที่ไปและอัพเดตหน้าที่การงานของเธอซะหน่อย หลังจากที่ไม่ได้เจอกันมานาน ดิฉันสนับสนุนให้คนไทยประสบความสำเร็จค่ะ ยิ่งไปอยู่เมืองนอกเมืองนาแล้วทำให้ฝรั่งยอมรับ LGBT คนไทยได้นี่เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ที่มันน่าสนใจมากกว่านั้นคือการเป็นช่างภาพสาวสอง ไม่ใช่ง่ายนะคะ ยิ่งอยู่ในเมืองที่ต้องปากกัดตีนถีบด้วย บวกกับความเป็นสาวสองอีก ชีวิตเธอน่าสนใจค่ะ

Q : นัททำงานอยู่ที่นิวยอร์กมากี่ปีแล้วคะ
A : ทำงานอยู่ที่นิวยอร์กได้ 8 ปี แต่อยู่อเมริกาทั้งหมดประมาณ 10 ปีแล้วค่ะ

Q : ตอนนั้นตั้งใจไปเรียนหรือไปทำงานที่นั่น
A : เริ่มต้นเลยก็คือหลังจากที่เรียนจบคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เอกภาพยนตร์และภาพนิ่ง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วมีโอกาสได้ฝึกงานกับนิตยสารอิมเมจ ได้มีโอกาสร่วมงานกับพี่ๆ รุ่นใหญ่ๆ ที่ถ่ายแฟชั่นกัน เราก็ชอบมาก มันเป็นอะไรที่ใช่ เลยตัดสินใจไปเรียนต่อที่อเมริกา ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นให้เราได้ทำงานที่อเมริกาค่ะ คือพอจบปริญญาโท Master of Art in Photography จากมหาวิทยาลัย The Savannah College of Art and Design และ Master of Art in Photography, Video and Related Media ที่ Parsons The New School for Design แล้วมาเป็นช่างภาพที่นิวยอร์ก จนถึงวันนี้ค่ะ

Q : ตอนเรียนจบแล้วเริ่มต้นการเป็นช่างภาพที่นิวยอร์กอย่างไร เท่าที่ทราบคือนิตยสารในยุโรปและอเมริกานิยมจ้างช่างภาพฟรีแลนซ์มากกว่าประจำ เราไปไฟลต์กับเจ้าถิ่นอย่างไร
A : เริ่มต้นเลย เราถ่ายของเราเอง คือที่นิวยอร์กเขาจะมีระบบเรียกว่า test shoot เราเซ็ตทีมกับทีมงานเมกอัพอาร์ทิสต์ แฮร์สไตลิสต์ สไตลิสต์ พอได้งานก็เอาไป submission กับนิตยสารต่างๆ ทีมเราก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนจะมี career growth ของตัวเอง และเป็นการฝึกฝีมือให้เก่งขึ้นเรื่อยๆ นะคะ จะเรียกได้ว่าเกือบจะทุกคนจะได้งานจากแมกกาซีนใหญ่ๆ เข้ามาเรื่อยๆ ประมาณนั้นค่ะ แต่กระบวนการทำงานมันก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัยอย่างตัวนัทเทียค่อนข้างโชคดี เพราะว่าอยู่ในช่วงอุตสาหกรรมที่ผลัดเปลี่ยนจากออฟไลน์เป็นออนไลน์พอดี ฉะนั้นขั้นตอนการทำงานเกือบทุกขั้นตอนจะอยู่ในอินเตอร์เน็ตเกือบหมด ส่งงานผ่านอินเตอร์เน็ต ติดต่อผ่านอินเตอร์เน็ต การทำงานก็เลยง่ายขึ้น เดี๋ยวนี้สามารถทำงานกันข้ามโลกได้ค่ะ ช่างภาพในนิวยอร์กสามารถมีงานตีพิมพ์ในนิตยสารต่างประเทศได้ไม่ยาก

Q : เวลาดีลกับท็อปโมเดลยากไหมคะโดยเฉพาะพวกที่มีงานเดินแบบของแบรนด์ดังบ่อยๆ
A : ตัวนายแบบนางแบบปกติไม่เรื่องมากนะคะ โปรเฟสชั่นนอลตัวจริงเขาจะรู้ว่ามาเพื่อทำงานอะไรบ้างอยู่แล้วมาถึงปุ๊บเขาจะรู้หมดเลยว่าคอลไทม์กี่โมง แต่งหน้าทำผมใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วมาถึงก็ถ่ายๆๆ พวกนี้เขาผ่านประสบการณ์เยอะเพราะฉะนั้นเขาจะรู้ว่าเวลาเท่านี้ๆ เขาจะใช้ประโยชน์ให้เกิดสูงสุดได้อย่างไร ในแง่การทำงานถือว่าไม่ยากค่ะ แต่เราก็ต้องตรงต่อเวลาด้วย จะเอ้อระเหยลอยชายแบบไทยๆ ไม่ได้ อย่างตัวนัทเทียเคยทำงานกับ River Viiperiและ Daisuke ก็เป็นนายแบบชื่อดังทั้งคู่ และมีวินัยในการทำงานสูงมาก

Q : ระบบการทำงานของแมกกาซีนฝรั่งต่างจากไทยอย่างไร
A : ระบบการทำงานของเมืองนอกจะไม่ซับซ้อนนะคะ บ.ก. หรือ editor จะเป็นคนคิดธีม และมีคำสั่งมาว่าอยากจะได้เนื้อเรื่องประเภทนี้ รูปภาพประมาณนี้ แล้วก็ให้ทีมแฟชั่นไปแตกโจทย์มา หรือเราจะเป็นคน purpose ไปก็ได้ว่ามีไอเดียแบบนี้แบบนั้น ปัจจุบันเทรนด์นี้กำลังมา ทาเลนต์คนนี้กำลังมา แล้วเราก็มาแต่งโจทย์ก่อน แล้วค่อยเสนอเป็น proposal ไปทาง บ.ก. นิตยสาร ถ้าเขาสนใจเขาจะเลือกเรา และเราก็จะมีโอกาสได้งานถ่ายมากขึ้นค่ะ


