Warning: Cannot modify header information - headers already sent by (output started at /var/www/marshomme.com/wp-content/plugins/wp_mgr_id/wp_mgr_id.php:1) in /var/www/marshomme.com/wp-includes/feed-rss2.php on line 8
เกม – Marshomme https://marshomme.com Wed, 05 Jun 2019 12:01:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.2.20 https://marshomme.com/wp-content/uploads/2019/10/logo2_icon-90x90.png เกม – Marshomme https://marshomme.com 32 32 Playdate เครื่องเล่มเกมที่ควรมีครอบครอง https://marshomme.com/scoop/987/ Wed, 05 Jun 2019 12:01:00 +0000
แม้หน้าตาจะคล้ายเกมบอยในตำนาน แต่ก็พอแยกแยะได้ว่า Playdate เครื่องเล่นเกมขนาดพกพาใส่กระเป๋ากางเกงได้สบายๆเครื่องนี้ มากับหน้าจอขาวดำให้อารมณ์วินเทจตัวหน้าจอเป็นจอกินไฟต่ำของ Sharp และมองเห็นได้ตอนอยู่ที่แดดจ้า ข้อเสียคือไม่มีไฟ backlight จึงไม่เหมาะกับการเล่นตอนกลางคืน ความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 400×240 และมีเพียงปุ่มทิศทางกับปุ่ม A/B เท่านั้น

ซิกเนเจอร์ของ Playdate จะอยู่ที่คันโยกหมุนได้ที่ด้านข้างของเครื่องความไม่ธรรมดาของ Playdate คือการรวมตัวของนักพัฒนาเกมอินดี้ชื่อดังมารวมตัวกันสร้างเกม สนนราคาของเครื่องทั้งชุดอยู่ที่ 149 ดอลลาร์ หรือราวๆประมาณ 5 พันบาทเป็นค่าเครื่องพร้อมเกม 12 เกม ซึ่งจะทยอยเปิดให้เล่นทีละสัปดาห์เป็นเวลา 12 สัปดาห์และจะวางขายจริงในปีหน้า







Credit Photo : Twitter Playdate

]]>
มองตลาดเกมในเอเชีย สู่ ‘JUMP FORCE’ เกมคอนโซลแรกที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย https://marshomme.com/interview/1024/ Wed, 16 Jan 2019 17:04:00 +0000

Thailand Gameshow 2018 เป็นงานที่คอเกมตัวจริงหลายคนเฝ้ารอ เป็นการเปิดพื้นที่ให้เหล่าเกมเมอร์ได้ใกล้ชิดกับบริษัทเกมมากที่สุดงานหนึ่ง หนึ่งในเกมที่เราคิดว่าน่าจับตามองจากบริษัทเกมยักษ์ใหญ่ BANDAI NAMCO Entertainment Asia ได้นำ ‘JUMP FORCE’ เกมคอนโซลแรกที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย

Mars Homme พาไปคุยแบบเอ็กซ์คูลซีฟกับ Mr.Rainel Tan ผู้จัดการทั่วไปของ BANDAI NAMCO Entertainment Asia ถึงเป้าหมายของเกม JUMP FORCE ว่ามีโอกาสพัฒนาไปไกลจนถึงขั้นแข่งขันกีฬา E-Sport ไหม รวมไปถึงตลาดเกมในบ้านเราและเอเชียเป็นอย่างไรในมุมมองของ Rainel Tan

ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่เกมของ BANDAI NAMCO ถูกถ่ายทอดเป็นภาษาไทยในเกม

เราได้รับคำถามจากแฟนเกมชาวไทยอยู่บ่อยๆ ว่าเมื่อไหร่จะมีเกมเป็นภาษาไทย การที่ได้มาทำเป็นภาษาไทยจะสามารถทำให้ทุกคนได้สนุกสนานกับเกมได้มากขึ้น และประเทศไทยถือว่าเป็นตลาดหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เติบโตเร็วมาก ทั้งจำนวนผู้เล่นเกมที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเกมต่างๆ ทาง BANDAI NAMCO จึงอยากเข้ามาพัฒนาเกมของเราให้มีความเป็นโลโคไลซ์มากขึ้น