Q : ความเป็นเอเชียมีผลกับการที่เราต้องแข่งขันกับฝรั่งชาติอื่นๆ มั้ยคะ
A : การแข่งขันแน่นอนยากอยู่แล้ว นิวยอร์กเป็นเมืองที่ทุกคนมาทุกคนไป มาแข่งกันจากทั่วโลก ฉะนั้นมันยากแน่นอน ยากกว่าที่อื่นๆ เพราะที่อื่นๆ เราแข่งเฉพาะช่างภาพที่เป็นโลคอลเท่านั้น แต่นิวยอร์กเราต้องแข่งกับช่างภาพทั่วโลก ช่างภาพจากยุโรปก็มา ช่างภาพจากอเมริกาด้วยกันเองอีก หรือช่างภาพจากเอเชีย หรือตอนนี้มาแรงมากคือจีน สำหรับการเป็นเอเชียหรือการเป็นคนไทยไม่ค่อยมีผลนะคะ อันนี้ต้องพูดในฐานะที่เราอยู่นิวยอร์กก็แล้วกัน เพราะว่าเป็นเมืองที่มีทุกชนชาติ ฉะนั้นเขาเจอคนหลากหลายประเภทอยู่แล้ว ถ้างานเราดีพอ คุณภาพเราดีพอ เรามีโอกาสแน่นอนค่ะ

Q : เคยร่วมงานกับช่างภาพบิ๊กเนมบ้างมั้ย อาทิ Steven Klein, Bruce Weber, Terry Richardson, Jengen Teller ฯลฯ
A : ยังไม่เคยร่วมงานกับช่างภาพระดับนั้นนะคะ แต่ว่ามีโอกาสร่วมงานโปรเจ็กต์ด้วยกัน แต่ไม่ได้เจอตัวจริง พอดีว่าเราเคยมีโอกาสถ่าย Top influencer ของอเมริกาชื่อ Lilly Singh ที่มียอดฟอลโลเวอร์ทั้งหมด 14 ล้าน ใน YouTube นะคะ เป็น Top Female YouTuber ผลงานก็ไปอยู่เทียบเคียบกับช่างภาพระดับท็อปเหมือนกัน แต่ว่าเราไม่ได้ร่วมงานด้วยกันโดยตรงค่ะ

Q : ทำมาเกือบ 10 ปีแล้ว พอใจในจุดที่เรายืนหรือยังครับ
A : ยังค่อนข้างไม่พอ

Q : แล้วจริงๆ เรามีเป้าหมายอะไรในชีวิต
A : ส่วนตัว ตอนที่เด็กกว่านี้ อยากจะกลับมาถ่ายแฟชั่นให้นิตยสารไทย แต่ด้วยความที่เราไปอยู่อเมริกา แล้วเราก็มีโอกาสได้ทำกับนิตยสารต่างประเทศค่อนข้างเยอะ เราก็อยากจะก้าวไปถึงจุดใหม่ๆ ของชีวิต ซึ่งช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นัทเทียมีโอกาสไปทำงานกับเซเลบริตี้ของอเมริกามากขึ้น ก็รู้สึกว่ามันไปในจุดหนึ่งที่เรายังไม่ได้ทำ เพราะฉะนั้นช่วงที่จะกลับไปในปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป จะมุ่งไปทางเซเลบริตี้ที่ฮอลลีวูดค่ะ

Q : คือจะข้ามฝั่งไปทำงานฝั่งเวสต์โคสต์แทน
A : ใช่ค่ะ จะข้ามไปทำที่แอลเอ


Q : ที่ผ่านมาร่วมงานกับใครแล้วประทับใจมากที่สุดคะ
A : ถ้าที่ประทับใจมากเนี่ย ถ้าเป็นเซเลบริตี้ น่าจะเป็น Alex Wolff เขาเป็นดารารุ่นเด็กนะคะ แต่กำลังมาค่ะ เขาเคยเล่นหนังเรื่อง Patriots Day กับ Matt Damon และแสดงเรื่อง Jumanji ภาคล่าสุดกับเดอะร็อก และเล่นหนังสยองขวัญเรื่อง Hereditary ด้วยค่ะ เป็นคนที่ทำงานง่าย เป็นกันเองมาก ด้วยความที่เขายังเด็กด้วยแหละ เราก็เลยค่อนข้างมีความสุขกับการทำงานกับเขา ไม่ได้เรื่องเยอะ มาตรงเวลา ให้ทำอะไรก็ทำ ถ่ายกันเหมือนเล่นมากกว่า เราก็ได้ทดลองงานใหม่ๆ ด้วย ส่วนนายแบบนางแบบที่ทำมาแล้วมีความสุข คิดว่าน่าจะเป็น River Viiperiลูกครึ่งสแปนิช กิ๊กเก่าปารีส ฮิลตัน คนนี้ค่อนข้างเป็นกันเอง เขายังเด็ก แล้วก็ถอดเสื้อเก่ง รู้จักขายของ (หัวเราะ)

Q : ความเป็น LGBT ของเรากับการทำอาชีพตรงนี้ ทำให้เรามีจุดแข็งอะไรบ้าง
A : หลักๆ ก็คือเราเข้ากับทุกคนได้ง่าย ไม่มีอคติ มีหัวใจที่เปิดกว้าง แล้วก็ทำงานอย่างสร้างสรรค์

Q : ตอนที่เจอกับนัทใหม่ๆ ตอนนั้นยังดูบอยๆ อยู่เลยใช่ไหมคะ
A : ใช่ค่ะ พอดีเพิ่งกลับมา แล้วก็ทำเรื่องทำการ transition ได้ประมาณ 2 ปี ตอนก่อนหน้าค่อนข้างจะเป็นผู้ชายอยู่ (ยิ้ม)

Q : แล้วทางครอบครัวว่าอย่างไรบ้างคะ
A : ครอบครัวรับได้นะคะ คือจริงๆ ทางบ้านเขาค่อนข้างรับรู้มานานแล้ว แล้วเราก็อยากให้เขายอมรับเรามานานแล้วล่ะ โดยรวมๆ ก็เกือบ 10 ปีนะ มันเคยมีเหตุการณ์ในอดีตที่เรากระทำความผิดลงไปขั้นเข้าโรงพยาบาล เพราะช่วงนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็ยังรับไม่ได้ และทุกคนก็ไม่อยากการกล่าวถึงอีก มันก็เหมือนเป็นปมหนึ่งของเราในการทำงาน ซึ่งปมอันนี้มันก็เป็นข้อดีของเราจุดหนึ่งที่ทำให้เราอยากต้องต่อสู้เพื่อให้เขายอมรับเราในสิ่งที่เราเป็น เราก็เลยสู้ในการเป็นช่างภาพที่นิวยอร์ก เราต้องประสบความสำเร็จให้ได้ เมื่อเราถึงจุดนี้ เราก็เลยตัดสินใจว่า เอ๊ะ มันถึงเวลาของเราแล้วแหละ ที่เราต้องเดินด้วยตัวเราเอง ก็เลยตัดสินใจขอไปคุยกับคุณพ่อคุณแม่ เขาก็รับได้ เราก็ยินดี

Q : ในเมืองนอกมีช่างภาพที่เป็นทรานส์เจนเดอร์เยอะไหม หรือว่าส่วนใหญ่เป็นเกย์
A : เท่าที่รู้ยังไม่มีนะคะ จะมีก็เป็นสองพี่น้อง Wachowski ที่ทำเรื่อง The Matrix แต่คนนั้นเป็นผู้กำกับ ช่างภาพภาพนิ่งโดยตรงที่เป็นทรานส์เจนเดอร์ยังไม่เคยเจอนะคะ จะมีเหมือนกัน แต่จะออกไปทางแนวไฟน์อาร์ต แต่ไม่ใช่คอมเมอร์เชียลที่เป็นแฟชั่นเท่าไร

Q : ถ้าเป็นในสังคมไทย ช่างภาพที่เป็นเกย์มักจะโดนเมาท์ว่าต้องกินนายแบบสนั่นแน่เลย ที่เมืองนอกเขามีเมาท์กันอย่างนี้บ้างไหม
A : ก็มีนะคะ มีเพื่อนๆ ที่เป็นช่างภาพผู้ชายที่เป็นเกย์นะคะ เขาก็มี ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเมาท์หรือเปล่า แต่เราก็ได้ยินข่าวทำนองนี้บ้าง แต่ว่ามันก็เป็นเรื่องปกติค่ะ บางที affection ในกองถ่ายหรือในการทำงานมันก็มี แล้วช่างภาพเดี๋ยวนี้ก็ดูแลตัวเองใช่ไหม คนที่เป็นนายแบบเอง เราต้องรู้ว่าเขาเป็นอะไร แล้วเขาก็อาจจะแบบสนใจอะไรบางอย่าง ณ จุดนั้น มันก็มีอะไรเกิดขึ้นได้ ซึ่งเอาจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าไม่กระทำการล่วงเกิน ถ้ายอมรับได้ทั้งสองฝ่าย ก็เป็นเรื่องปกติค่ะ

Q : เราเป็นช่างภาพ เคยมีช่างภาพในดวงใจไหมว่า เราชอบงานคนนี้มากเลย เป็นไอคอนของเราเลย
A : มีค่ะ เมื่อก่อนนัทเคยดูรายการสุริวิภา เป็นเทปที่สัมภาษณ์พี่ณัฐ ประกอบสันติสุข เขาก็โชว์ภาพ ซึ่งเป็นช่างภาพที่เขาชื่นชอบอีกทีหนึ่งนะคะ ชื่อว่า Sarah Moon ตอนนั้นเรายังเด็ก 10 กว่าปี เราก็จำไม่ได้หรอกว่าเขาคือใคร แต่พอเราไปเห็นภาพเขาอีกที ถึงกับร้อง เอ๊ะ! ภาพของคุณซาราห์ มูนนี่มันตราตรึงใจจริงๆ เลยเป็นหนึ่งในช่างภาพที่เราชอบมาก ถ้าปัจจุบัน ด้วยความที่เราอยากจะไปทำทางด้านเซเลบริตี้กับบุคคลสำคัญก็เลยค่อนข้างชื่นชอบภาพของ Mark Seligerกับ Annie Leibovitz เสียส่วนใหญ่ช่วงนี้

Q : Annie Leibovitz นี่เป็นครูเลยนะ
A : ใช่ค่ะ เป็นครูของช่างภาพอีกทอดหนึ่ง

Q : อยู่นิวยอร์กไลฟ์สไตล์ที่นั่นเป็นอย่างไรบ้าง ช่างภาพไปแฮงก์เอาต์อะไรอย่างไร
A : แรกๆ ตอนที่เรายังใหม่ๆ อยู่ เราก็คิดว่า เอ๊ะ เราต้องเข้าวงการ ต้องมี networking ต้องรู้จักคนเยอะๆ มีไปปาร์ตี้คอมบ้าง ปาร์ตี้คอม หมายถึงไปปาร์ตี้กลางคืนกับกลุ่มนี้ ผ่านไป 2 ชั่วโมง เราก็วิ่งไปอีกบาร์หนึ่ง เพราะฉะนั้นนี่คือเมาทั้งคืนนะคะ แต่ว่าพอถึงจุดหนึ่งที่เราทำงานแล้วเรารู้ว่าการจะได้งานต้องทำอย่างไร connection คืออะไร หลักๆ เลยไม่ค่อยได้ไปเท่าไหร่ แต่ว่าคุยงานกับทีมที่ดีลงานด้วยกันให้รู้เรื่องมากกว่า