JUMP FORCE เป็นเกมแบบไหน แล้วมีอะไรพิเศษสำหรับการเปิดตัวครั้งนี้

JUMP FORCE เป็นแฟรนไชส์มังงะ/อะนิเมะที่คลาสสิกและได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ไม่ว่าจะเป็นดราก้อนบอล Z วันพีซ นารูโตะ ฯลฯ โดยผู้เล่นจะสร้างทีมต่อสู้ในฝันได้จากตัวการ์ตูนมังงะ/อะนิเมะสามตัวละคร และนำเหล่าตัวละครเข้าสู่สังเวียนต่อสู้ล้ำสมัย โดยฉากหลังเป็นสถานที่สำคัญที่มีชื่อเสียงทั่วโลก รวมถึงไทม์สแควร์ของนิวยอร์ก และยอดเขาแมทเทอร์ฮอร์น ในเทือกเขาแอลป์ มีการใช้ Unreal Engine 4 ทำให้ JUMP FORCE ได้นำพาวัฒนธรรมป๊อปอันยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่นให้มีชีวิตเป็นครั้งแรกท่ามกลางรายละเอียดที่สมจริง

นอกจากนี้ยังได้เพิ่มตัวละคร ‘ซาเอบะ เรียว’ จากเรื่องซิตี้ ฮันเตอร์ และ ‘เคนชิโร่’ จากเรื่อง ‘หมัดเทพเจ้าดาวเหนือ’ เข้าในเกม JUMP FORCE ซาเอบะ เรียว คือตัวเอกในการ์ตูนชุดซิตี้ ฮันเตอร์ เขาถูกเลี้ยงดูมาเป็นนักสู้ฝ่ายกบฏ และได้ก่อตั้งกลุ่ม ‘ซิตี้ ฮันเตอร์’ ขึ้นในโตเกียว ต่อมาได้กลายเป็นนักแม่นปืนฝีมือเยี่ยม ซึ่งเป็นที่กล่าวขานถึงในฝีมือยิงแบบ ‘วันโฮลช็อต’ ไม่พลาดตำแหน่งเดิม และฝีมือต่อสู้ระยะประชิดที่เฉียบขาด

เคนชิโร่ คือสัญลักษณ์ และตัวเอกจากการ์ตูนชุดหมัดเพชฌฆาตดาวเหนือ ผู้ท่องไปในโลกหลังสงครามนิวเคลียร์ ต่อสู้ในแบบโฮคุโตะ ชินเค็น หรือศิลปะการต่อสู้แบบโบราณที่มีรากฐานมาจากรูปแบบการต่อสู้ที่หลากหลาย เพื่อปกป้องผู้อ่อนแอและผู้บริสุทธิ์ สไตล์การต่อสู้ของเขาคือการใช้ ‘หมัดอุดรเทวะ’ หรือที่รู้จักในฐานะหมัดสังหารที่รวบรวมพลังไว้ในหมัดเดียวเพื่อทำลายจุดต่างๆ ในร่างกายศัตรู

JUMP FORCE จะไปไกลเกินกว่าเกมคาแร็กเตอร์ ก้าวเข้าไปสู่ความเป็น E-sport ที่คนทั้งโลกจะมาแข่งขันกันได้ไหม

สำหรับเป้าหมายของ JUMP FORCE ไม่ได้มองแค่ตัว E-sport เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเกมสำหรับกลุ่มคนที่ชื่นชอบในตัวละครมังงะกับอะนิเมะหรือตัวโปรดักส์อื่นๆ อย่างดราก้อนบอล ที่สามารถเป็นเกมเข้า E-sport ได้ ซึ่งเราก็ไม่ได้โฟกัสว่ากลุ่มคนที่มาเล่นนั้นจะต้องเป็นกลุ่มไฟติ้งหรือฮาร์ดคอร์เพียงอย่างเดียว

มองตลาดและอนาคตของ VR Game ไว้อย่างไร

เป็นเทคโนโลยีทางด้านเกมที่การพัฒนานั้นอยู่กับตัวฮาร์ดแวร์ แต่ถ้าในอนาคตฮาร์ดแวร์สามารถเพิ่มอัพเกรดได้มากขึ้นการพัฒนา VR Game ก็จะง่ายถือเป็นรูปแบบใหม่ของกลุ่มเล่นเกม เรามีการนำ VR Game มาเปิดตัวในงานนี้ด้วย

สำหรับคนเล่นเกมจะพบว่าเกมจากมังงะจะยังไม่ค่อยสมบูรณ์ แต่ดราก้อนบอล Fighter Z เหมือนเป็นการปลดข้อด้อยตรงนี้ให้สมบูรณ์มากขึ้น ในอนาคต Mechanic Design จะทำให้เหล่าบรรดาเกมเมอร์ฮาร์ดคอร์หันมาเล่นมากขึ้นไหมหรือจะเป็นแค่เกมจากคาแร็กเตอร์เท่านั้น

ทางบริษัทมีโปรดักส์ที่หลากหลายสำหรับกลุ่มของฮาร์ดคอร์ ส่วนโปรดักส์สำหรับกลุ่มแฟนอะนิเมะ มังงะ จะเป็นเรื่องราวของเหล่าการ์ตูน และในขณะเดียวกันก็ถือเป็นความสำเร็จของดราก้อนบอลไฟเตอร์ z ที่มีกลุ่มผู้เล่นขยายตัวมากขึ้นรวมทั้งแฟนคลับของ RPG และกลุ่มไฟติ้ง

มองปัญหาเรื่องเกมสเปเชียลอิดิชั่นหาซื้อค่อนข้างยากในตลาดประเทศไทยอย่างไร และจำนวนสเปเชียลอิดิชั่นที่ออกมาในแต่ละครั้งก็น้อยมาก

JUMP FORCE ที่ทำให้เป็นภาษาไทย เพราะเชื่อว่าการเติบโตของเกมในประเทศไทยจะมีมากขึ้น ส่งผลให้เราวางแผนที่จะนำสินค้าเข้ามาขายในไทยมากขึ้นเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันความเจ๋งของสเปเชียลอิดิชั่นที่มันหายาก ก็จะยังรักษาเสน่ห์ตรงนี้เอาไว้ด้วย

ในตลาดเกม ระหว่างเกมแผ่นกับการดาวน์โหลดอะไรที่ทำรายได้มากกว่ากัน

ตลาดภาพรวมของโลก เกมดาวน์โหลดยอดเติบโตสูงขึ้นและค่อนข้างมากกว่าแผ่นเกม แต่ก็ไม่ได้ต่างกันเยอะมาก ในทางตรงกันข้าม ตลาดใน South East Asia คนที่ซื้อเกมแผ่นมีมากกว่า ในส่วนของประเทศไทยหากในอนาคตเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างๆ มีการพัฒนามากขึ้น เชื่อว่ากลุ่มตลาดเกมที่ดาวน์โหลดก็น่าจะสูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

กังวลเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยบ้างไหม

ปัจจุบันปัญหาตรงนี้ถือว่าลดลงแล้ว partner บริษัทอย่าง Nitendo หรือ microsoft เองก็พยายามพัฒนาตัวโปรดักส์ให้มีการป้องกันปัญหาเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ลูกค้าก็มีความสนุกกับการได้เล่นเกมที่เป็นแผ่น เพราะมันใช้เวลาในการเล่นนาน และมองว่าปัจจัยที่จะเป็นตัวทำให้เกมแผ่นเป็นสินค้าที่ถูกต้องลิขสิทธิ์และสามารถเอาชนะของปลอมได้นั้น ก็คือในเรื่องของสิ่งที่ให้มาเพิ่มหรือว่าส่วนลดหรือของแถม ถ้าคนซื้อแผ่นปลอม เขาไม่มีทางได้พวกนี้ มันเลยเหมือนตัวกระตุ้นให้มองว่าจะต้องไปซื้อแผ่นแท้เท่านั้นเพื่อที่จะได้ของแถม

จุดเด่นตลาดเกมในประเทศไทยแตกต่างจากตลาดเกมตะวันตกหรือญี่ปุ่นหรือแม้กระทั่งใน South East Asia อย่างไร