Q : อยู่ในนิวยอร์กมาตั้งนาน อยากให้เล่าถึงความหลากหลายทางเพศในนิวยอร์กว่าปัจจุบันนี้เขาเป็นอย่างไรบ้าง แลกเปลี่ยนให้คนไทยได้ฟัง เผื่อว่าคนกรุงเทพฯ อาจจะยังไม่เคยเห็นซีนในนิวยอร์กว่า LGBT ที่นั่นเป็นอย่างไร เพราะว่าที่นี่ก็จะมีคาแร็กเตอร์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งมันต่างกันค่อนข้างเยอะ
A : ความหลากหลายทางเพศของนิวยอร์ก มันมีหลากหลายมากกว่าคำว่าทางเพศนะคะ ถ้าเอาจริงๆ มันมีคนทุกประเภท ทุกหมู่ ทุกชนชั้น ทุกความคิด เวลาเดินบนถนน เราก็จะเห็นคนที่หลากหลาย การแต่งตัว expression การแสดงออกที่แตกต่างจากเรา เขาอาจจะใส่ชุดสีรุ้งเรนโบว์ หรือใส่ชุดเขียวทั้งตัว ซึ่งหรือมีนกบนหัว หรือบางคนก็จูงสัตว์อะไรสักอย่าง ที่เคยเห็นนกยูงก็มีนะคะ เขาถือสิ่งนี้เป็นเหมือนกับเพื่อนคู่ใจเขา เหมือนเราเลี้ยงหมาเลี้ยงแมว เพราะฉะนั้นความแตกต่างมันทำให้นิวยอร์กมีเสน่ห์ ในขณะที่เมืองไทยเราเดินไปไหน เราจะเห็นคนที่ไม่แตกต่างกันนัก อาจจะด้วยความที่เราเป็นชาติคนหัวดำกลุ่มเดียว ความแตกต่างมันมีจริง แต่ว่าเราอาจจะมองเห็นได้ยากกว่า

Q : แสดงว่านิวยอร์กนี่เปิดและรับรองสิทธิการแสดงออก
A : โดยรวมๆ โอเพ่นนะคะ แล้วเขาก็มีกฎหมายรองรับป้องกันสิทธิ เช่น Discrimination laws คือห้ามลิดรอนสิทธิของผู้อื่น เบสออนเชื้อชาติ สีผิว หรือการแสดงออก อีกอย่างนิวยอร์กเป็นเมืองที่เจริญแล้ว คนไม่ค่อยแคร์กันเท่าไร นานๆ เราจะมีข่าวเสียทีว่ามีการทำร้ายร่างกายเพราะการแสดงออกทางด้าน gender expression หรือคำพูด หรือเชื้อชาติสีผิวนะคะ แต่รวมๆ ไม่ค่อยมี ที่เราจะเห็นเรื่องการทำร้ายร่างกายหนักๆ จะเป็นรัฐอื่นๆ มากกว่า ซึ่งส่วนมากจะเป็นโซนกลางๆ ของประเทศอเมริกา ที่เขาเรียกว่าเป็น White dominance ก็คือกลุ่มชนคนขาวเสียส่วนใหญ่ ทำให้เขาไม่ค่อยมีโอกาสได้เจอกับคนที่แตกต่างจากตัวเขาเอง เขาก็เลยค่อนข้างแอนตี้

Q : คิดจะขอซิติเซนที่นั่นหรือเปล่าคะ
A : ยังไม่ได้ขอค่ะ แต่คิดว่าจะแต่งงานค่ะ (หัวเราะ)

Q : อยากให้พูดถึงกฎหมายแต่งงานนิดหนึ่ง ตอนนี้ไทยกำลังพุชเรื่องนี้อยู่ แล้วอนาคตยังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไรนะ คิดว่าประเทศไทยควรจะมีกฎหมายแต่งงานเพศเดียวกันไหม
A : กฎหมายแต่งงานเพศเดียวกัน ในมุมมองของนัทเทีย อันนี้ส่วนตัวนะคะ คิดว่าถ้ามีจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ก่อนที่จะมี มันก็มีเรื่องอื่นที่สำคัญกว่า เช่น เรื่อง HIV เรื่อง discrimination laws เพราะว่ากฎหมายการแต่งงานโดยปกติมันเป็นเรื่องของชนชั้นกลาง แต่ว่ากฎหมายพื้นฐานที่เป็นเรื่องของการแสดงออกต่างๆ หรือเรื่องสุขภาพ มันเป็นของทุกชนชั้น เลยอยากจะให้พุชทางด้านนั้นมากกว่า นี่คือส่วนตัวนะคะ

Q : เมืองไทยเรากำลังจะมีเลือกตั้งปีหน้า คิดว่าสิ่งที่นักการเมืองควรจะทำให้ LGBT ในเมืองไทยมีอะไรบ้าง
A : ในมุมมองของนัทเทีย จากการที่ใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกามา มองว่าอยากจะให้นักการเมืองหรือกลุ่มคนที่มีพาวเวอร์ในการเปลี่ยนแปลงสังคม หันมาสนใจกับเรื่องการปรับภาพลักษณ์ของ LGBT มากกว่า จำได้เลย ตอนสมัยยังเป็นผู้ชายอยู่ ตอนนั้นเราก็ยังงงๆ กับชีวิต คือเรารู้แหละว่าเราเป็นเกย์ เราชอบผู้ชาย แล้วเราจำได้ว่าเคยไปเดินพาเหรดครั้งแรกที่อเมริกาในงาน gay pride แล้วตอนนั้นไม่เข้าใจคำว่า gay pride คืออะไร จนไปเห็นการเฉลิมฉลองจริงๆ ของเขาที่อเมริกาว่า มันคือความภาคภูมิใจจริงๆ ถึงแม้เขาจะใส่จีสตริงตัวเดียวแล้วเดินเต้นระบำอยู่กลางถนน แต่ว่าเขามีความภาคภูมิใจ อันนี้รู้สึกว่าเมืองไทยยังขาดในจุดนี้ อาจจะมีจริง แต่ว่ามันยังอยู่ในกรุงเทพฯ หรือบางจังหวัดนะคะ

Q : อันนี้พี่ตอบได้ค่ะ ที่กรุงเทพฯ หรือเมืองไทยมันไม่มีงาน pride ใหญ่โตอย่างนั้น เพราะ gay community ในไทย มันไม่เข้มแข็งเหมือนยุโรปและอเมริกา คือยุโรปและอเมริกา เขาจะมีการรวมกลุ่มกันที่เหนียวแน่น แล้วเวลาที่เขามีประเด็นที่จะพุชเรื่องอะไรสักอย่างหนึ่ง เขาจะมีความ unity ในการที่จะออกไปพร้อมกัน แต่ในเมืองไทยมันยังมีวัฒนธรรมเรื่องคำว่า หมั่นไส้กัน มันก็เลยกลายเป็น…
A : ค่ะ ก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย หวังว่าอีกไม่นานน่าจะ unity กันมากขึ้น