ตลาดในเมืองไทยมีความตื่นตัว มีความหลงใหลในเกม ถ้าเปรียบเทียบใน South East Asia ด้วยกันแล้ว คนไทยจะตื่นเต้นมากๆ เพราะคนไทยมีความชื่นชอบตัวการ์ตูนที่เป็นอนิเมะ มังงะมากกว่าประเทศอื่นๆ และคนไทยยังมีส่วนร่วมในเกมอย่างมาก ในขณะเดียวกันสังคมออนไลน์ในประเทศไทยซึ่งเป็นสังคมที่เติบโตมาก ก็ได้ทำให้ออนไลน์เกมเป็นโปรดักส์ที่ทำตลาดและมีการพัฒนาก้าวขึ้นไปอีกสเต็ป เพราะประเทศไทยมียอดการดาวน์โหลดเกมทางออนไลน์เป็นอันดับหนึ่ง



]]>
‘เกม’ ที่ผู้ใหญ่ส่ายหน้า สู่กีฬาสากล E-Sports https://marshomme.com/scoop/1152/ Fri, 24 Aug 2018 16:07:00 +0000 เรื่อง: เปาลินโญ่
ภาพ: อินเทอร์เน็ต

สมัยก่อนตั้งแต่เรายังเด็ก ในยุคที่เทคโนโลยีต่างๆ ยังไม่เฟื่องฟูเท่าในปัจจุบัน เด็กบางคน หรือบางบ้าน ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ดีๆ ใช้ ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตโดยตรง อาศัยเดินเข้าเดินออกร้านเกมเพื่อผ่อนคลายจากการเรียนด้วยการ ‘เล่นเกม’ ซึ่งบางคนอาจถึงขั้นกลายเป็น ‘เด็กติดเกม’ จนทะเลาะกับผู้ใหญ่ในบ้านของตัวเอง

วันเวลาหมุนเวียนไป ใครเล่าจะคิดว่าเกมที่ผู้ใหญ่หลายๆ คนส่ายหน้าหนี ไม่ยอมให้เด็กภายใต้การดูแล หรือลูกๆ ของตนนั้นมุ่งมั่นหรือจริงจังอะไรมากมายกับการใช้ชีวิตอยู่กับมัน สุดท้ายจะกลายมาเป็น ‘กีฬา’ ที่ทุกคนจับต้องได้ และเป็นอีกทางในการสร้างรายได้ของบรรดาเซียนเกมทั้งหลาย


จริงๆ แล้วกีฬา Electronic Sports E-Sports กำเนิดมานานพอสมควร แต่เมื่อก่อนยังไม่เป็นที่แพร่หลาย มีจุดเริ่มต้นมาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่จัดแข่งขันเกม Spacewar กันภายในมหาวิทยาลัย ก่อนจะพัฒนามาเป็นเกม Space Invaders จัดแข่งขันภายในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีคนร่วมชิงชัยกว่า 5,000 คน นั่นแหละคือจุดเริ่มต้นของการแข่งขัน E-Sports

จากนั้นเกมคอมพิวเตอร์รวมไปถึงเกมคอนโซลมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตัวเกมก็ดึงดูดคอเกมเมอร์ทั้งหลายมากขึ้น ทั้งความสนุกตื่นเต้น ภาพที่สวยงามมากขึ้น ซึ่งจุดสำคัญในช่วงยุค 90 คือการเข้ามาของอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้เกมต่างๆ จากที่ใช้การ LAN เชื่อมต่อกัน เปลี่ยนมาเป็นใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันทำให้ง่ายต่อการแข่งขันหรือเล่นร่วมกับเพื่อนๆ อย่างเช่น Counter-Strike, Starcraft, Quake และทั้ง 3 เกมนี้คือจุดเริ่มต้นในกีฬาอีสปอร์ตอย่างแท้จริง เพราะมีการจัดการแข่งขันเป็นเกมแรกๆ ในอดีต