Q : อยู่ที่นั่นได้เข้าไปจอย gay community กับเขาหรือเปล่าคะ
A : เข้านะคะ ก่อนจะกลับมาเมืองไทย ค่อนข้าง involve กับ HIV Positive Group นะคะ แล้วอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ transgender community ค่ะ ตอนนั้นยังไม่ได้ transition เราก็เข้าไปนั่งฟัง เข้าไปเข้าใจความคิดของเขา ซึ่งเราค่อนข้างรู้แหละว่าเราอยากเป็นผู้หญิง ตอนนั้นยังไม่ได้ตัดสินใจเรื่องของการเปลี่ยนแปลง ก็มีโอกาสได้เข้าไปนั่งฟังเขา ซึ่งตรงนี้ก็เหมือนกัน ที่เมืองไทยไม่มีนะคะ ในการที่พี่มาพูดให้น้องฟังเกี่ยวกับเรื่องการแปลงเพศ หรือ struggle ในการแปลงเพศ หรือการใช้ชีวิตอะไรก็ตามแต่ เมืองไทยเราไม่เห็นมี ส่วนใหญ่ในบ้านเราจะเป็นแบบ informal คือเรารู้จักใครเขามาเล่าให้ฟังกันส่วนตัว แต่มันไม่มีกลุ่มที่เป็น unity รวมกันเพื่อพุชagenda ขึ้นมา

ติดตามผลงานของนัทเทียได้ที่
Web : www.nuttia.com
Instagram : nuttia_s
faceboook : https://www.facebook.com/Nuttiayakshare




]]>
ชีวิตหลังวิวไฟน์เดอร์ของ ‘วิรุนันท์ ชิตเดชะ’ ไลก้าแอมบาสเดอร์ประเทศไทย ช่างภาพผู้สนใจเรื่องราวระหว่างทางมากกว่าจุดหมาย https://marshomme.com/interview/1018/ Tue, 29 Jan 2019 17:10:00 +0000

หลายๆ คนรู้จัก วิรุนันท์ ชิตเดชะ ในฐานะช่างภาพที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับต่างประเทศมากมาย ไล่ไปตั้งแต่งานภาพถ่ายสไตล์พอร์ตเทรต แฟชั่น งานคอนเซ็ปต์ชวลไปจนถึงงานโฆษณา เจ้าของสตูดิโอถ่ายภาพที่ชื่อว่า Le Photographe BKK และที่สำคัญยังเป็นตากล้องเพียงไม่กี่คนที่ได้รับเลือกให้เป็น Leica Thailand Ambassador อีกด้วย

แม้เราจะเห็นผลงานและบทบาทที่หลากหลายจากผู้ชายคนนี้ แต่ในการถ่ายภาพเขากลับยืนยันกับเราว่า สิ่งที่เขาเชื่อมั่นและค้นหาในชีวิต ไม่ใช่สไตล์ภาพถ่ายที่สวยงาม หรือดูพิเศษกว่าใคร แต่เขาสนใจเรื่องราวการเชื่อมต่อระหว่างทาง ที่การถ่ายภาพทำให้เราได้เรียนรู้ชีวิต และเหมือนได้เพื่อนเพิ่มอีกคนทุกๆ ครั้งที่เขาลั่นชัตเตอร์ และมาถึงวันนี้ เขาสนใจเรื่องราวชีวิตระหว่างเส้นทาง มากกว่าการนั่งหานิยามของคำว่าจุดหมายเสียอีก

“ทุกคนมีมุมมองต่อโลกที่เป็นของตัวเอง ทุกคนมีอัตลักษณ์ในแบบของตัวเองอยู่แล้ว แต่เมื่อเราเข้ามาสู่โลกคอมเมอร์เชียลแล้ว มันจะมีบรรทัดฐานของความสวยงามที่จับต้องได้และกำหนดไว้แล้ว ซึ่งผมคิดว่าถ้าคุณจะก้าวเข้ามาสู่โลกตรงนี้ มันก็เป็นเงื่อนไขบางอย่างที่คุณต้องยอมรับ”

มีคนมึนงงสับสนไหม เพราะเห็นทำหลายอย่างเหลือเกิน ถ่ายภาพก็หลายสไตล์
ผมเป็นคนที่มีหลายชื่อมาก สอนอยู่มหาวิทยาลัยเด็กเรียกผม “จารย์โต้ๆ” ออกมาข้างนอกคนเรียกคุณโต้ไลก้า คือเรียกไอ้โต้ก็ได้นะ จะได้สนิทๆ กันหน่อย (หัวเราะ) เพราะผมจะเขินๆ ทุกครั้งเลย และตอบไม่ค่อยถูกเวลามีคนมาถามผมชื่นชมผมอะไรแบบนั้น

ชีวิตคุณเริ่มสนใจการมาเป็นช่างภาพตั้งแต่เมื่อไหร่
มันค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปมากกว่าครับ ที่บ้านผมชอบถ่ายรูป เวลาไปไหนมาไหนจะถ่ายรูปกัน กล้องตัวแรกของผมคุณพ่อเป็นคนเอามาให้ โฟกัสเข้าบ้างไม่เข้าบ้าง จนถึงตอนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยก็มีชมรมถ่ายภาพ ผมเริ่มจริงจังกับมันมากขึ้น แล้วผมเป็นเหมือนเด็กคนหนึ่งที่ตื่นเต้นกับชีวิตมหาวิทยาลัย เพื่อนทำอะไรก็จะเฮโลไปทำด้วยกัน ไปทำหนังกับเพื่อน ไปถ่ายรูปกับเพื่อน แล้วมันค่อยๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ พอเราถ่ายรูปออกมาแล้วมีคนชมว่ารูปเราสวย มันเป็นกำลังใจที่ทำให้เรารู้สึกว่า เฮ้ย หรือเราจะมีพรสวรรค์ทางด้านนี้ แล้วค่อยๆ สั่งสมมาเรื่อยๆ จนมาถึงวันหนึ่งที่เรารู้สึกว่าเออเรารักไอ้การถ่ายรูปนี้

แล้วเรียกตัวเองว่าเป็นตากล้องจริงๆ ได้เมื่อไหร่
ก่อนหน้านี้ผมไม่ค่อยกล้าเรียกตัวเองว่าช่างภาพเท่าไหร่ มันมีตอนช่วงปีสามสมัยที่ผมเรียนมหาวิยาลัยผมไปฝึกงานที่สำนักข่าวต่างประเทศ EPA ไปฝึกถ่ายภาพข่าวเชิงสารคดี แล้วมีวันหนึ่งเรากับพี่ๆ ที่ออฟฟิศทำงานเสร็จก็ไปสังสรรค์ปาร์ตี้กันต่อ แต่พอวันรุ่งขึ้นผมแฮงก์มาก เข้าออฟฟิศสายเลย พอไปถึงปรากฏว่าพี่ๆ ที่กินเหล้าปาร์ตี้กับผมเมื่อคืนทุกคนเลย มากันตั้งแต่เช้า ผมถามพี่เขาว่าเข้ามากันนานแล้วเหรอครับ เขาบอกกับผมว่าเข้าเวลาปกติ วันนี้เป็นวันหยุดพิเศษเหรอใครให้มึงลาได้เหรอ วันนั้นมันทำให้ผมรู้เลยว่าคำว่าช่างภาพมันคือความรับผิดชอบ ไม่ใช่แค่ถ่ายรูปเป็น เพราะใครๆ ก็ถ่ายรูปเป็น ทุกคนมีสมาร์ทโฟนหมด แต่การเป็นช่างภาพพอเราบอกตัวเองว่าเป็นอาชีพแล้ว เราต้องมีความรับผิดชอบกับตัวเอง กับทีมงาน กับลูกค้า จนวันที่ผมรับผิดชอบสิ่งเหล่านี้ได้แล้วผมจึงสามารถเรียกตัวเองว่าช่างภาพได้เต็มปากเต็มคำ ซึ่งก็สักประมาณสามปีเองมั้งครับ

ความหมายของคำว่า ‘มืออาชีพ’ สำหรับคุณคืออะไร
ผมว่าเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบัน ทุกวันนี้เรามีช่างภาพเกิดขึ้นมากมายแต่ละปี เอาแค่ที่ผมสอนที่ลาดกระบัง ปีเดียวมีช่างภาพรุ่นใหม่ๆ เรียนจบประมาณสี่สิบคนแล้ว นี่แค่สถาบันเดียว ไม่นับคนที่เรียนสายอื่นแต่เบนเข็มมาเป็นช่างภาพอีก อย่างเมื่อก่อนผมเป็นคนที่โคตรเกลียดงานโฆษณาเลย คือผมมองว่าเรื่องแบรนดิ้งเป็นเรื่องหลอกลวง เป็นเรื่องที่ทำให้คนเราเกิดกิเลสอยู่กับทุนนิยมผมต่อต้านเรื่องอะไรแบบนี้มากๆแต่ตอนนั้นผมอยากรู้เทคนิคการถ่ายภาพ ก็เลยไปเรียนที่ Speos Photographic Institute ที่ฝรั่งเศสมา 3 ปีและมีโอกาสได้ไปทำงานถ่ายภาพที่อังกฤษอยู่อีกปีหนึ่ง เสร็จแล้วมันตลกมากว่าพอกลับมาที่ไทยงานแรกที่สร้างชื่อของผมดันเป็นงานโฆษณา และผมถ่ายโฆษณารัวๆ มาตลอดเลย (หัวเราะ)

ผมเชื่อว่าทุกคนมีมุมมองต่อโลกที่เป็นของตัวเองทุกคนมีอัตลักษณ์ในแบบของตัวเองอยู่แล้ว แต่เมื่อเราเข้ามาสู่โลกคอมเมอร์เชียลแล้ว มันจะมีบรรทัดฐานของความสวยงามที่จับต้องได้และกำหนดไว้แล้ว ซึ่งผมคิดว่าถ้าคุณจะก้าวเข้ามาสู่โลกตรงนี้ มันก็เป็นเงื่อนไขบางอย่างที่คุณต้องยอมรับ มันเหมือนคุณเข้าโรงเรียนและโรงเรียนนี้มีกฎของมันอยู่ ซึ่งคุณเซ็นใบยอมรับกฎนั้นไปเรียบร้อยแล้ว แต่ผมพยายามนะที่อยากให้งานในลายเซ็นของเราถูกนำไปใช้ในแบบที่เขาจ้างเราเพราะชอบสไตล์ แต่ผมว่าตลาดในประเทศไทยยังไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้นเหมือนกับอเมริกาที่ช่างภาพแต่ละคนมีคาแร็กเตอร์ชัดเจน และมีตลาดงานรองรับอย่างเพียงพอ และถ้าตลาดปรับเปลี่ยนไม่ได้ เป็นเราที่ต้องปรับตัวเอง

คุณถ่ายภาพในหลายสไตล์มากๆ แต่อะไรที่คุณคิดว่าเป็นตัวเองมากที่สุด
ผมชอบถ่ายคนมากที่สุด ชอบภาพพอร์ตเทรต แม้กระทั่งงานแฟชั่นของผมมันจะมีความเป็นพอร์ตเทรตอยู่สูง ผมไม่สามารถเอานายแบบนางแบบมาดัดตัวทำท่าเอ็กซ์ๆ ได้ ผมจะไม่มีเซ้นส์ด้านนั้นเลยนะ แต่ผมจะเชื่อในความเป็นคนของแบบที่เราถ่าย ถ้าเจอนายแบบนางแบบผมจะพยายามทรีตเขาให้เป็นคนมากที่สุด วิธีการทำงานแฟชั่นกับพอร์ตเทรตของผมจะคล้ายๆ กันเลย ที่พยายามจะรู้จักตัวตนของเขาให้มากที่สุด และดึงเอาความเป็นตัวเขาออกมา ซึ่งผมถนัดถ่ายภาพพอร์ตเทรตผู้ชายมากกว่าผู้หญิงด้วยซ้ำ ซึ่งไม่ดีเลย เดี๋ยวบทสัมภาษณ์นี้ออกไปเขาให้ผมถ่ายแต่ผู้ชาย (หัวเราะ)