ถ้าจะพูดถึงต้นตำรับในการจัดการแข่งขันอีสปอร์ตกันจริงๆ คงต้องยกให้สหรัฐอเมริกาที่ริเริ่มจัดการแข่งขันเป็นชาติแรกๆ เลยก็ว่าได้ เขามีเป็นลีกอาชีพที่ใช้ชื่อว่า Major League Gaming หรือคำย่อ MLG ซึ่งชื่อก็คล้ายๆ กับลีกเบสบอล (MLB) หรือเมเจอร์ลีกซ็อคเกอร์ (MLS) และต่อมารัฐบาลเกาหลีใต้ที่ส่วนใหญ่มักจะทำอะไรตามสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว ก็นำลีกเกมเมอร์ไปจัดในประเทศของตน จะเรียกได้ว่าเป็นชาติแรกในเอเชียก็ว่าได้ ที่มีการแข่งขันกีฬาแนว E-sports อย่างเป็นทางการ และก็มีสปอนเซอร์เข้ามาสนับสนุนอย่างต่อเนื่องแบบจริงๆ จังๆ ไม่ขาดสาย

ใครจะไปคิดว่าการแข่งขันของบรรดาคนคลั่งไคล้เกมทั้งหลายจะมีมูลค่าเงินรางวัลสูงถึง 10,000,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 330,000,000 บาท ในปี 2014 ในรายการอี-สปอร์ต อินเตอร์เนชั่นแนล ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมาในปี 2015 เงินรางวัลก็พุ่งสูงขึ้นไปอีกถึง 15,000,000 เหรียญสหรัฐ ถือเป็นรายการที่มีเงินรางวัลสูงเกือบเทียบเท่าการแข่งขันกีฬาอาชีพเลยก็ว่าได้ หรืออาจจะสูงกว่ากีฬาบางชนิดเลยด้วยซ้ำ แต่นั่นคือเงินรางวัลรวมสำหรับ 1 ทีม แต่ ณ เวลานี้ผู้ที่ทำสถิติคว้าเงินรางวัลคนเดียวที่สูงที่สุดได้แก่ เฉิน จื้อเห่า เกมเมอร์ชาวจีนในการแข่งขัน Dota 2 ซึ่งเขาคว้าเงินรางวัลไป 1,249,642 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 42 ล้านบาท

นั่นคือที่มาของ E-Sports ในต่างประเทศที่เริ่มต้นมาได้สักพักแล้ว และถ้าถามถึง E-Sports ในประเทศไทยล่ะ!?

การแข่งขันอีสปอร์ตในบ้านเรามาเริ่มจริงๆ จังๆ คือในช่วงปี 2007 ที่ตอนนั้นเป็นยุคบุกเบิก เป็นช่วงที่บริษัทการีน่า (Garena) บริษัทเกมชื่อดังเข้ามาสู่วงการเกมบ้านเราอย่างจริงๆ จังๆ ผลักดันเกม Heroes of Newerth หรือ HON เข้ามาสู่เมืองไทยและฮิตอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการนำเกม League of Legends หรือ LOL เข้ามาตีตลาดอย่างต่อเนื่อง และยังมีเกม FIFA Online 3 ตามเข้ามาให้คอเกมเมอร์ได้ฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมืองอีก จนเริ่มมีการจัดการแข่งขันเกมเหล่านี้อย่างเป็นทางการ มีการคัดเลือกรับสมัครกันอย่างกว้างขวางจนหาแชมป์ระดับประเทศเพื่อหาตัวแทนประเทศไทยไปชิงชัยยังต่างแดน

หลังจากที่วงการ E-sports ของไทยได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาเรื่อยๆ จนเริ่มมีชื่อเสียง สอดคล้องกับการที่ต่างประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับกีฬาชนิดนี้กันมากขึ้น มีการจัดการแข่งขันต่างๆ นานามากมายทั่วทุกมุมโลก จนสุดท้ายมีการบรรจุเข้าไปเป็นกีฬาสาธิตในเอเชียนเกมส์ 2018 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ ได้แก่เกม ROV, LOL, PES2018, StarCraft II, Hearthstone, Clash Royale เป็นต้น

หากว่ากันถึงวงการอีสปอร์ตของไทยจะบอกว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว เพราะบรรดาเกมเมอร์ไทยที่มีฝีมือหลายคนต่างไปคว้าแชมป์ต่างแดนกันมาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงประเทศไทยได้รับหน้าเสื่อจัดการแข่งขันอีสปอร์ตในหลายๆ เกม นอกจากมีการจัดการแข่งขันอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นแล้ว ณ ปัจจุบัน ยังมีการสนับสนุนจากทางเอกชนที่เข้ามาดูแลนักกีฬาอีสปอร์ตอย่างเต็มตัวถึงขั้นสร้างทีมกันเป็นตัวเป็นตน และให้เงินเดือนสนับสนุนเลยทีเดียว