“ทุกครั้งที่ผมถ่ายภาพพอร์ตเทรต ผมรู้สึกว่าเหมือนมีเพื่อนเพิ่มมาอีกคนหนึ่ง และผมเป็นคนที่เชื่อในเรื่องของความสัมพันธ์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความน่าสนใจ ชีวิตทุกคนมันมีความเทาๆ ผสมอยู่ ผมมีความสุขในการได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากคนที่ผมถ่ายภาพทุกวัน”

เสน่ห์ของภาพพอร์ตเทรตคืออะไร
มันคือการที่เราได้มานั่งคุยกันแบบนี้แหละ ทุกครั้งที่ผมถ่ายภาพพอร์ตเทรต ผมรู้สึกว่าเหมือนมีเพื่อนเพิ่มมาอีกคนหนึ่ง และผมเป็นคนที่เชื่อในเรื่องของความสัมพันธ์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความน่าสนใจ ชีวิตทุกคนมันมีความเทาๆ ผสมอยู่ ผมมีความสุขในการได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากคนที่ผมถ่ายภาพทุกวันพอถ่ายภาพเสร็จแล้วเราก็ได้มาเป็นเพื่อนเป็นพี่เป็นน้อง ผมใช้กล้องถ่ายรูปเป็นใบเบิกทางในการเปิดให้ใครสักคนเข้ามาในชีวิต

หลายๆ คนพูดว่าการถ่ายรูปมันคือการขโมยเวลาและหยุดโมเมนต์นั้นเอาไว้ แต่สำหรับผม ผมเป็นคนชอบสร้างโมเมนต์ชอบสร้างเวลาในความสัมพันธ์ขึ้นมามากกว่า ซึ่งกล้องถ่ายรูปมันเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผมหยิบจับเวลา หยิบจับความคิดอะไรบางอย่างออกมา และใช้มันเป็นตัวสร้างความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างผมกับคนอีกคนขึ้นมากกว่า

พลังของภาพถ่ายมีผลยังไงบ้างกับยุคนี้ มันยังทรงพลังอยู่ไหม
ผมว่าภาพถ่ายมันคือการสื่อสารแบบหนึ่ง เหมือนภาษาที่เราคุยกัน ผมสร้างโมเมนต์อะไรบางอย่าง ผมสร้างบทสนทนา ถ้าผมถ่ายงานโฆษณา แน่นอนผมมีโจทย์ของลูกค้า ถ้าผมสร้างงานอะไรสักอย่างขึ้นมาที่ไม่ตอบโจทย์ของลูกค้า ไม่ว่าภาพผมมันจะดูดีแค่ไหน สวยแค่ไหน แต่ถ้ามันสื่อสารในแบบที่เขาต้องการไม่ได้ผมก็เฟล หรือถ้าผมทำโปรเจ็กต์ส่วนตัว แต่ว่าไม่สามารถสื่อสารให้คนที่อยากรับรู้เข้าใจได้ ผมก็เฟลเหมือนกัน ผมว่านี่คือพลังของภาพถ่ายในมุมมองของผม ว่าสิ่งที่เราสร้างมาเราสามารถถ่ายทอดมันออกไปได้ดีแค่ไหน

พอถ่ายรูปมาเรื่อยๆ เราจะได้เรียนรู้ว่า คนบางคนเวลาที่เขาหลับตา เขากลับส่งพลังได้มากกว่าการลืมตา บางครั้งเวลาเขาเอียงข้างแล้วมองขึ้นไป เขาเชื่อมต่อกับเราได้มากกว่าเวลาที่เขามองกล้องมาก มันเป็นโมเมนต์ที่ผมชอบและคิดว่าเป็นเสน่ห์ของการถ่ายภาพพอร์ตเทรต ว่าคนที่อยู่ตรงหน้าเราวันนั้นเขาคือใคร และเขาเหมาะกับภาพแบบไหน อันนี้ผมว่าเป็นหน้าที่ของช่างภาพที่จะถ่ายทอดอารมณ์นั้นออกมา แล้วถามช่างภาพคนไหนก็ไม่มีใครรู้หรอกครับ หรือแม้แต่ถามคนถูกถ่ายเองบางทีเขาก็ไม่รู้ มันขึ้นอยู่ระหว่างตัวแบบและช่างภาพที่จะเชื่อมต่อกันมากกว่า อันนี้คือสิ่งมหัศจรรย์

มีรูปถ่ายรูปไหนที่เปลี่ยนชีวิตคุณไปบ้าง
ไม่แน่ใจว่าผมเล่าได้ไหม มันมีงานภาพถ่ายเซ็ตหนึ่ง เป็นภาพพอร์ตเทรตของเพื่อนผม ซึ่งเป็นเพื่อนที่ผมสนิทด้วยมาตั้งแต่สมัยเด็กๆซึ่งเราสองคนมีความฝัน และตั้งใจที่จะสร้างออฟฟิศที่เรากำลังนั่งอยู่ตรงนี้นี่แหละขึ้นมาด้วยกัน (Le Photographe BKK) และเพื่อนผมเขาเก่งด้านตัวเลขไม่เก่งด้านศิลปะ ผมก็บอกเขาว่า เฮ้ย งั้นมึงไปเรียนด้านบัญชีนะ เพราะทุกบริษัทต้องมีฝ่ายบัญชีที่ดี แล้วเดี๋ยวกูจะไปเรียนนิเทศ แล้วจะมาเป็นฝ่ายครีเอทีฟให้ แล้วเหมือนอย่างที่ผมเล่า ว่าผมไปเรียนไปอยู่ต่างประเทศมาสักพัก และพอกลับมาเราทั้งสองคนคิดว่าได้บ่มเพาะวิชาของตัวเองมาระดับหนึ่งแล้ว เราเลยกำลังจะมาเปิดออฟฟิศด้วยกัน เสร็จปุ๊บเรื่องมันเหมือนละครมากเลยเขาตรวจพบว่าเขาเป็นมะเร็งที่กระเพาะอาหารขั้นที่สาม ในขณะที่กำลังสร้าง Le Photographe BKK ขึ้นมา ซึ่งเขาก็ต้องไปรักษาตัว และทุกครั้งที่ผมไปเยี่ยมเขาที่โรงพยาบาล ผมจะถ่ายรูปเป็นภาพพอร์ตเทรตเขาด้วยกล้องฟิล์ม ทุกครั้งที่ไปก็ถ่ายไปเรื่อยๆ จนถึงรูปที่สามสิบหกของโรลฟิล์ม มันเป็นรูปที่โรงศพของเขากำลังเข้าเตาเผาพอดี ผมต้องทำใจนานมากกว่าจะเอาฟิล์มม้วนนั้นมาล้างได้ แล้วพอเอาฟิล์มมาล้าง ผมเห็นทุกอย่างเป็นไทม์ไลน์เลย ตั้งแต่ช่วงเวลาที่เขายังมีผม ไปจนถึงทำคีโมแล้วผมร่วง แล้วก็เป็นวันเผา

ภาพเซ็ตนี้มันน่าจะเปลี่ยนผมมากที่สุด มันทำให้ผมรู้สึกว่าออฟฟิศนี้ที่ผมกำลังทำมันไม่ได้ทำเพื่อฝันของผมคนเดียวแล้ว ผมกำลังทำเพื่อความฝันของเพื่อนผมด้วย งานทุกงานที่ทำมันเหมือนแบกรับความฝันของคนอีกคนไปกับผมด้วย ผมรักโรลฟิล์มม้วนนี้มากๆ มันเหมือนว่าเขายังมีชีวิตอยู่ในฟิล์ม แม้เขาจะเสียไปหลายปีแล้ว ทุกครั้งที่ผมท้อในวิชาชีพ ซึ่งทุกคนมันมีอยู่แล้ว ผมจะหยิบรูปเซ็ตนี้ขึ้นมาดูว่าเฮ้ยคนที่เขามีความฝันเดียวกับเราแต่เขาไม่ได้อยู่ตรงนี้เราจะมาท้อแท้อะไรกับเรื่องขี้ประติ๋ววะ ผมว่าภาพนี้มันเปลี่ยนชีวิต มันให้คุณค่าทางใจกับผมที่สุด


“เราไม่ได้อยู่ในโลกยูโทเปีย ที่เราเกิดมาเราจะยิ้มแย้ม แล้วคาดหวังให้คนยิ้มไปกับเรานึกออกไหม คาดหวังให้คนทำดีกับเราตลอดเวลา ผมคิดว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนทุกคนในโลกได้ แต่เราเปลี่ยนสิ่งหนึ่งนั่นคือตัวเราเองในการมองโลก มองคนอื่น มองความทุกข์ได้”

มาถึงวันนี้มุมมองการใช้ชีวิตและการทำงานของคุณเป็นอย่างไร
ผมเป็นคนเชื่อระหว่างทางในการทำงานมากกว่าจุดหมายปลายทางเสียอีก เวลาน้องๆ ในทีมของผมทำงานผมอยากให้ทำงานแบบมีความสุข งานที่ดีมันต้องทำให้เรามีความสุข และทำให้เราภูมิใจเวลาออกไปทำงานทุกครั้ง ผมใช้วิธีคิดนี้ในการทำงานทุกอย่างในชีวิต

พูดเหมือนง่ายแต่ชีวิตที่เรามีความสุขกับการทำงานทุกอย่างนั้นมีอยู่จริงเหรอ
ผมรู้สึกว่ามันเป็นไปได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าพอทำงานงานหนึ่งแล้วไม่มีความสุขก็เลิกทำมันเสียเลย แต่เราลองมาวิเคราะห์ว่าทำไมแวบแรกเราถึงไม่มีความสุขในการทำงานกับมัน ผมเชื่อว่าทุกคนมีโมเมนต์ที่เราไม่ชอบในงานตัวเอง ผมเองผมทำงานมานาน ผมยอมรับว่ามันไม่ใช่ทุกครั้งที่ผมถ่ายภาพแล้วแฮปปี้กับมัน มันจะมีโมเมนต์ที่เราไม่ชอบ แต่มันก็จะมีโมเมนต์ที่เราชอบเกิดขึ้น ทั้งในการทำงานและการใช้ชีวิตของเราในทุกวัน

แต่ผมจะพยายามหาจุดสมดุล เวลาทำงานผมอาจจะมีจุดที่ไม่ชอบเต็มไปหมดเลย แต่ถ้าผมมีจุดใดจุดหนึ่งที่ผมมีความสุขกับมัน ผมก็จะพยายามหยิบไอ้ก้อนความสุขตรงนี้ให้ได้มากกว่ามวลรวมความไม่ชอบของผม ระหว่างทางการทำงานของผมมันเป็นแบบนี้มากกว่า ความสุขสำหรับผมมันคือความสุขที่ผสมความทุกข์นี่แหละ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะหยิบอะไรขึ้นมาเป็นสรณะในชีวิต เราไม่ได้อยู่ในโลกยูโทเปีย ที่เราเกิดมาเราจะยิ้มแย้ม แล้วคาดหวังให้คนยิ้มไปกับเรานึกออกไหม คาดหวังให้คนทำดีกับเราตลอดเวลา เราต้องการอะไรเยอะแยะแบบนั้นวะ ผมคิดว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนทุกคนในโลกได้ แต่เราเปลี่ยนสิ่งหนึ่งนั่นคือตัวเราเองในการมองโลก มองคนอื่น มองความทุกข์ได้

ความหมายของการถ่ายภาพของคุณจากวันที่เริ่มต้นถึงวันนี้มันเปลี่ยนไปไหม
ผมว่าไม่ค่อยเปลี่ยนนะ คือผมเป็นคนไม่ค่อยหาความหมายหรือรูปธรรมอะไรให้กับมันมาก วันแรกที่ผมหยิบกล้องถ่ายภาพผมชอบมันอย่างไร วันนี้ผมก็ยังชอบมันอย่างนั้น ถ้าจะเปลี่ยนอาจจะเป็นแค่ขนาดของงานที่มากขึ้นตามเวลามั้งครับ เราโตขึ้นงานก็มีหลายสิ่งหลายอย่างมากขึ้น แต่ทุกอย่างมันไม่เปลี่ยนไป ผมยังจำความรู้สึกในการกดชัตเตอร์ของผมได้ ผมรักมันยังไงก็ยังรักมันอย่างนั้น

]]>