อย่างเช่นบุรีรัมย์ ภายใต้การควบคุมของเนวิน ชิดชอบ เข้าไปจับมือกับทีม Arctic Wolf ยอดทีมของเกม ROV-Dota2 ในการควบคุมดูแลและให้เงินสนับสนุนในเรื่องของการเดินสายแข่งขันในอีเวนต์ต่างๆ และเป็นการสร้างแบรนด์ Buriram Arctic Wolf อย่างเป็นทางการ เพื่ออนาคตในวงการอีสปอร์ตที่กำลังเติบโต ซึ่งทางเนวิน ชิดชอบ เคยออกมาให้ความเห็นถึงเรื่องนี้สรุปใจความได้ว่า “ธุรกิจวงการเกมนั้นเติบโตขึ้นเร็วมาก มีฐานแฟนคลับที่เหนียวแน่นมากพอๆ กับทีมฟุตบอล หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่บุรีรัมย์เข้ามาให้ความสนใจในเรื่องนี้เพื่อนำพาเด็กๆ ให้ต่อยอดความสำเร็จในอนาคต” และไม่ใช่เพียงบุรีรัมย์เท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้บางกอกกล๊าส นอกจากทีมฟุตบอลแล้วก็ยังมีการสร้างทีมอีสปอร์ตขึ้นมาอีกด้วย


นอกจากนั้นยังมีการ ‘จ้าง’ เหล่าเกมเมอร์ฝีมือดีให้ไปตระเวนแข่งขันในอีเวนต์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศไทยเอง และต่างประเทศ เป็นอีกหนึ่งแหล่งที่เอาไว้ ‘สร้างรายได้’ ให้แก่คอเกมทั้งหลาย ไม่ใช่การเล่นเกมหรือติดเกมไปวันๆ ซึ่งถ้ามีพรสวรรค์และมุ่งมั่นตรงนี้อย่างจริงๆ จังๆ คุณก็อาจจะกลายเป็นหนึ่งในสุดยอดเกมเมอร์ที่คว้าเงินรางวัลจากการแข่งขันในอีเวนต์ต่างๆ มาครอบครองก็ได้

ทุกวันนี้วงการ E-sports ในไทย เติบโตขึ้นมาก มีการ LIVE Stream แทบจะทุกอีเวนต์ที่มีการแข่งขัน อย่างเช่นใน Youtube หรือในเว็บไซต์ Twitch.tv ที่ถ่ายทอดสดการแข่งขันหลายๆ เกมอยู่ตลอด และมีผู้สนใจเข้าไปดูไม่ต่ำกว่า 10,000-20,000 คนต่อการไลฟ์สด 1 เกม


ใครจะไปเชื่อว่าวงการเกมเมอร์จะพัฒนามาได้ไกลขนาดนี้ จากที่เมื่อก่อนตอนที่เรายังเด็ก เราแค่เล่นเกมเพื่อสนองอารมณ์สุนทรีตามวัยของเราเท่านั้น ใครจะไปคิดเล่าว่าสมัยนี้เหล่าเกมเมอร์ทั้งหลายจะใช้จุดนี้ในการสร้างเงินสร้างรายได้ หันมาจริงจังกับการเล่นเกมมากขึ้น ซึ่งหลายคนก็บริหารจัดการเวลาได้ดี เล่นเกมไปด้วยโดยที่ไม่เสียการเรียน และยังสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง แบ่งเบาภาระคนในครอบครัวได้ตั้งแต่อายุยังน้อย

แต่ที่สำคัญคำว่า ‘เด็กติดเกม’ กับ ‘เกมเมอร์อาชีพ’ มีเส้นบางๆ กั้นอยู่ ผู้ปกครองทั้งหลายก็ควรดูแลเอาใจใส่ลูกหลานให้เหมือนเดิม เพราะไม่ใช่ใครทุกคนจะประสบความสำเร็จบนเส้นทางนี้…


]]>